เมนู

ว่าด้วยความมัวเมาในศีล


มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้น
เรา) เป็นผู้ทุศีล ส่วนเราเป็นผู้มีศีล ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในศีล.

ว่าด้วยความมัวเมาในฌาน


มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้น
เรา) ไม่มีเอกัคคตาจิต (สมาธิ) ในกาลแม้สักว่าเพียงการดื่มน้ำของไก่
ส่วนเราได้อุปจารสมาธิหรืออัปปนาฌาน ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในฌาน.

ว่าด้วยความมัวเมาในศีลปะ


มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (นอก
จากเรา). ไม่มีศิลปะ แต่เรามีศิลปะ ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาใน
ศิลปะ.


ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงสูง


มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้น
เรา) มีทรวดทรงเตี้ย แต่เรามีทรวดทรงสูง ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมา
ในความมีทรวดทรงสูง.


ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด


มานะที่อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ
(เว้นเรา) มีทรวดทรงเตี้ยไป สูงไป แต่เรามีทรวดทรงเรียบร้อยพอดีดุจต้น
นิโครธ ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด.

ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม


มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า รูปร่างทรวดทรงของ
สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้นเรา) มีรูปร่างแปลก ไม่น่าชม แต่เรามีรูปร่าง
น่าปลื้มใจ น่าเลื่อมใส ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรง
งาม.


ว่าด้วยความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์


มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย
ที่เหลือ (เว้นเรา) มีโทษมาก แต่ของเราไม่มีโทษแม้สักเท่าปลายเส้นผม
ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสมานะ (ความถือตัว) อันเป็นไปกับ
ด้วยวัตถุ (สวัตถุกะ) ด้วยฐานะนี้มีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง
มานะอันไม่มีวัตถุ (อวัตถุกะ) อันกำลังเกิดขึ้นนั่นแหละ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
ตตฺถ กตฺโม มโท (แปลว่า ในคำเหล่านั้น ความมัวเมา เป็นไฉน) คำนั้น
มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

ปมาทนิทเทส


อธิบายความประมาท


คำว่า จิตฺตสฺส โวสฺสคฺโค (แปลว่า การปล่อยจิต) ได้แก่ การ
ปล่อยจิต เพราะความไม่ข่มไว้ด้วยสติ ในฐานะทั้งหลายเหล่านี้ มีประมาณ
เท่านี้ อธิบายว่า เว้นจากสติ. คำว่า โวสฺสคฺคานุปฺปทานํ แปลว่า การ
เพิ่มพูนการปล่อยจิตไป คือ การปล่อยจิตไปบ่อย ๆ. คำว่า อสกฺกจฺจกิริยตา