เมนู

ผู้มีรูปงาม) ได้แก่ โดยความเป็นผู้มีสรีระอันถึงพร้อมด้วยวรรณะ จริงอยู่
สรีระ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า โปกขระ. อธิบายว่า เพราะ
ความที่บุคคลนั้นเป็นผู้มีรูปงามด้วยวรรณสมบัติ. คำว่า ธเนน เป็นต้น (คือ
โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทย-
ฐานะ เป็นต้น) มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. ในคำว่า มานํ ชปฺเปติ (ย่อมถือ
ตัว คือ ย่อมยังมานะให้เกิด) เหล่านั้น อธิบายว่า ในบรรดาวัตถุเหล่านั้น ย่อมให้
มานะเป็นไปว่าเราเลิศกว่าเขา คือย่อมกระทำด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้.

สทิสมานนิทเทส


อธิบาย ความสำคัญตนว่าเสมอเขา


ในคำว่า มานํ ชปฺเปติ นี้นั่นแหละ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมให้
มานะ (ความสำคัญตน) ว่า เราเป็นผู้เช่นเดียวกับเขา ด้วยวัตถุ (เหตุ) อย่างใด
อย่างหนึ่ง. ก็ในนิทเทสแห่งความสำคัญตนว่าเสมอเขานี้ มีเนื้อความแปลกกัน
โดยอรรถ แต่ในพระบาลีไม่มีการกระทำที่แตกต่างกัน.

หีนมานนิทเทส


อธิบาย ความสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา


คำว่า โอมานํ ชปฺเปติ ได้แก่ ยังมานะให้เป็นไปในฝ่ายต่ำ. มานะ
อันลามก อันต่ำช้า ชื่อว่า โอมานะ. คำว่า โอมญฺญิตตฺตํ ได้แก่ การ
แสดงความเป็นไปแห่งอาการ. คำว่า หีฬนา ได้แก่ การดูหมิ่นตนเอง
(การรังเกียจตนเอง) โดยฐานะทั้งหลาย มีโดยชาติเป็นต้น. คำว่า โอหีฬนา
ได้แก่ การดูถูกอย่างยิ่งเกินเปรียบ. คำว่า โอหีฬตตฺตํได้แก่ เป็นการ

แสดงออกแห่งความเป็นไปของบุคคลนั้นนั่นแหละ. คำว่า อตฺตุญฺญา ได้
แก่ ความเข้าใจตนเองว่า ต่ำช้า (ดูถูกตนเอง). คำว่า อตฺตาวญฺญา ได้แก่
การเหยียดหยามตน. คำว่า อตฺตปริภโว ได้แก่ ความเย้ยหยันตน (การดู
แคลน) โดยสำคัญว่า พวกเราต่ำกว่าเขาโดยสมบัติ มีชาติเป็นต้น. มานะ 3
เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งวัตถุ มีชาติเป็นต้น
มิได้อาศัยบุคคล ดังพรรณนามาฉะนี้.
ในมานะ 3 เหล่านั้น มานะหนึ่ง ๆ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้
มีความสำคัญตนว่าดีกว่าเขา เสมอเขา ต่ำกว่าเขา แม้ทั้ง 3. ใน
มานะเหล่านั้น มานะว่า เราเป็นผู้เลิศกว่าเขา เป็นมานะแท้จริง
ของบุคคลผู้เลิศกว่าเขา ส่วนมานะที่เหลือไม่ใช่. มานะว่า เราเสมอ
เขา เป็นมานะแท้จริงของบุคคลผู้เสมอกับผู้อื่นนั่นแหละ ที่เหลือ
ไม่ใช่. มานะว่า เราเป็นผู้เลวกว่าเขา เป็นมานะของบุคคลผู้เลว
นั่นแหละ ที่เหลือไม่ใช่.

