เมนู

มิจฉามานนิทเทส


อธิบาย ความถือตัวผิด


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปาปเกน วา กมฺมายตเนน เป็นต้น การ
งานของพรานเบ็ด ชาวประมง และผู้ฆ่าสัตว์เป็นต้น ชื่อว่า หน้าที่การงาน
อันลามก.
ความฉลาดเฉียบแหลมในการทำแหและชุดดักปลา และทำ
หลาวแทงปลาเป็นต้น ชื่อว่า ศิลปะอันลามก. วิชชา ในการทำร้ายสัตว์
อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิทยฐานะอันลามก. การประกอบพร้อมเฉพาะ
ด้วยเรื่องเล่า มีเรื่องภารตยุทธและเรื่องชิงนางสีดาเป็นต้น ชื่อว่า การศึกษา
อันลามก.
ความเฉียบแหลมในกาพย์กลอน การฟ้อนรำ การรำพันเป็นต้น
อันประกอบด้วยทุพภาษิต ชื่อว่า ปฏิภาณอันลามก. อัชชศีล (มีความ
ประพฤติอย่างแพะ) โคศีล (การประพฤติอย่างโค) ชื่อว่า ศีลอันลามก.
ทิฏฐิ 62 อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทิฏฐิอันลามก.
ในนิทเทสแห่งความวิตกถึงญาติ (ความคิดถึงญาติ) เป็นต้น
ชื่อว่า คิดถึงญาติ คือ มีวิตกอันเกิดขึ้นปรารภญาติทั้งหลาย ด้วยความ
รักใคร่อันเกี่ยวข้องกันในบ้าน อาศัยกามคุณ 5 อย่างนี้ว่า ญาติทั้งหลายของ
เราเป็นอยู่สบาย มีทรัพย์สมบัติ ดังนี้. แต่ว่าบุคคลนั้น มีความตรึกเป็นไป
อย่างนี้ว่า ญาติทั้งหลายของเรามีศรัทธา มีความเลื่อมใส ถึงความสิ้นไป
ถึงความเสื่อมไปแล้ว ดังนี้ ไม่ชื่อว่า ตรึกถึงญาติ.
ความตรึกอันเกิดขึ้นแก่ผู้ยินดีอยู่ว่า ชนบทของเราทั้งหลาย มีภิกษา
หาได้โดยง่าย มีข้าวกล้าสมบูรณ์ ดังนี้ ด้วยสามารถแห่งความรักอันอาศัยเรือน
(เคหสิตเปมํ) ชื่อว่า ความตรึกถึงชนบท. แต่ว่า บุคคลมีความตรึกเป็น

ไปอย่างนี้ว่า มนุษย์ทั้งหลายในชนบทของพวกเรา มีศรัทธา มีความเลื่อมใส
ถึงความสิ้นไป ถึงความเสื่อมไปแล้ว ดังนี้ ย่อมไม่ชื่อว่า ความตรึกถึง
ชนบท.

ความตรึกเพื่อความต้องการไม่ให้ตาย หรือว่าความตรึกอันไม่ตาย
ชื่อว่า อมรวิตก ความตรึกอันไม่ตายตัว. ในข้อนั้น ความตรึกอันเกี่ยวด้วย
ความพอใจในการทำสิ่งทีทำได้โดยยากของผู้ทำทุกรกิริยาโดยตรึกว่า เมื่อความ
ทุกข์เกิดขึ้นด้วยความเพียรมีการนั่งกระโหย่งเป็นต้น ซึ่งทำจนหมดแรงแล้ว
อัตตา ย่อมเกิดเป็นสุข ย่อมไม่ตายในภพเบื้องหน้า ดังนี้ ชื่อว่า ความตรึก
เพื่อความต้องการไม่ตายตัว.
ก็บุคคลผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น ถูกผู้อื่นถามปัญหา
ว่า ท่านย่อมกล่าวว่า อัตตาและโลกเที่ยงเป็นต้น ท่านก็จะกล่าววาจาดิ้นได้
ไม่ตายตัวว่า สิ่งนี้ย่อมปรากฏแก่เราว่า.
เอวนฺติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างนี้ ก็ไม่ใช่
ตถาติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างนั้น ก็ไม่ใช่
อญฺญถาติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างอื่น ก็ไม่ใช่
โนติปิ เม โน แปลว่า แม้สิ่งที่ไม่ใช่ ก็ไม่ใช่
โน โนติปิ เม โน แปลว่า แม้สิ่งที่ไม่ใช่ไม่ใช่ ก็ไม่ใช่ ดังนี้
ย่อมถึงความสับสน. ความตรึกอันประกอบด้วยทิฏฐิคตะของบุคคลนั้น เปรียบ
เหมือนปลาไหลโจนลงน้ำไปแล้ว ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อให้ตาย บุคคลผู้จับปลา.
ไหลนั้น ย่อมวิ่งไป ข้างนี้ ๆ ก็ไม่สามารถเคลื่อนไปจับมันได้ฉันใด ข้อนี้
ก็ฉันนั้นนั่นแหละ. ชื่อว่า ความตรึกไม่ตายตัว เพราะอรรถว่าไม่คงที่และ
เพราะไม่ตั้งมั่นอยู่ในฝ่ายหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสความตรึกอันไม่ตาย
ตัวนี้ โดยรวมเอาความตรึกแม้ทั้งสองชนิดนั้น.

