เมนู

หรือ ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ก็ท่านฉาบทาด้วยจันทน์แดง จึงไม่ต้องการให้ดอก
ปทุมอันเป็นเครื่องประดับนั้นแก่เรา ดังนี้. บุรุษนั้น คิดว่า แม้ชนนี้ จัก
เป็นผู้ทำกรรมเช่นเรานั่นแหละ จึงใคร่จะเสวยผลของกรรมนั้น ดังนี้ ลำดับ
นั้น บุรุษผู้มีกงจักรอันพัดผันอยู่ที่ศีรษะนั้น จึงกล่าวว่า เอาเถิด เราจักให้
ดังนี้แล้วเอากงจักรใส่ให้บนศีรษะของนายมิตตวินทุกะแล้วไป.
พระศาสดาทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ ว่า
จตฺพภิ อฏฺฐชฺฌคมา อฏฺฐาภิปิ จ โสฬส
โสฬสาภิ จ พาตฺตึส อตฺริจฺฉํ จกฺกมาสโท
อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺกํ ภมติ มตฺถเก

แปลว่า
บุรุษนั้น (นายมิตตวินทุกะ) ละจาก
นางเวมานิกเปรต 4 นาง เสวยสมบัติกับ
นางเวมานิกเปรต 8 นาง ละจากนางเวมานิก
เปรต 8 นาง เสวยสมบัติอยู่กับนางเวมานิก
เปรต 16 นาง ละจากนางเวมานิกเปรต 16
นางแล้วเสวยสมบัติอยู่กับนางเวมานิกเปรต 32
นาง เป็นผู้มีความอยากเกินประมาณเข้าถึงจักร
อยู่ จักรนั้นย่อมหมุนไปบนศีรษะของบุรุษผู้อัน
ความอยากนำมาแล้ว
ดังนี้.

เรื่องอำมาตย์


อำมาตย์คนหนึ่ง มีความอยากเกินประมาณแม้อื่นอีก ก้าวล่วงเขตแดน
ของตนเข้าไปสู่แดนของผู้อื่น ถูกโบยตีแล้วในที่นั้น จึงหนีไปสู่ที่เป็นที่อยู่

ของดาบสองค์หนึ่ง อธิษฐานองค์อุโบสถแล้วนอน. อำมาตย์นั้นถูกดาบสถามว่า
ท่านทำกรรมอะไรมา เขาจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
สกํ นิเกตํ อติเหฬยาโน ฯลฯ อตฺริจฺฉตา มา ปุนราคามาสิ
ดังนี้
แปลว่า ข้าพเจ้าเกลียดชังที่อยู่ของข้าพเจ้า ได้ไปสู่สถานที่อันเป็น
มลทิน ด้วยความโลภมาก ลำดับนั้น ชนทั้งหลายออกจากบ้านพากันมาโบยตี
ข้าพเจ้าด้วยเกาทัณฑ์ ข้าพเจ้านั้นมีศีรษะแตกแล้ว มีโลหิตโซมตัว จึงหนี
ออกมา เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ขอความปรารถนาอันเลวทราม
อย่าได้กลับมาหาข้าพเจ้าอีกเลย ดังนี้.

มหิจฉตานิทเทส


อธิบาย ความมักมาก หรือความหิวกระหาย


บุคคลใด ปรารถนาวัตถุทั้งหลายเกินประมาณ ก็หรือว่า ความอยาก
ของผู้นั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีความมักมาก (มี
ความหิวกระหาย). ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีความมักมากนั้น ชื่อว่า สภาพ
ความมักมาก. ก็เมื่อว่าโดยลักษณะได้แก่ การไม่รู้จักประมาณในการรับ ใน
การบริโภค ก็เพราะการเจริญคุณอันไม่มีอยู่ นี้ชื่อว่า มีความอยากมากเป็น
ลักษณะ. จริงอยู่ บุคคลผู้อยากมาก (อยากใหญ่) มีความหิวกระหาย เปรียบ
เหมือน พ่อค้าหาบเร่ (กจฺฉปูฏวาณิชฺโช) ถือสินค้า เครื่องประดับด้วยมือ
และห้อยสิ่งที่ควรขายไว้ที่หน้าตัก แล้วกล่าวโฆษณาเชิญชวนมหาชนที่เห็นอยู่
นั่นแหละว่า แม่ จงถือเอาสิ่งชื่อโน้น ชื่อโน้น ดังนี้ ชื่อฉันใด ข้อนี้ก็ฉัน
นั้นนั่นแหละ คุณคือ ศีล หรือการศึกษาพระพุทธพจน์ หรือธุดงค์คุณ โดยที่