เมนู

พึงพูดเบียดเบียนเรา. คำว่า โย ตตฺถ เคหสิโต ได้แก่ เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า
บุคคลเหล่าอื่นอย่าดูถูกเรา ดังนี้ ย่อมเป็นผู้อาศัยเรือน กล่าวคือ กามคุณ 5
ชื่อว่า มีวิตกอย่างนั้นเกิดขึ้นแล้ว. คำที่เหลือในบททั้งปวง ปรากฏชัดแจ้ง
แล้วแล.
เอกกนิทเทส จบ

อรรถกถาทุกนิทเทส


อธิบาย มาติกาหมวดสอง


ในทุกมาติกาทั้งหลาย บัณฑิตพึงทราบนิทเทสแห่งความโกรธเป็น
ต้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในนิทเทสแห่งความผูก
โกรธ
เป็นต้น อันเป็นอนาคต คือ บุคคลใดย่อมผูกโกรธไว้ในกาลก่อน ภาย-
หลังความโกรธเกิดขึ้นอีก ดังนี้ ก็ชื่อว่า อุปนาหะ ความผูกโกรธ. อาการ
แห่งความผูกโกรธ ชื่อว่า กิริยาที่ผูกโกรธ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ผูกโกรธ
ชื่อว่า สภาพที่ผูกโกรธ. คำว่า อฏฺฐปนา (ความตั้งไว้) ได้แก่ การ
ตั้งความโกรธไว้ติดต่อกันของความโกรธอันเกิดขึ้นครั้งแรก. อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ โดยการกำหนดเขตแดนของความโกรธอันเกิดขึ้นครั้งแรก. การตั้งความ
โกรธไว้ตามปกติ เรียกว่า การทรงไว้ซึ่งความโกรธ. การตั้งความโกรธ
บ่อย ๆ โดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า ความดำรงความโกรธไว้. การไม่แสดง
ความแตกต่างกันแห่งความโกรธหลังกับความโกรธอันเกิดขึ้นก่อนแล้วทำไว้โดย
ความเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า ความสั่งสมความโกรธไว้. ความสืบต่อ
ความโกรธครั้งหลังกับด้วยความโกรธครั้งแรก ชื่อว่า ความผูกพันความ