เมนู

ขอบเขตแห่งปริยายโดยอรรถ และโดยพยัญชนะ. คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอธิบายไว้ว่า ความประมาทนี้ใด ที่แสดงแล้วแต่ต้น ความประมาทอันใด
แม้อื่นก็มีอาการอย่างนี้ มีชาติอย่างนี้ กิริยาที่ประมาทด้วยสามารถแห่งอาการ
ที่มัวเมา (ก็ดี) สภาพที่ประมาทด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้ปล่อยปละละเลย
(ก็ดี) ก็มีอาการอย่างนี้ มีชาติอย่างนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า มีความประมาท.
แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ความประมาทนี้ มีการสละสติในเพราะกามคุณ 5 เป็น
ลักษณะ (เป็นเหตุ). บัณฑิต พึงทราบความประมาทนั้นนั้นแหละว่า เป็น
อาการสละสติ ดังนี้.

ถัมภนิทเทส


อธิบายความหัวดื้อ


ชื่อว่า ความหัวดื้อ เพราะอรรถว่า กระด้าง. ความกระด้างของจิต
ราวกะผ้าเนื้อหยาบแข็งกระด้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นี้ อาการแห่ง
ความหัวดื้อ เรียกว่า กิริยาที่หัวดื้อ. ความเป็นสภาพที่ดื้อแล้ว ชื่อว่า สภาพ
หัวดื้อ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้กักขฬะ ชื่อว่า กกฺขลิยํ (แปลว่า แข็งกระด้าง).
ความเป็นแห่งบุคคลผู้หยาบช้า ชื่อว่า ผารุสิยํ (แปลว่า ความหยาบคาย)
ความเป็นแห่งจิตอันถือรั้นนั่นแหละด้วยสามารถแห่งการไม่ทำความอ่อนน้อม
นั้น แก่บุคคลผู้ควรอ่อนน้อมมีการอภิวาทเป็นต้น ชื่อว่า อุชุจิตตฺตา ความ
เป็นผู้มีจิตถือรั้น. ความเป็นแห่งความกระด้าง ไม่เป็นธรรมชาติอ่อน ชื่อว่า
อมุทุตา ความเป็นผู้ไม่อ่อนโยน. คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ถมฺภ ความหัวดื้อ. อธิบายว่า บุคคลประกอบด้วยความหัวดื้อ
อันใด ผู้เป็นเช่นกับงูเหลือมซึ่งกินเหยื่อแล้วก็นอนงอศีรษะดังงอนไถ ฉะนั้น.