เมนู

อธิมานนิทเทส


อธิบาย ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ


คำว่า อปฺปตฺเต ปตฺตสญฺญิตา (แปลว่า ความสำคัญว่าถึงแล้วใน
ธรรมที่ตนยังไม่ถึง) ได้แก่ มีความสำคัญว่าถึงสัจจะ 4 อันตนยังไม่บรรลุว่า
บรรลุแล้ว. คำว่า อกเต (แปลว่า ในกิจที่ยังไม่ได้ทำ) ได้แก่ มีความสำคัญ
ในกิจที่ตนพึงกระทำ อันมรรค 4 ยังมิได้กระทำ. ว่า อนธิคเต (แปลว่า...
ในธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ) ได้แก่ยังไม่บรรลุสัจธรรมทั้ง 4. คำว่า อสจฺฉิกเต
(แปลว่า ในธรรมที่ตนยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง) ได้แก่ ธรรมอันอรหัตมรรค
ยังมิได้กระทำให้แจ้ง. คำว่า อยํ วุจฺจติ อธิมาโน ได้แก่ บุคคลนี้พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ผู้มีความสำคัญว่าตนได้บรรลุธรรมวิเศษ.
ถามว่า ก็ความสำคัญตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษนี้ ย่อมเกิดแก่ใคร
ย่อมไม่เกิดแก่ใคร.
ตอบว่า ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวก ก่อน. จริงอยู่ พระอริย-
สาวกนั้น มีโสมนัส (ความพอใจ) อันเกิดขึ้นดีแล้วในขณะแห่งการพิจารณา
มรรค ผล นิพพาน กิเลส ที่ท่านละแล้วและยังมิได้ละทีเดียว ไม่มีการสงสัย
ในการแทงตลอด (ในปฏิเวธ) ซึ่งเป็นอริยคุณ เพราะฉะนั้น ความสำคัญ
ตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ ย่อมไม่เกิดแก่พระโสดาบันเป็นต้น ด้วยอำนาจ
แห่งความสำคัญว่า เราเป็นพระสกทาคามี เป็นต้น.
ความสำคัญตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้แก่
บุคคลผู้ทุศีล. จริงอยู่ บุคคลผู้ทุศีลนั้นไม่มีความปรารถนาในการ
บรรลุอริยคุณเลย. ความสำคัญตน ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้แก่บุคคลผู้มี

ศีล ผู้มีกรรมฐานอันสละแล้ว ผู้ประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้
ยินดี ในการนอน เป็นต้น.

ก็แต่ว่า ความสำคัญตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษนั้น ย่อมเกิดแก่ผู้มีศีล
บริสุทธิ์ ผู้ไม่ประมาทในกรรมฐาน ผู้กำหนดนามรูป ข้ามความสงสัยได้ด้วย
การกำหนดปัจจัย ผู้ยกนามรูปขึ้นสู่ไตรลักษณ์แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลาย ผู้
มีความเห็นแจ้ง มีความเพียร. อนึ่ง เมื่อมีความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ
เกิดขึ้นแล้ว บุคคลผู้ได้สมถะอย่างเดียว (สุทธสมถลาภี) หรือผู้ได้วิปัสสนา
อย่างเดียว (วิปัสสนาลาภี) ย่อมพักกรรมฐานไว้ในระหว่าง เพราะว่า เมื่อ
บุคคลนั้นไม่เห็นความปรากฏเกิดขึ้นแห่งกิเลสในสิ้นเวลา 10 ปีบ้าง 20 ปีบ้าง
30 ปีบ้าง จึงเกิดความสำคัญตนว่า เราเป็นพระโสดาบัน หรือเป็นพระสกทา-
คามี หรือพระอนาคามี ดังนี้. ส่วนพระโยคีผู้ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา เมื่อ
มีความสำคัญว่าได้บรรลุพระอรหัตเท่านั้น จึงพักกรรมฐานเสีย เพราะว่า
กิเลสทั้งหลายอันบุคคลนั้นข่มไว้แล้วด้วยกำลังแห่งสมาธิ สังขารทั้งหลาย อัน
เธอกำหนดดีแล้วด้วยกำลังแห่งวิปัสสนา ฉะนั้น กิเลสทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น
สิ้น 60 ปีบ้าง 80 ปีบ้าง 100 ปีบ้าง. ความไม่สงสัย (คือไม่มีความสำคัญตน)
ย่อมมีแก่พระขีณาสพเท่านั้น. พระโยคีผู้ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนานั้น เมื่อไม่
เห็นความเกิดขึ้นแห่งกิเลสสิ้นกาลนานอย่างนี้ จึงพักกรรมฐานไว้ในระหว่าง
เทียว ย่อมสำคัญว่า เราบรรลุพระอรหันต์ ดังนี้ เหมือนพระมหานาคเถระ
ผู้อยู่ในอุจจตลังกะ เหมือนพระมหาทัตตเถระ ผู้อยู่ใน หังกนกะ
และ
เหมือนพระจูฬสุมเถระ ผู้อยู่ในเรือนเป็นที่กระทำความเพียร ชื่อว่า นิงก-
โปณณะ
ใกล้ภูเขาชื่อจิตตลบรรพต. ในข้อนั้น พึงทราบการชี้แจงสักเรื่อง
หนึ่ง ดังนี้.

