เมนู

ความโน้มกายไปรอบๆ. ในคำว่า ความน้อมกายให้ตรง นี้ เหมือนอย่างว่า
ช่างหูกผู้ขยัน จับถือซึ่งอะไร ๆ นั่นแหละแต่เส้นด้าย แล้วก็ตั้งกายให้ตรง
ฉันใด การยกกายขึ้นเบื้องบน ก็ฉันนั้น. คำว่า พยาธิยกํ (แปลว่า ความ
ไม่สบายกาย) ได้แก่ ความที่บุคคลนั้นมีพยาธิเกิดขึ้นแล้ว. ความบิดกายนั่น
แหละด้วยสามารถแห่งกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้ง
หมดด้วยประการฉะนี้.

ภัตตสัมมทนิทเทส


อธิบายความเมาอาหาร


คำว่า ภุตฺตาวิสฺส ได้แก่ ของผู้บริโภคอาหาร. ความไม่สบายเนื่อง
จากกินอาหาร ชื่อว่า ความอึดอัดเพราะอาหาร. จริงอยู่ บุคคลย่อมเป็นราวกะ
ว่าถึงความซบเซาเพราะอาหารมีกำลัง (มาก). ความเป็นแห่งผู้ลำบากเพราะ
อาหาร ชื่อว่า ความเป็นผู้กระวนกระวายเพราะอาหาร. ความกระวนกระวาย
เพราะอาหาร ชื่อว่า ความเร่าร้อนเพราะอาหาร. จริงอยู่ ในสมัยนี้ บุคคลนั้น
ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีอินทรีย์อันอาหารขจัดแล้ว โดยให้ความเร่าร้อนเกิดขึ้น คือ
ย่อมทำให้ร่างกายทรุดโทรม. คำว่า กายทุฏฺฐุลฺลํ (แปลว่า ความเป็นผู้หนัก
เนื้อหนักตัวเพราะอาหาร) ได้แก่ ความเป็นผู้มีร่างกายอันไม่ควรแก่การงาน
(คือ ไม่คล่องแคล่ว) เพราะอาศัยอาหาร.
นิทเทสแห่งความเป็นผู้ย่อหย่อนแห่งจิต มีเนื้อความดังกล่าวไว้ใน
อรรถกถาแห่งธัมมสังคหะในหนหลังนั่นแหละ. และพึงทราบอาการแห่งความ
ป่วยไข้ด้วยสามารถแห่งกิเลส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วด้วยบทเหล่า
นี้แม้ทั้งหมด ดังนี้.

กุหนานิทเทส


อธิบาย ความหลอกลวง


คำว่า ลาภสกฺการสิโลกสนฺนิสฺสิตสฺส (แปลว่า สภาพที่หลอก
ลวงของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง) อธิบายว่า ภิกษุผู้หลอกลวงนั้น
ต้องการลาภ สักการะ และสรรเสริญ จึงปรารถนาเช่นนั้น . คำว่า ปาปิจฺฉสฺส
(แปลว่า ผู้ปรารถนาลามก) ได้แก่ ภิกษุผู้ใคร่แสดงความดีอันตนไม่มีอยู่.
คำว่า อิจฺฉาปกตสฺส (แปลว่า ถูกความอยากครอบงำแล้ว) อธิบายว่า ภิกษุ
นั้นถูกความอยากอันมิใช่ธรรมดาทำให้เดือดร้อนแล้ว.
เบื้องหน้าแต่นี้ไป พึงทราบ กุหนวัตถุ (เรื่องความหลอกลวง) 3
อย่าง อันมาในมหานิทเทส ด้วยสามารถแห่งภิกษุผู้หลอกลวงโดยมุ่งเสพปัจจัย
1 ความหลอกลวงด้วยการพูดเลียบเคียง 1 และความหลอกลวงด้วยการอาศัย
ซึ่งอิริยาบถ 1 เพราะฉะนั้นเพื่อแสดงความหลอกลวงแม้ทั้ง 3 นั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาเตน วา (แปลว่า ด้วยการ
ซ่องเสพปัจจัย) เป็นต้น ดังนี้.
ในข้อนั้น พึงทราบเรื่องความหลอกลวง (กุหนวัตถุ) กล่าวด้วยการ
ซ่องเสพปัจจัยทำอุบายเป็นเหตุให้ทายกน้อมปัจจัยมาแม้ตั้งเล่มเกวียน จำเดิมแต่
การปฏิเสธ เพราะอาศัยความปรารถนาลามกของภิกษุผู้อันความอยากครอบงำ
ผู้อันทายกนิมนต์ด้วยจีวรเป็นต้นเมื่อทายกนั้นน้อมถวายจีวรเป็นต้น อันประ-
ณีต ด้วยวิธีต่าง ๆ ว่า โอ พระผู้เป็นเจ้า มีความปรารถนาน้อย ย่อมไม่
ต้องการเพื่อจะรับอะไร ๆ ก็ถ้าท่านพึงรับอะไร ๆ แม้สักเล็กน้อย นั่นเป็นการ
ที่พวกเราได้ดีแล้วหนอ ดังนี้ เพราะเธอรู้ว่าคหบดีเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธาตั้ง
มั่นดีแล้วในตน จึงกระทำให้แจ้งเพื่อประสงค์จะอนุเคราะห์คหบดีนั้น ดังนี้.