คำว่า ปรานุทฺทยตาปฏิสํยุตฺโต (แปลว่า ความคิดเกี่ยวด้วยความ
เอ็นดูผู้อื่น) ได้แก่ ความตรึกประกอบด้วยความรักอาศัยเรือนอันเหมาะสมกับ
ความเอ็นดู. คำว่า สหนนฺทิ เป็นต้น (แปลว่า มีความรื่นเริงร่วมกัน)
ได้แก่ ครั้นเมื่ออุปัฏฐากทั้งหลาย มีความยินดีร่าเริง หรือมีความเศร้าโศก
เธอก็ย่อมร่าเริงเป็นทวีคูณ หรือย่อมเศร้าโศกทวีคูณร่วมกับด้วยอุปัฏฐากเหล่า
นั้น เมื่ออุปัฏฐากเหล่านั้น มีความสุข หรือทุกข์ เธอก็จะเป็นผู้มีความสุข
ทวีคูณ หรือมีทุกข์ทวีคูณ ร่วมกับอุปัฏฐากเหล่านั้น. คำว่า อุปฺปนฺเนสุ
กิจฺจกรณีเยสุ
(แปลว่า เมื่อมีกิจที่พึงทำเกิดขึ้น) ได้แก่ เมื่อบุคคลอื่น
เหล่านั้นมีการงานใหญ่น้อยเกิดขึ้นแล้ว. คำว่า อตฺตนา วา โยคํ อาปชฺชติ
(แปลว่า พยายามทำด้วยตนเอง) ได้แก่ เมื่อภิกษุยังกิจเหล่านั้น ๆ ให้สำเร็จ
อยู่ ย่อมก้าวล่วงพระบัญญัติ (วินัย) ย่อมละเมิดธรรมอันเป็นเครื่องขัดเกลา
กิเลส. คำว่า โย ตตฺถ (แปลว่า ในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์เหล่านั้น) ได้แก่
ความตรึกใด อันเป็นเคหสิตมีอยู่ในวิหารอันคลุกคลีกันนั้น หรือว่า ในการ
ละเลยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส. ความตรึกนี้ ชื่อว่า ความคิดเกี่ยวด้วย
ความเอ็นดูผู้อื่น.
คำว่า ลาภสกฺการสิโลกปฏิสํยุตฺโต (แปลว่า ความคิดเกี่ยวด้วย
ลาภสักการะและชื่อเสียง) ได้แก่ ความตรึกอันประกอบด้วยความสามารถแห่ง
การกระทำให้เป็นอารมณ์ กับการได้ปัจจัย มีการได้จีวรเป็นต้น กับด้วย
สักการะ กับด้วยกิตติศัพท์ (ชื่อเสียง).
คำว่า อนวญฺญตฺติปฏิสํยุตฺโต (แปลว่า ความคิดด้วยความไม่อยาก
ให้ใครดูหมิ่น) ได้แก่ ความตรึกอันเกิดขึ้นพร้อมกับความปรารถนาไม่ให้ใคร
ดูหมิ่นอย่างนี้ว่า โอหนอ บุคคลอื่นๆ ไม่พึงดูหมิ่นเรา ไม่กล่าวร้ายเรา ไม่

พึงพูดเบียดเบียนเรา. คำว่า โย ตตฺถ เคหสิโต ได้แก่ เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า
บุคคลเหล่าอื่นอย่าดูถูกเรา ดังนี้ ย่อมเป็นผู้อาศัยเรือน กล่าวคือ กามคุณ 5
ชื่อว่า มีวิตกอย่างนั้นเกิดขึ้นแล้ว. คำที่เหลือในบททั้งปวง ปรากฏชัดแจ้ง
แล้วแล.
เอกกนิทเทส จบ

อรรถกถาทุกนิทเทส


อธิบาย มาติกาหมวดสอง


ในทุกมาติกาทั้งหลาย บัณฑิตพึงทราบนิทเทสแห่งความโกรธเป็น
ต้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในนิทเทสแห่งความผูก
โกรธ
เป็นต้น อันเป็นอนาคต คือ บุคคลใดย่อมผูกโกรธไว้ในกาลก่อน ภาย-
หลังความโกรธเกิดขึ้นอีก ดังนี้ ก็ชื่อว่า อุปนาหะ ความผูกโกรธ. อาการ
แห่งความผูกโกรธ ชื่อว่า กิริยาที่ผูกโกรธ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ผูกโกรธ
ชื่อว่า สภาพที่ผูกโกรธ. คำว่า อฏฺฐปนา (ความตั้งไว้) ได้แก่ การ
ตั้งความโกรธไว้ติดต่อกันของความโกรธอันเกิดขึ้นครั้งแรก. อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ โดยการกำหนดเขตแดนของความโกรธอันเกิดขึ้นครั้งแรก. การตั้งความ
โกรธไว้ตามปกติ เรียกว่า การทรงไว้ซึ่งความโกรธ. การตั้งความโกรธ
บ่อย ๆ โดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า ความดำรงความโกรธไว้. การไม่แสดง
ความแตกต่างกันแห่งความโกรธหลังกับความโกรธอันเกิดขึ้นก่อนแล้วทำไว้โดย
ความเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า ความสั่งสมความโกรธไว้. ความสืบต่อ
ความโกรธครั้งหลังกับด้วยความโกรธครั้งแรก ชื่อว่า ความผูกพันความ