เมนู

วาจาแสวงหาลาภ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า พูดติเตียน
(อุบายโกง) ดังนี้.

ลาเภนลาภังนิชิคิงสนตานิทเทส


อธิบาย การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ


การแสวงหา (ด้วยอำนาจแห่งความอยาก) ชื่อว่า การมุ่งลาภสักการะ
และชื่อเสียง. คำว่า อิโต ลทฺธํ ได้แก่ลาภ สักการะ ชื่อเสียง อันตนได้
แล้วจากบ้านนี้. คำว่า อมุตฺรา ได้แก่ ในบ้านชื่อโน้น. คำว่า เอฏฺฐิ
ได้แก่ การปรารถนา. คำว่า คเวฏฐิ ได้แก่ การเสาะหา. คำว่า ปริเยฏฺฐิ
ได้แก่ การแสวงหาบ่อย ๆ. ก็ในเรื่องนี้ บัณฑิตพึงกล่าว เรื่องของภิกษุผู้ให้
ภิกษาอันตนได้แล้ว ๆ จำเดิมแต่ต้น แก่ทารกในตระกูล ในที่นั้น ๆ แล้วจึง
ได้น้ำนมและข้าวยาคูในที่สุด แล้วจึงไป. คำว่า เอสนา เป็นต้น เป็นคำ
ไวพจน์ของคำว่าความปรารถนาเป็นต้น เพราะฉะนั้นในที่นี้พึงทราบการประ-
กอบ อย่างนี้ว่า คำว่า เอฏฺฐิ ได้แก่ กิริยาที่หา. คำว่า คเวฏฺฐิ ได้แก่
กิริยาที่เที่ยวหา. คำว่า ปริเยฏฺฐิ ได้แก่ กิริยาที่เที่ยวแสวงหาดังนี้.

เสยยมานนิทเทส


อธิบาย ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา


คำว่า ชาติยา (แปลว่า โดยชาติ) ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยชาติมีความ
เป็นกษัตริย์ เป็นต้น. คำว่า โคตฺเตน (โดยโคตร) ได้แก่ ด้วยโคตรอัน
สูงสุด มีโคตมโคตรเป็นต้น. คำว่า โกลปุตฺติเยน (โดยความเป็นผู้มีสกุล)
ได้แก่ ด้วยความเป็นตระกูลใหญ่ คำว่า วณฺณโปกฺขรตาย (โดยความเป็น

ผู้มีรูปงาม) ได้แก่ โดยความเป็นผู้มีสรีระอันถึงพร้อมด้วยวรรณะ จริงอยู่
สรีระ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า โปกขระ. อธิบายว่า เพราะ
ความที่บุคคลนั้นเป็นผู้มีรูปงามด้วยวรรณสมบัติ. คำว่า ธเนน เป็นต้น (คือ
โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทย-
ฐานะ เป็นต้น) มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. ในคำว่า มานํ ชปฺเปติ (ย่อมถือ
ตัว คือ ย่อมยังมานะให้เกิด) เหล่านั้น อธิบายว่า ในบรรดาวัตถุเหล่านั้น ย่อมให้
มานะเป็นไปว่าเราเลิศกว่าเขา คือย่อมกระทำด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้.

สทิสมานนิทเทส


อธิบาย ความสำคัญตนว่าเสมอเขา


ในคำว่า มานํ ชปฺเปติ นี้นั่นแหละ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมให้
มานะ (ความสำคัญตน) ว่า เราเป็นผู้เช่นเดียวกับเขา ด้วยวัตถุ (เหตุ) อย่างใด
อย่างหนึ่ง. ก็ในนิทเทสแห่งความสำคัญตนว่าเสมอเขานี้ มีเนื้อความแปลกกัน
โดยอรรถ แต่ในพระบาลีไม่มีการกระทำที่แตกต่างกัน.

หีนมานนิทเทส


อธิบาย ความสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา


คำว่า โอมานํ ชปฺเปติ ได้แก่ ยังมานะให้เป็นไปในฝ่ายต่ำ. มานะ
อันลามก อันต่ำช้า ชื่อว่า โอมานะ. คำว่า โอมญฺญิตตฺตํ ได้แก่ การ
แสดงความเป็นไปแห่งอาการ. คำว่า หีฬนา ได้แก่ การดูหมิ่นตนเอง
(การรังเกียจตนเอง) โดยฐานะทั้งหลาย มีโดยชาติเป็นต้น. คำว่า โอหีฬนา
ได้แก่ การดูถูกอย่างยิ่งเกินเปรียบ. คำว่า โอหีฬตตฺตํได้แก่ เป็นการ