เรื่องพระมหานาคเถระ


ได้ยินว่า พระธัมมทินนเถระ ผู้อาศัยอยู่ในตลังกะ รูปหนึ่ง เป็น
พระขีณาสพผู้มีปัญญาแตกฉานในปฏิสัมภิทา ได้เป็นผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ ในวันหนึ่ง ท่านนั่งพักในที่พักในเวลากลางวันของตน นึกถึงอาจารย์
ของท่านว่า กิจแห่งสมณะของพระมหานาคเถระผู้อาศัยอยู่ในอุจจตลังกะ
อาจารย์ของเราถึงที่สุดแล้ว หรือไม่หนอ ดังนี้ เห็นแล้วซึ่งความที่อาจารย์
ของคนนั้นยังเป็นปุถุชน และทราบว่า เมื่อเราไม่ไปอยู่อาจารย์ของเราจักกระ-
ทำกาลกิริยา ด้วยความเป็นปุถุชนนั่นแหละ ดังนี้ จึงเหาะขึ้นไปสู่เวหาส ด้วย
ฤทธิ์ หยั่งลงแล้วในที่ใกล้พระมหานาคเถระซึ่งนั่งพักอยู่ในที่เป็นที่นั่งพักใน
เวลากลางวัน ไหว้แล้ว แสดงวัตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ก็เมื่อ
อาจารย์ถามว่า ดูก่อนธัมมทินนะผู้มีอายุ เพราะเหตุไร เธอจึงมาในเวลาอัน
ไม่สมควร ดังนี้ ท่านจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมาเพื่อจะถาม
ปัญหาขอรับ ดังนี้. ลำดับนั้น เมื่ออาจารย์กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เธอจง
ถาม เมื่อผมทราบก็จักตอบ ดังนี้ จึงถามปัญหาพันข้อ. พระเถระผู้อาจารย์
ไม่คิดอยู่ซึ่งปัญหานั้นอันพระธัมมทินนะถามแล้ว ๆ ก็กล่าวแก้แล้ว ๆ. ทีนั้น
ครั้นเมื่อคำอันพระธัมมทินนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ญาณของท่านคมยิ่งนัก
ธรรมนี้ ท่านบรรลุในกาลไร ดังนี้ ท่านก็กล่าวว่า ผู้มีอายุ ในกาลแห่งพรรษา
60 แต่กาลนี้ ดังนี้. พระธัมมทินนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านยังใช้
สมาธิอยู่หรือ ดังนี้ พระเถระอาจารย์ตอบว่า ผู้มีอายุ ข้อนี้ ไม่หนักใจเลย ดังนี้.
พระธัมมทินนะ จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอท่าน
จงนิรมิตช้างเชือกหนึ่ง ดังนี้. ท่านก็เนรมิตช้างเผือกแล้ว. พระธัมมทินนะ
กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ช้างนี้ มีหูกาง (ผึ่ง) ออกแล้ว มีหาง