เมนู

อยู่ที่มุมประตูหน้าต่าง เห็นน้ำอ้อยงบที่ภาชนะ เห็นปลาเค็มในกระจาด เห็น
ข้าวสารในหม้อใหญ่ เห็นจอกน้ำในหม้อน้ำ แล้วก็ออกมานั่ง.
หญิงแม่เรือนมาแล้วก็กล่าวว่า เราไม่ได้ข้าวสาร ดังนี้. พระเถระ
กล่าวว่า ดูก่อนอุบาสิกา วันนี้ ภิกษาเห็นจักไม่ถึงพร้อม แล้วกล่าวว่า อาตมา
ได้เห็นนิมิตก่อนนั่นแหละ. หญิงนั้นถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมิตเป็น
อย่างไร ดังนี้.
พระเถระกล่าวว่า อาตมาแลดูอยู่ด้วยคิดว่า เราจักประหารงูอันเห็น
แล้วนั้น ซึ่งเป็นราวกะว่าอ้อยที่วางไว้ที่มุมใกล้หน้าต่าง เห็นแผ่นหิน ราวกะ
ก้อนน้ำอ้อยงบที่วางไว้ในภาชนะ เห็นพังพานงูแผ่ออกแล้ว เพราะถูกขว้าง
ปาด้วยก้อนดิน เช่นกับการผ่าปลาใส่เกลือวางไว้ในกระจาด เห็นฟันของงูนั้นผู้
ไล่กัดก้อนดินนั้น เช่นกับข้าวสารในหม้อ ลำดับนั้น เห็นเขฬะอันเจือด้วย
พิษออกไปจากปากงูผู้โกรธแล้วนั้น เช่นกับจอกน้ำที่ในหม้อน้ำ ดังนี้.
หญิงแม่บ้านนั้น ถวายอ้อยแล้ว ด้วยคิดว่า เราไม่อาจเพื่อลวงสมณะโล้นได้
ดังนี้ แล้วหุงข้าวถวายพร้อมกับน้ำอ้อยงบในหม้อและปลา ดังนี้
บัณฑิตพึงทราบการพูดด้วยอาการอย่างนี้ว่า เป็นการพูดใกล้ ๆ ดังนี้.
คำว่า การพูดแวดล้อม หว่านล้อมโดยประการที่ตนจะได้ อย่างนั้นแล.

นิปเปสิกตานิทเทส


อธิบาย การพูดติเตียน


คำว่า การด่า ได้แก่ การด่าด้วยอักโกสวัตถุ 10 ประการ. คำว่า
การข่ม ได้แก่การกล่าวเย้ยหยัน. คำว่า การนินทา ได้แก่ การพูดยกโทษขึ้น

