เมนู

เหยียดออกแล้ว เอางวงใส่ในปาก ส่งเสียงร้องโกญจนาท (เสียงกึกก้อง) มุ่ง
หน้าเฉพาะต่อท่านมาอยู่ โดยอาการที่ท่านสร้างมันขึ้นมา อย่างนั้น ดังนี้.
พระเถระผู้อาจารย์ ครั้นนิรมิตอย่างนั้นแล้ว เห็นแล้วซึ่งอาการกิริยาเสียงร้อง
ของช้างมาโดยเร็ว ท่านก็ลุกขึ้นเริ่มเพื่อจะหนีไป. พระธัมมทินนะผู้เป็นพระ-
ขีณาสพ จึงเหยียดมือออกไปจับชายจีวรของพระอาจารย์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ความกลัวย่อมมีแก่พระขีณาสพด้วยหรือ ดังนี้. พระอาจารย์จึง
ทราบความที่ตนยังเป็นปุถุชนอยู่ในกาลนั้น จึงกล่าวว่า ดูก่อนธัมมทินนะผู้มี
อายุ ท่านจงเป็นที่พึ่งแก่กระผม ดังนี้ แล้วนั่งกระโหย่งใกล้เท้าของพระธัมม-
ทินนะ. พระธัมมทินนะเถระกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมาด้วยประสงค์
ว่าจักเป็นที่พึ่งแก่ท่าน ขอท่านอย่าได้วิตก ดังนี้ แล้วบอกกรรมฐาน. พระ-
เถระผู้อาจารย์ เรียนกรรมฐานแล้วก็ก้าวขึ้นสู่ที่เป็นที่จงกรม ในก้าวที่สามก็
บรรลุพระอรหัตผลอันเลิศ ได้ยินว่า พระเถระนี้เดิมท่านเป็นผู้มีโทสจริต.

อัสมิมานนิทเทส


อธิบาย ความสำคัญว่า มีอัตตา


คำว่า รูเป อสฺมีติ มาโน (แปลว่า ความสำคัญในรูป ว่าเป็น
ตัวเรา) ได้แก่ มีความสำคัญเกิดขึ้นว่า รูปเป็นเรา ดังนี้. คำว่า ฉนฺโท
(แปลว่า ความพอใจ) ได้แก่ เป็นผู้มีฉันทะไปตามมานะ ... (มานะ คือความ
สำคัญว่ามีอัตตา) นั่นแหละ. ความเข้าใจพอใจอันนอนเนื่องอยู่ในรูปว่าเป็น
ตัวเราก็เหมือนกัน แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

มิจฉามานนิทเทส


อธิบาย ความถือตัวผิด


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปาปเกน วา กมฺมายตเนน เป็นต้น การ
งานของพรานเบ็ด ชาวประมง และผู้ฆ่าสัตว์เป็นต้น ชื่อว่า หน้าที่การงาน
อันลามก.
ความฉลาดเฉียบแหลมในการทำแหและชุดดักปลา และทำ
หลาวแทงปลาเป็นต้น ชื่อว่า ศิลปะอันลามก. วิชชา ในการทำร้ายสัตว์
อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิทยฐานะอันลามก. การประกอบพร้อมเฉพาะ
ด้วยเรื่องเล่า มีเรื่องภารตยุทธและเรื่องชิงนางสีดาเป็นต้น ชื่อว่า การศึกษา
อันลามก.
ความเฉียบแหลมในกาพย์กลอน การฟ้อนรำ การรำพันเป็นต้น
อันประกอบด้วยทุพภาษิต ชื่อว่า ปฏิภาณอันลามก. อัชชศีล (มีความ
ประพฤติอย่างแพะ) โคศีล (การประพฤติอย่างโค) ชื่อว่า ศีลอันลามก.
ทิฏฐิ 62 อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทิฏฐิอันลามก.
ในนิทเทสแห่งความวิตกถึงญาติ (ความคิดถึงญาติ) เป็นต้น
ชื่อว่า คิดถึงญาติ คือ มีวิตกอันเกิดขึ้นปรารภญาติทั้งหลาย ด้วยความ
รักใคร่อันเกี่ยวข้องกันในบ้าน อาศัยกามคุณ 5 อย่างนี้ว่า ญาติทั้งหลายของ
เราเป็นอยู่สบาย มีทรัพย์สมบัติ ดังนี้. แต่ว่าบุคคลนั้น มีความตรึกเป็นไป
อย่างนี้ว่า ญาติทั้งหลายของเรามีศรัทธา มีความเลื่อมใส ถึงความสิ้นไป
ถึงความเสื่อมไปแล้ว ดังนี้ ไม่ชื่อว่า ตรึกถึงญาติ.
ความตรึกอันเกิดขึ้นแก่ผู้ยินดีอยู่ว่า ชนบทของเราทั้งหลาย มีภิกษา
หาได้โดยง่าย มีข้าวกล้าสมบูรณ์ ดังนี้ ด้วยสามารถแห่งความรักอันอาศัยเรือน
(เคหสิตเปมํ) ชื่อว่า ความตรึกถึงชนบท. แต่ว่า บุคคลมีความตรึกเป็น