เมนู

เหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญ
อาปาถกฌาน (เหมือนผู้เจริญฌานอันประกอบด้วยมรรควิถี) การตั้งใจ การ
ดำรงอิริยาบถ ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง
กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความ
หลอกลวง กล่าวคือด้วยอิริยาบถ ดังนี้.
ในคำเหล่านั้น คำว่า การซ่องเสพปัจจัย ในคำว่า ปจฺจยปฏิเสวน-
สงฺขาเตน
ได้แก่ด้วยการซ่องเสพปัจจัยอันกล่าวอย่างนี้. คำว่า สามนฺตชปฺ -
ปิเตน
ได้แก่ ด้วยการพูดในที่ใกล้. คำว่า อิริยาปถสฺส ได้แก่ อิริยาบถ
ทั้ง 4. คำว่า อฏฺฐปนา ได้แก่ การเริ่มยกอิริยาบถ หรือการตั้งอิริยาบถ
ด้วยความเอาใจใส่ (ตั้งใจ). คำว่า ฐปนา ได้แก่ อาการที่ตั้งอิริยาบถ. คำว่า
สณฺฐาปนา ได้แก่ การตระเตรียมอิริยาบถ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบาย
คำนี้ไว้ว่า การทำให้ผู้อื่นเลื่อมใส. คำว่า ภากุฏิกา ได้แก่ การสยิ้วหน้า
ด้วยสามารถแห่งการแสดงความเป็นใหญ่ หรือความเป็นผู้เคยดำรงอยู่ก่อน คำ
นี้ ตรัสอธิบายว่า เป็นผู้แสดงความไม่พอใจ ดังนี้. ที่ชื่อว่า สยิ้วหน้าเพราะว่า
การสยิ้วหน้าของผู้นั้นมีอยู่เป็นปกติ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้สยิ้วหน้า ชื่อว่า
สภาพที่สยิ้วหน้า. คำพูดอันเป็นอุบายให้เขาเชื่อ ชื่อว่า ความหลอกลวง.
วิถีทางของผู้หลอกลวง ชื่อว่า อุบายเป็นเครื่องหลอกลวง. ความเป็นแห่ง
บุคคลผู้หลอกลวง ชื่อว่า สภาพที่หลอกลวง ดังนี้.

ลปนานิทเทส


อธิบาย การพูดประจบ


การพูด ตั้งแต่ต้น อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายมา
เพื่อประโยชน์อะไร หรือเพื่อนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ท่านมาด้วยความ

ประสงค์อย่างนี้ไซร้ อาตมาจักจัดภิกษุให้ไปภายหลัง ดังนี้ เพราะเห็นพวก
มนุษย์มาสู่วิหารนี้ ชื่อว่า การพูดทักทาย.
อีกอย่างหนึ่ง การพูดแนะนำตนเอง ว่า อาตมา ชื่อว่า ติสสะ พระ-
ราชาทรงเลื่อมใสในอาตมา มหาอำมาตย์ของพระราชาโน้น ๆ ก็เลื่อมใส ดังนี้
เพราะการแนะนำตนอย่างนี้ ก็ชื่อว่า การพูดทักทาย. เมื่อบุคคลผู้ถามมีอยู่
การพูดโต้ตอบ มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ชื่อว่า การพูดสนทนา.
การพูดด้วยดี เพราะให้โอกาสแก่ผู้หวาดกลัว ในเพราะการพูดไม่คล่องของ
คหบดีทั้งหลาย ชื่อว่า การพูดปลอบโยน การพูดยกตนให้สูง อย่างนี้ว่า
เราเป็นกุฎุมพีใหญ่ เป็นทานบดีใหญ่ ดังนี้ ชื่อว่า การพูดยกย่อง. การพูด
โดยการกระทำให้สูงโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า การพูดเยินยอ. การพูดทำให้
ชอบใจว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ในครั้งก่อน ท่านย่อมถวายทานในกาลเช่นนี้
บัดนี้ ท่านไม่ถวายทานหรือ. เขาตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมยังไม่ได้
โอกาส เป็นต้น โดยทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ชื่อว่า การพูดอ้อมค้อม. อธิบายว่า
ได้แก่ การพูดเกลี่ยกล่อม.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นบุคคลถืออ้อยมา จึงถามว่า ดูก่อนอุบาสก
อ้อยนี้ท่านได้มาจากไหน. เขาตอบว่า จากไร่อ้อยขอรับ ภิกษุถามว่า อ้อย
ในไร่นั้น มีรสหวานไหม. อุบาสกกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเคี้ยวกิน
แล้วพึงทราบ. ภิกษุกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสก ถ้าว่าอาตมาพูดว่า ขอท่านทั้ง
หลายจงถวายอ้อยแก่ภิกษุ ดังนี้ ย่อมไม่ควร การพูดชมเชยของภิกษุผู้ประจบ
เห็นปานนี้ อันใด การพูดอ้อมค้อมก็อันนั้น. การพูดอ้อมค้อมบ่อย ๆ โดย
ส่วนทั้งปวง ชื่อว่า การพูดประจบ. คำว่า การพูดชมเชย ได้แก่วาจาเป็น