บรรดามานะเหล่านั้น ก็คำว่า กตโม เสยฺยสฺส เสยฺโยหมสฺมิ
(แปลว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน ?) เป็นต้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมานะ 9 อย่าง โดยอาศัยบุคคล. ในมานะเหล่านั้น มานะ
อย่างละ 3 ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้หนึ่ง. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ทหติ (แปลว่า
ย่อมถือตัว) ได้แก่ ย่อมตั้งไว้. คำว่า ตํ นิสฺสาย ได้แก่ อาศัยการถือตัว
โดยความเป็นผู้เลิศกว่าเขานั้น.
ก็มานะในข้อว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ดังนี้
มานะนี้ย่อมเกิดแก่พระราชาทั้งหลาย และบรรพชิตทั้งหลาย. จริงอยู่ พระ-
ราชา ย่อมทำมานะนี้ว่า ใคร ๆ เสมอเรา ด้วยแว่นแคว้น หรือด้วยทรัพย์

หรือด้วยพาหนะ มีอยู่หรือ ดังนี้. แม้บรรพชิต ก็ย่อมทำมานะนี้ว่า ใคร ๆ
เช่นกับเรา ด้วยศีล และธุดงค์เป็นต้นมีหรือ ดังนี้.
แม้มานะว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ดังนี้ ก็ย่อม
เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นนั่นแหละ. จริงอยู่ พระราชา ย่อมทำมานะนี้ว่า อะไร ๆ
เป็นการกระทำที่ต่างกันของเรา กับด้วยพระราชาเหล่าอื่น โดยแว่นแคว้น
หรือโดยทรัพย์ หรือโดยพาหนะมีหรือ ดังนี้. แม้บรรพชิตก็ย่อมทำมานะนี้ว่า
อะไร ๆ เป็นการกระทำที่ต่างกันของเรากับด้วยภิกษุอื่น ด้วยคุณทั้งหลายมีศีล
และธุดงค์เป็นต้น หรือ ดังนี้.
แม้มานะในข้อว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าต่ำกว่าเขา ก็ย่อม
เกิดแก่บุคคลเหล่านั้นนั่นแหละ. จริงอยู่ แว่นแคว้น หรือทรัพย์ หรือพาหนะ
เป็นต้น ย่อมไม่สมบูรณ์แก่พระราชาใด พระราชานั้น ย่อมทำเหตุสักว่าอาศัย
ความสุขอันเป็นโวหารว่าผู้นั้นเป็นราชาของเรา ดังนี้ ให้เป็นมานะว่า เรา
ชื่อว่า เป็นราชาได้อย่างไร ดังนี้. แม้บรรพชิต ผู้มีลาภสักการะน้อย ย่อม
ทำมานะอันสักว่าถ้อยคำว่า เป็นพระธรรมกถึก เป็นพหูสูต เป็นมหาเถระ
นั่นแหละ ให้เป็นมานะนี้ว่า เราชื่อว่าเป็นพระธรรมกถึก หรือเป็นพหูสูต
หรือเป็นมหาเถระอย่างไร เพราะลาภสักการะไม่มีแก่เรา ดังนี้.
มานะว่า ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นต้น ย่อม
เกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลาย มีอำมาตย์เป็นต้น . จริงอยู่ อำมาตย์ย่อมทำมานะ
ทั้งหลายเหล่านั้นว่า ราชบุรุษอื่น (อำมาตย์) เช่นกับเรา ด้วยแว่นแคว้น หรือ
โดยโภคะ ยานพาหนะเป็นต้น มีอยู่หรือ ดังนี้. หรือทำมานะว่า การกระทำ
อันแตกต่างกันของเรากับอำมาตย์เหล่าอื่น มีอยู่หรือ ดังนี้ หรือทำมานะว่า
สักว่า ชื่อว่า อำมาตย์นั่นแหละแม้สักว่ารสนิยมในการเคี้ยวกินอาหาร ย่อม
ไม่มีแก่เรา หรือว่า เราชื่อว่า เป็นอำมาตย์ได้อย่างไร ดังนี้.