โดยนัยว่า เขาไม่มีศรัทธา ไม่น่าเลื่อมใส. คำว่า การพูดตำหนิโทษ ได้แก่
การยกวาจาขึ้นว่า ท่านอย่าได้กล่าววาจาเช่นนี้ ในที่นี้. การพูดตำหนิโทษ อัน
เป็นไปกับด้วยวัตถุ เป็นไปกับด้วยเหตุ โดยส่วนทั้งปวง เรียกว่า การพูด
เหยียดหยาม.
อีกอย่างหนึ่ง การพูดยกโทษขึ้นอย่างนี้ว่า โอ ท่านทานบดี ไม่ให้
อะไร ๆ ชื่อว่า ติเตียน. การพูดด้วยดีอย่างนี้ว่า ท่านทานบดีใหญ่ ดังนี้ เรียก
ว่า การพูดเหยียดหยาม. คำว่า การพูดเหยียดหยาม ได้แก่การพูดเยาะเย้ย
อย่างนี้ว่า ชีวิต (ความเป็นอยู่) ของท่านผู้นี้ กินพืชเป็นอาหารมิใช่หรือ
ดังนี้ ชื่อว่า การพูดเยาะเย้ย. ย่อมพูดให้ยิ่งกว่านี้ว่า ท่านทั้งหลายย่อมกล่าว
ว่าบุคคลนี้มิใช่ทายก เป็นต้น บุคคลใด ย่อมให้วาจาแก่บุคคลทั้งปวงตลอด
กาลเป็นนิจว่า ไม่มี ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า พูดเยาะเย้ย หรือเหยียดหยามให้
เสียชื่อเสียง. การพูดว่า ทานบดีไม่ให้ หรือตำหนิให้เสียชื่อเสียง โดยอาการ
ทั้งปวง ชื่อว่า การพูดให้เสียชื่อเสียงอย่างแรง. การนำเรื่องไปติเตียนจาก
บ้านโน้นไปสู่บ้านนี้ จากชนบทโน้นไปสู่ชนบทนี้ ว่า บุคคลย่อมประสบ แม้
ความกลัวแต่การติเตียนของเรา อย่างนี้ชื่อว่า การนำเรื่องไปเที่ยวติเตียน
การพูดวาจาไพเราะต่อหน้า ในภายหลังพูดนินทา ชื่อว่า การพูดไพเราะต่อ
หน้านินทาลับหลัง. จริงอยู่ บุคคลผู้พูดอย่างนี้ เมื่อไม่อาจแลดูเฉพาะหน้า
ย่อมเป็นราวกะการเคี้ยวกินเนื้อในที่ลับหลัง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า พูดไพเราะต่อหน้าลับหลังนินทา ดังนี้. คำว่า
อยํ วุจฺจติ นิปฺเปสิกตา ได้แก่ บุคคลนี้ ย่อมไม่นำ คือย่อมไม่กล่าวคุณ
ของผู้อื่นอันมีอยู่ในภายในราวกะบุคคลบดคันธชาติ คือบดขยี้คุณของผู้อื่นให้
แหลกเป็นจุณ ย่อมเป็นราวกะการแสวงหาคันธชาตินั้น วาจาเช่นนี้ ย่อมเป็น

วาจาแสวงหาลาภ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า พูดติเตียน
(อุบายโกง) ดังนี้.

ลาเภนลาภังนิชิคิงสนตานิทเทส


อธิบาย การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ


การแสวงหา (ด้วยอำนาจแห่งความอยาก) ชื่อว่า การมุ่งลาภสักการะ
และชื่อเสียง. คำว่า อิโต ลทฺธํ ได้แก่ลาภ สักการะ ชื่อเสียง อันตนได้
แล้วจากบ้านนี้. คำว่า อมุตฺรา ได้แก่ ในบ้านชื่อโน้น. คำว่า เอฏฺฐิ
ได้แก่ การปรารถนา. คำว่า คเวฏฐิ ได้แก่ การเสาะหา. คำว่า ปริเยฏฺฐิ
ได้แก่ การแสวงหาบ่อย ๆ. ก็ในเรื่องนี้ บัณฑิตพึงกล่าว เรื่องของภิกษุผู้ให้
ภิกษาอันตนได้แล้ว ๆ จำเดิมแต่ต้น แก่ทารกในตระกูล ในที่นั้น ๆ แล้วจึง
ได้น้ำนมและข้าวยาคูในที่สุด แล้วจึงไป. คำว่า เอสนา เป็นต้น เป็นคำ
ไวพจน์ของคำว่าความปรารถนาเป็นต้น เพราะฉะนั้นในที่นี้พึงทราบการประ-
กอบ อย่างนี้ว่า คำว่า เอฏฺฐิ ได้แก่ กิริยาที่หา. คำว่า คเวฏฺฐิ ได้แก่
กิริยาที่เที่ยวหา. คำว่า ปริเยฏฺฐิ ได้แก่ กิริยาที่เที่ยวแสวงหาดังนี้.

เสยยมานนิทเทส


อธิบาย ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา


คำว่า ชาติยา (แปลว่า โดยชาติ) ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยชาติมีความ
เป็นกษัตริย์ เป็นต้น. คำว่า โคตฺเตน (โดยโคตร) ได้แก่ ด้วยโคตรอัน
สูงสุด มีโคตมโคตรเป็นต้น. คำว่า โกลปุตฺติเยน (โดยความเป็นผู้มีสกุล)
ได้แก่ ด้วยความเป็นตระกูลใหญ่ คำว่า วณฺณโปกฺขรตาย (โดยความเป็น