เครื่องยังจิตให้หวั่นไหว ซึ่งยกขึ้นอย่างนี้ว่า ตระกูลนี้ ย่อมรู้จักเราดีทีเดียว
ถ้าเขาจะถวายไทยธรรมไซร้ก็จักถวายแก่เราเท่านั้น ดังนี้ชื่อว่า การสรรเสริญ
คือ การยกย่อง. ในข้อนั้นพึงกล่าวถึงเรื่องอุปัฏฐากผู้บำรุงภิกษุ ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุ 2 รูป เข้าไปสู่บ้านหนึ่ง นั่งที่โรงภัตตาหาร เห็น
กุมาริกาคนหนึ่ง จึงเรียกมา ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง จึงถามภิกษุรูปหนึ่งว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กุมาริกานี้เป็นลูกใคร. ภิกษุนั้น จึงยกย่องสรรเสริญ ด้วย
คำว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เป็นลูกสาวอุปัฏฐากผู้บำรุงของกระผม มารดาของ
หญิงนี้ เมื่อกระผมไปบ้านแล้ว เมื่อจะถวายเนยใส ย่อมถวายทั้งหม้อทีเดียว
แม้กุมาริกานี้ ก็ย่อมถวายเนยใสทั้งหม้อเหมือนมารดานั่นแหละ ดังนี้.
การพูดสรรเสริญซ้ำ ๆ ชื่อว่า การพูดสรรเสริญบ่อย. คำว่า อนุปฺ-
ปิยภาณิตา
ได้แก่ การกล่าววาจาอันเป็นที่รักบ่อยๆไม่สนใจคำอันเหมาะสม
แก่สัจจะ หรือเหมาะสมกับธรรมเลย. คำว่า ปาตุกมฺยตา ได้แก่ ความประ-
พฤติตั้งตนไว้ต่ำให้เป็นไป. คำว่า มุคฺคสูปยตา ได้แก่ วาจาเช่นกับแกง
ถั่วเขียว. เหมือนอย่างว่า ครั้นเมื่อถั่วเขียวทั้งหลายอันบุคคลต้มอยู่ ถั่วเขียว
อะไร ๆ บางอย่างย่อมไม่สุก ถั่วเขียวที่เหลือย่อมสุกฉันใด คำพูดสัจจะไรๆ มี
อยู่ คำพูดอันเหลวไหล ก็มีอยู่ในถ้อยคำของบุคคลนั้นนั่นแหละ บุคคลนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ผู้มีวาจาเช่นแกงถั่วเขียว ดังนี้. ความ
เป็นแห่งบุคคลผู้มีวาจาทีเล่นทีจริงเช่นแกงถั่วเขียวนั้น ชื่อว่า สภาพวาจาเช่น
แกงถั่วเขียว. ความเป็นแห่งบุคคลผู้รับเลี้ยงดูเด็ก ชื่อว่า สภาพความเป็นผู้
เลี้ยงดูเด็ก จริงอยู่ บุคคลใดย่อมเลี้ยงดูทารกในตระกูล ด้วยสะเอว หรือ
ด้วยบ่า เหมือนแม่นม อธิบายว่า ย่อมเลี้ยงดูเด็กในตระกูลโดยให้ทรงอยู่.
การงานของผู้เลี้ยงดูเด็กนั้น ชื่อว่า การรับเลี้ยงเด็ก. ความเป็นแห่งบุคคลผู้
เลี้ยงดูเด็ก ชื่อว่า สภาพการรับเลี้ยงเด็ก ดังนี้.

เนมิตติกตานิทเทส


อธิบาย การแสดงนิมิต


คำว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม อันประกอบพร้อมด้วย
การให้ปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ชนเหล่าอื่น. คำว่า นิมิตฺตกมฺมํ ได้แก่
ความเป็นผู้ฉลาดในการทำนิมิต. ในข้อนี้ มีเรื่องดังนี้
ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ถือบิณฑบาตเป็นวัตรไปถึงประตูบ้านนาย
ช่างทองผู้อุปัฏฐาก ผู้อันช่างทองถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านต้องการอะไร
ดังนี้ เธอจึงนำมือออกจากภายในระหว่างจีวร แล้วได้แสดงอาการ คือการนำ
มีดไป. ช่างทอง ทราบลักษณะอาการนั้น แล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
นั่นมีดของกระผม ดังนี้ แล้วได้ถวายมีดไป. คำว่า โอภาโส ได้แก่ กล่าว
ถ้อยคำอันเกี่ยวด้วยปัจจัย. คำว่า โอภาสกมฺมํ อธิบายว่า ภิกษุเห็นบุคคล
ผู้เลี้ยงลูกโค จึงถามว่า ลูกโคเหล่านี้ เป็นลูกโคนม หรือเป็นลูกโคเปรียง
(ตักกโควัจฉา) เมื่อเด็กเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เป็นลูกโคนม ดังนี้
เธอก็จะพูดเป็นนัย อันยังมารดาบิดาของเด็กเลี้ยงโคนั้นให้ทราบ อันเป็นเหตุ
ให้เขาถวายนมเป็นต้น โดยนัยว่า ผิว่า พึงเป็นลูกโคนม แม้ภิกษุทั้งหลาย
ก็พึงได้น้ำนม ดังนี้. คำว่า สามนฺตชปฺปา ได้แก่ การกระซิบ คือพูด
ใกล้. ในข้อนี้ บัณฑิตพึงกล่าวถึงเรื่อง พระเถระผู้เรียนชาดก.
ได้ยินว่า พระเถระผู้เรียนชาดกรูปหนึ่ง เป็นผู้ใคร่จะฉันอาหาร เข้า
ไปสู่บ้านอุปัฏฐายิกา แล้วนั่งอยู่. อุปัฏฐายิกานั้น ไม่ประสงค์จะถวายอะไร
จึงกล่าวว่า ข้าวสารไม่มี ดังนี้ แล้วไปสู่บ้านของเพื่อนบ้าน เป็นราวกะว่า
ต้องการจะนำข้าวสารมา. ทีนั้นภิกษุก็เข้าไปภายในห้อง แลดูอยู่ เห็นอ้อยพิง