เมนู

เหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญ
อาปาถกฌาน (เหมือนผู้เจริญฌานอันประกอบด้วยมรรควิถี) การตั้งใจ การ
ดำรงอิริยาบถ ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง
กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความ
หลอกลวง กล่าวคือด้วยอิริยาบถ ดังนี้.
ในคำเหล่านั้น คำว่า การซ่องเสพปัจจัย ในคำว่า ปจฺจยปฏิเสวน-
สงฺขาเตน
ได้แก่ด้วยการซ่องเสพปัจจัยอันกล่าวอย่างนี้. คำว่า สามนฺตชปฺ -
ปิเตน
ได้แก่ ด้วยการพูดในที่ใกล้. คำว่า อิริยาปถสฺส ได้แก่ อิริยาบถ
ทั้ง 4. คำว่า อฏฺฐปนา ได้แก่ การเริ่มยกอิริยาบถ หรือการตั้งอิริยาบถ
ด้วยความเอาใจใส่ (ตั้งใจ). คำว่า ฐปนา ได้แก่ อาการที่ตั้งอิริยาบถ. คำว่า
สณฺฐาปนา ได้แก่ การตระเตรียมอิริยาบถ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบาย
คำนี้ไว้ว่า การทำให้ผู้อื่นเลื่อมใส. คำว่า ภากุฏิกา ได้แก่ การสยิ้วหน้า
ด้วยสามารถแห่งการแสดงความเป็นใหญ่ หรือความเป็นผู้เคยดำรงอยู่ก่อน คำ
นี้ ตรัสอธิบายว่า เป็นผู้แสดงความไม่พอใจ ดังนี้. ที่ชื่อว่า สยิ้วหน้าเพราะว่า
การสยิ้วหน้าของผู้นั้นมีอยู่เป็นปกติ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้สยิ้วหน้า ชื่อว่า
สภาพที่สยิ้วหน้า. คำพูดอันเป็นอุบายให้เขาเชื่อ ชื่อว่า ความหลอกลวง.
วิถีทางของผู้หลอกลวง ชื่อว่า อุบายเป็นเครื่องหลอกลวง. ความเป็นแห่ง
บุคคลผู้หลอกลวง ชื่อว่า สภาพที่หลอกลวง ดังนี้.

ลปนานิทเทส


อธิบาย การพูดประจบ


การพูด ตั้งแต่ต้น อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายมา
เพื่อประโยชน์อะไร หรือเพื่อนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ท่านมาด้วยความ