เมนู

วิปัสสนา. คำว่า อรติ เป็นคำปฏิเสธความยินดี. อาการแห่งความไม่ยินดี
ชื่อว่า กิริยาที่ไม่ยินดี. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่า สภาพที่ไม่
ยินดียิ่ง. อาการแห่งความไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่า กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง. อาการแห่ง
บุคคลผู้กระวนกระวาย ชื่อว่า ความกระวนกระวายใจ. คำว่า ปริตสฺสิตา ได้
แก่ ความเป็นผู้สะดุ้งด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้กระวนกระวายใจ.

ตันทีนิทเทส


อธิบาย ความโงกง่วง


ความเกียจคร้านชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ตันที (คือความง่วง หรือความ
ประมาท). อาการแห่งความเป็นผู้โงกง่วง ชื่อว่า กิริยาที่โงกง่วง. คำว่า
ตนฺทิมนกตา ได้แก่ความเป็นผู้มีจิตอันความเกียจคร้านครอบงำแล้ว . ความ
เป็นแห่งบุคคลผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า สภาพที่จิตโงกง่วง. อาการแห่งบุคคลผู้
เกียจคร้าน ชื่อว่า กิริยาแห่งความโงกง่วง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้เกียจคร้าน
ทางกายด้วยสามารถแห่งกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทเหล่านี้แม้
ทั้งหมด ดังนี้.

วิชัมภิตานิทเทส


อธิบาย ความบิดกาย


ความให้กายไหวเอี้ยวไป ชื่อว่า ความบิดกาย. ความบิดกายบ่อยๆ
(ในท่าต่าง ๆ) เรียกว่าความเหยียดกาย. คำว่า อานมนา (แปลว่า ความ
โน้มกาย) ได้แก่ ความโน้มกายไปข้างหน้า. คำว่า วินมนา (แปลว่า ความ
โน้มกายไปข้างหลัง) ได้แก่ความเอนกายไปข้างหลัง. คำว่า สนฺนมนา ได้แก่