มานะในคำว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นต้น
ย่อมเกิดแก่ทาสทั้งหลาย. จริงอยู่ ทาสย่อมทำมานะทั้งหลายเหล่านี้ว่า เราเป็น
ทาสเพราะมารดาบิดา ชื่อว่าทาสอื่นเสมอเรา มีหรือ คนอื่นไม่สามารถเพื่อ
เป็นอยู่เพราะอาศัยท้องเป็นเหตุ จึงเป็นทาส ส่วนเราชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่า
เพราะมาตามประเพณี หรือว่าทำมานะว่า การทำที่แตกต่างกันของเรากับทาส
ผู้โน้น ผู้เป็นทาสมาตามประเพณี ผู้เป็นทาสบริสุทธิ์โดยส่วนสอง ดังนี้
หรือว่า ทำมานะว่า เราเข้าถึงความเป็นทาส ด้วยสามารถแห่งปากท้อง แต่
ตำแหน่งทาสของเราไม่มีตั้งแต่มารดาบิดา เราชื่อว่าเป็นทาสได้อย่างไร ดังนี้.
ก็ทาส ย่อมทำมานะ ฉันใด แม้คนเทขยะ และคนจัณฑาลเป็นต้น ก็ย่อม
ทำมานะทั้งหลายเหล่านี้ ฉันนั้นนั่นแหละ.
อนึ่ง มานะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ในข้อว่า ผู้เลิศกว่าเขา
สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
เป็นของบุคคลผู้เลิศกว่าเขาเท่านั้น มานะ 2 นอก
นี้ ไม่ใช่. มานะว่า ผู้เสมอเขา มีความสำคัญตนว่าเสมอเขา ดังนี้ ก็เหมือน
กัน มานะ 2 นอกนี้ไม่ใช่. มานะว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา
ก็เกิดแก่บุคคลผู้เลวนั้นนั่นแหละ มานะ 2 นอกนี้ไม่ใช่.
ในมานะเหล่านั้น มานะอันเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นธรรม
อันพระอรหัตมรรคพึงฆ่า มานะอันไม่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นธรรม
อันโสดาปัตติมรรคพึงฆ่า.

พระศาสดา ครั้นตรัสมานะทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยวัตถุอย่างนี้
แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงมานะซึ่งเกิดขึ้นอันไม่มีวัตถุ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ตตฺถ
กตโม มาโน
(แปลว่า บรรดาคำเหล่านั้น มานะ (ความถือตัว) เป็นไฉน ?)
เป็นต้น.

ในนิทเทสแห่งอติมานะ (ความดูหมิ่น) พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่
ทรงถือเอาบุคคลด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้เลิศเป็นต้น แต่ทรงชี้แจงด้วย
สามารถแห่งวัตถุมีชาติเป็นต้นนั่นแหละ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อติมญฺญติ
(แปลว่า ย่อมดูหมิ่น) ได้แก่ ย่อมสำคัญตนเลยไปว่า ผู้อื่นเช่นกับเราโดยชาติ
เป็นต้น ย่อมไม่มี ดังนี้.

มานาติมานนิทเทส


อธิบาย ความถือตัว ความเย่อหยิ่ง


พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า โย เอวรูโป อย่างนี้ เพื่อแสดงว่า
มานะอันเกิดขึ้นในเบื้องต้นว่า บุคคลใดเป็นผู้เช่นกับเรา แต่มาบัดนี้ เราเป็น
ผู้ประเสริฐกว่า ผู้นี้ต่ำกว่า ดังนี้ ชื่อว่า ความถือตัวและความเย่อหยิ่ง โดย
อาศัยมานะว่าผู้อื่นเช่นกับตนในกาลก่อนนั้น บุคคลนี้ ย่อมเป็นราวกะบุคคล
มีภาระหนักยิ่งกว่าภาระหนัก ดังนี้.
นิทเทสแห่งโอมานะ (มานะอันลามก) เช่นกับนิทเทสแห่งมานะ
อันเลว (หีนมานะ) นั่นแหละ. แต่เมื่อว่าโดยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ (สัตว์ผู้
พอแนะนำได้) ชื่อว่ามานะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้มีความสำคัญว่า
เราเป็นคนเลว ดังนี้ มานะนี้ ชื่อว่า โอมานะ. อีกอย่างหนึ่ง ในมานะนี้
บัณฑิตพึงทราบว่า มานะนี้ชื่อว่า โอมานะ ด้วยสามารถแห่งความเป็นไป
โดยกระทำตนให้ต่ำอย่างนี้ว่า ท่านมีชาติ แต่ชาติของท่านเหมือนชาติของกา
ท่านมีโคตร แต่โคตรของท่านเหมือนโคตรของคนจัณฑาล เสียงของท่านมี
อยู่ แต่เสียงของท่านเหมือนเสียงขอกา ดังนี้.