เมนู

ครั้นเห็นพระเจดีย์ หรือบุคคลผู้เจริญกว่า ก็ไม่นอบน้อม ย่อมประพฤติ
เคร่งครัด เป็นราวกะถุงลมอันเต็มด้วยลม บุคคลนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
มีความพองขึ้นแห่งจิตเป็นลักษณะ.

สารัมภนิทเทส


อธิบายความแข่งดี


ชื่อว่า ความแข่งดี (สารัมภะ) ด้วยสามารถแห่งการฉุนเฉียว. ความ
แข่งดีแผ่ออกไป ชื่อว่า ความแข่งขึ้นหน้า (ปฏิสารัมภะ). อาการที่แข่งดี
ชื่อว่า กิริยาที่แข่งดี. กิริยาที่แข่งดีแผ่ออกไป ชื่อว่า กิริยาที่แข่งดีขึ้นหน้า
ความเป็นแห่งบุคคลแข่งดีแผ่ไปแล้ว ชื่อว่า สภาพความแข่งดีขึ้นหน้า คำว่า
อยํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า บุคคลนี้ ชื่อว่า มีความแข่งดี
ว่าโดยลักษณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกบุคคลนั้นว่า มีสิ่งเปรียบด้วยการ
การทำเกินเป็นลักษณะ. คือว่า บุคคลใดประกอบด้วยสิ่งใด บุคคลผู้แข่งดีนั้น
ย่อมกระทำสิ่งนั้น ๆ ให้เป็นสองเท่า. เช่น ผู้ครองเรือน บุคคลอื่นตกแต่ง
หรือตระเตรียมสิ่งของภายในบ้านด้วยวัตถุเพียงหนึ่งอย่าง บุคคลผู้แข่งดีย่อม
จัดแจงสิ่งนี้นัยสองอย่าง ผู้แข่งดีคนอื่นอีกย่อมจัดแจงสิ่งนั้นเป็นสี่ ผู้อื่นอีกย่อม
จัดแจงเป็นแปด ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมจัดแจงเป็น 16.
ผู้ไม่ครองเรือน (สมณะ) ผู้มีการแข่งดีมีอยู่ เมื่อผู้หนึ่งเรียนพระพุทธ-
พจน์นิกายหนึ่งด้วยสูตรหนึ่ง ผู้แข่งดีคนอื่นย่อมคิดว่า เราจักเป็นผู้ล้าหลังผู้นั้น
ดังนี้ จึงเรียน 2 นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมเรียนเอา 3 นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีก
ย่อมเรียน 4 นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมเรียนพระพุทธพจน์ 5 นิกาย. ก็การเรียน
พระพุทธพจน์นั้น ไม่ควรด้วยสามารถแห่งความแข่งดี. เพราะว่าความแข่งดี

นั้นเป็นฝักฝ่ายแห่งอกุศล เป็นทางยังสัตว์ให้ถึงนรก. แต่ว่า ว่าด้วยสามารถ
แห่งฝักฝ่ายในกุศล เมื่อบุคคลถวายสลากภัตเพียงหนึ่งอย่าง บุคคลอื่นควรให้
เพิ่มเป็นสอง เมื่อบุคคลถวายสองอย่าง บุคคลอื่นควรถวายเพิ่มเป็นสี่อย่าง
อย่างนี้สมควร. ก็ครั้นเมื่อภิกษุเรียนพระพุทธพจน์นิกายหนึ่ง ภิกษุอื่นเรียนเอา
สองนิกายด้วยคิดว่า เมื่อเราสาธยายพระพุทธพจน์อยู่ ความผาสุกย่อมมี ดังนี้
ก็ควร ฉะนั้น การเรียนพุทธพจน์ให้ยิ่งกว่านั้น เพราะมั่นอยู่ในฝักฝ่ายแห่ง
กุศลอันเป็นวิวัฏฏะ ก็ควร.

อัตริจฉตานิทเทส


อธิบายความอยากได้เกินประมาณ


อรรถแห่งความชั่วช้าลามกที่กล่าวไว้ใน อริยวังสสูตร ฉันใด อรรถ
แห่งความเป็นผู้อยากได้เกินประมาณ ก็ฉันนั้น. ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายมี
จีวรเป็นต้น ภิกษุได้สิ่งใด ๆ มา ก็ไม่ยินดีสิ่งนั้น ๆ ก็หรือว่า เป็นคฤหัสถ์
ย่อมได้สิ่งใด ๆ ในบรรดารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ก็ไม่ยินดี
ด้วยสิ่งนั้น ๆ. คำว่า ภิยฺโยกมฺยตา (ความปรารถนาให้วิเศษขึ้นไป.) ชื่อว่า
ความอยาก เพราะอำนาจแห่งความปรารถนา. หรือว่า อาการแห่งความอยาก
นั่นแหละ ชื่อว่า กิริยาที่ปรารถนา. สภาพแห่งความอยากเกินการได้ของ
ตน ชื่อว่า ความมักมาก. คำว่า ราคะ เป็นต้น มีอรรถตามที่กล่าว
แล้วในหนหลัง แล. คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ผู้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกชื่อว่า ความมักมาก แม้ความอยากเกินประมาณนี้ ก็เป็นชื่อของ
ความมักมากนั่นแหละ. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ความอยากได้เกินประมาณ
นี้ ได้แก่ ความไม่สันโดษในลาภของตน และความปรารถนาในลาภของผู้อื่น