เมนู

ขอบเขตแห่งปริยายโดยอรรถ และโดยพยัญชนะ. คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอธิบายไว้ว่า ความประมาทนี้ใด ที่แสดงแล้วแต่ต้น ความประมาทอันใด
แม้อื่นก็มีอาการอย่างนี้ มีชาติอย่างนี้ กิริยาที่ประมาทด้วยสามารถแห่งอาการ
ที่มัวเมา (ก็ดี) สภาพที่ประมาทด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้ปล่อยปละละเลย
(ก็ดี) ก็มีอาการอย่างนี้ มีชาติอย่างนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า มีความประมาท.
แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ความประมาทนี้ มีการสละสติในเพราะกามคุณ 5 เป็น
ลักษณะ (เป็นเหตุ). บัณฑิต พึงทราบความประมาทนั้นนั้นแหละว่า เป็น
อาการสละสติ ดังนี้.

ถัมภนิทเทส


อธิบายความหัวดื้อ


ชื่อว่า ความหัวดื้อ เพราะอรรถว่า กระด้าง. ความกระด้างของจิต
ราวกะผ้าเนื้อหยาบแข็งกระด้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นี้ อาการแห่ง
ความหัวดื้อ เรียกว่า กิริยาที่หัวดื้อ. ความเป็นสภาพที่ดื้อแล้ว ชื่อว่า สภาพ
หัวดื้อ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้กักขฬะ ชื่อว่า กกฺขลิยํ (แปลว่า แข็งกระด้าง).
ความเป็นแห่งบุคคลผู้หยาบช้า ชื่อว่า ผารุสิยํ (แปลว่า ความหยาบคาย)
ความเป็นแห่งจิตอันถือรั้นนั่นแหละด้วยสามารถแห่งการไม่ทำความอ่อนน้อม
นั้น แก่บุคคลผู้ควรอ่อนน้อมมีการอภิวาทเป็นต้น ชื่อว่า อุชุจิตตฺตา ความ
เป็นผู้มีจิตถือรั้น. ความเป็นแห่งความกระด้าง ไม่เป็นธรรมชาติอ่อน ชื่อว่า
อมุทุตา ความเป็นผู้ไม่อ่อนโยน. คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ถมฺภ ความหัวดื้อ. อธิบายว่า บุคคลประกอบด้วยความหัวดื้อ
อันใด ผู้เป็นเช่นกับงูเหลือมซึ่งกินเหยื่อแล้วก็นอนงอศีรษะดังงอนไถ ฉะนั้น.

ครั้นเห็นพระเจดีย์ หรือบุคคลผู้เจริญกว่า ก็ไม่นอบน้อม ย่อมประพฤติ
เคร่งครัด เป็นราวกะถุงลมอันเต็มด้วยลม บุคคลนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
มีความพองขึ้นแห่งจิตเป็นลักษณะ.

สารัมภนิทเทส


อธิบายความแข่งดี


ชื่อว่า ความแข่งดี (สารัมภะ) ด้วยสามารถแห่งการฉุนเฉียว. ความ
แข่งดีแผ่ออกไป ชื่อว่า ความแข่งขึ้นหน้า (ปฏิสารัมภะ). อาการที่แข่งดี
ชื่อว่า กิริยาที่แข่งดี. กิริยาที่แข่งดีแผ่ออกไป ชื่อว่า กิริยาที่แข่งดีขึ้นหน้า
ความเป็นแห่งบุคคลแข่งดีแผ่ไปแล้ว ชื่อว่า สภาพความแข่งดีขึ้นหน้า คำว่า
อยํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า บุคคลนี้ ชื่อว่า มีความแข่งดี
ว่าโดยลักษณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกบุคคลนั้นว่า มีสิ่งเปรียบด้วยการ
การทำเกินเป็นลักษณะ. คือว่า บุคคลใดประกอบด้วยสิ่งใด บุคคลผู้แข่งดีนั้น
ย่อมกระทำสิ่งนั้น ๆ ให้เป็นสองเท่า. เช่น ผู้ครองเรือน บุคคลอื่นตกแต่ง
หรือตระเตรียมสิ่งของภายในบ้านด้วยวัตถุเพียงหนึ่งอย่าง บุคคลผู้แข่งดีย่อม
จัดแจงสิ่งนี้นัยสองอย่าง ผู้แข่งดีคนอื่นอีกย่อมจัดแจงสิ่งนั้นเป็นสี่ ผู้อื่นอีกย่อม
จัดแจงเป็นแปด ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมจัดแจงเป็น 16.
ผู้ไม่ครองเรือน (สมณะ) ผู้มีการแข่งดีมีอยู่ เมื่อผู้หนึ่งเรียนพระพุทธ-
พจน์นิกายหนึ่งด้วยสูตรหนึ่ง ผู้แข่งดีคนอื่นย่อมคิดว่า เราจักเป็นผู้ล้าหลังผู้นั้น
ดังนี้ จึงเรียน 2 นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมเรียนเอา 3 นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีก
ย่อมเรียน 4 นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมเรียนพระพุทธพจน์ 5 นิกาย. ก็การเรียน
พระพุทธพจน์นั้น ไม่ควรด้วยสามารถแห่งความแข่งดี. เพราะว่าความแข่งดี