เมนู

3. ความเห็นว่า โลกมีที่สุด
4. ความเห็นว่า โลกไม่มีที่สุด
5. ความเห็นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
6. ความเห็นว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น
7. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก
8. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก
9. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่
เกิดอีกก็มี
10. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้
ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้
นี้เรียกว่า อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ 10.

อัฏฐารสกนิทเทส


[1033] ในมาติกานั้น ตัณหาวิจริต 18 อาศัยเบญจขันธ์ภาย
ใน
เป็นไฉน ?
ตัณหาว่าเรามี ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มี
ตัณหาว่าเราเป็นอย่างนั้น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราเป็นโดยประการอื่น ดังนี้
ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็นโดยประการนี้ ดังนี้
ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็นอย่างนั้น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็นโดยประการอื่น
ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราแน่นอน ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราไม่แน่นอน ดังนี้ ก็มี
ตัณหาว่าเราพึงเป็น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มี
ตัณหาว่าเราพึงเป็นอย่างนั้น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการอื่น ดังนี้

ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นบ้าง ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง
ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็น
โดยประการอื่นบ้าง ดังนี้ ก็มี.
[1034] ก็ตัณหาว่า เรามี คืออย่างไร ?
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เรามี ได้มานะว่า เรามี ได้ทิฏฐิว่า
เรามี เมื่อธรรมทั้ง 3 นั้น มีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราเป็นโดย
ประการนี้ หรือเราเป็นอย่างนั้น หรือเราเป็นโดยประการอื่น ก็ย่อมมี.
[1035] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ หรือเป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ หรือ
เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ หรือเป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์ มีรูป
หรือไม่มีรูปมีสัญญา หรือไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้.
[1036] ก็ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราก็เป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็เป็นพราหมณ์เหมือน
กัน หรือเขาเป็นแพศย์ เราก็เป็นแพศย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นศูทร เราก็
เป็นศูทรเหมือนกัน หรือเขาเป็นคฤหัสถ์ เราก็เป็นคฤหัสถ์เหมือนกัน หรือ
เขาเป็นบรรพชิต เราก็เป็นบรรพชิตเหมือนกัน หรือเขาเป็นเทวดา เราก็เป็น
เทวดาเหมือนกัน หรือเขาเป็นมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน หรือเขามี
รูป เราก็มีรูปเหมือนกัน หรือเขาไม่มีรูป เราก็ไม่มีรูปเหมือนกัน หรือเขา
มีสัญญา เราก็มีสัญญาเหมือนกัน หรือเขาไม่มีสัญญา เราก็ไม่มีสัญญาเหมือน

กัน หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี
สัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น.
[1037] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราไม่ได้เป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่ได้เป็นพราหมณ์
เหมือนเขา หรือเขาเป็นแพศย์ เราไม่ได้เป็นแพศย์เหมือนเขา หรือเขาเป็น
ศูทร เราไม่ได้เป็นศูทรเหมือนเขา หรือเขาเป็นคฤหัสถ์ เราไม่ได้เป็นคฤหัสถ์
เหมือนเขา หรือเขาเป็นบรรพชิต เราไม่ได้เป็นบรรพชิตเหมือนเขา หรือเขา
เป็นเทวดา เราไม่ได้เป็นเทวดาเหมือนเขา หรือเขาเป็นมนุษย์ เราไม่ได้เป็น
มนุษย์เหมือนเขา หรือเขามีรูป เราไม่มีรูปเหมือนเขา หรือเขาไม่มีรูป เรา
มิใช่ไม่มีรูปเหมือนเขา หรือเขามีสัญญา เราไม่ใช่มีสัญญาเหมือนเขา หรือเขา
ไม่มีสัญญา เราไม่ใช่ไม่มีสัญญาเหมือนเขา หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี
สัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่ใช่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้
ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น.
[1038] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็น คืออย่างไร ?
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราจักเป็น ได้มานะว่า เราจักเป็น
ได้ทิฏฐิว่า เราจักเป็น เมื่อธรรมทั้ง 3 นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่า
นี้ว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ หรือเราจักเป็นอย่างนั้น หรือเราจัก
เป็นโดยประการอื่น
ก็ย่อมมี.
[1039] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ หรือจักเป็นพราหมณ์ จักเป็น
แพศย์ หรือจักเป็นศูทร จักเป็นคฤหัสถ์ หรือจักเป็นบรรพชิต จักเป็นเทวดา

หรือจักเป็นมนุษย์ จักมีรูป หรือจักไม่มีรูป จักมีสัญญา หรือจักไม่มีสัญญา
หรือจักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจัก
เป็นโดยประการนี้.

[1040] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราก็จักเป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็น
พราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็
จักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาที่
เราจักเป็นอย่างนั้น.

[1041] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราจักไม่ได้เป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราจักไม่ได้เป็น
พราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราจัก
ไม่เป็นผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า
เราจักเป็นโดยประการอื่น.

[1042] ก็ตัณหาว่า เราแน่นอน คืออย่างไร ?
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน เราแน่นอน เรา
ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราแน่นอน.
[1043] ก็ตัณหาว่า เราไม่แน่นอน คืออย่างไร ?
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ เราจักพินาศ เราจักไม่
มี อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราไม่แน่นอน.

[1044] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็น คืออย่างไร ?
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็น ได้มานะว่า เราพึงเป็น
ได้ทิฏฐิว่า เราพึงเป็น เมื่อธรรมทั้ง 3 นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่า
นี้ว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ หรือเราพึงเป็นอย่างนั้น หรือเราพึง
เป็นไปโดยประการอื่น
ก็ย่อมมี.
[1045] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ หรือพึงเป็นพราหมณ์ พึงเป็น
แพศย์ หรือพึงเป็นศูทร พึงเป็นคฤหัสถ์ หรือพึงเป็นบรรพชิต พึงเป็นเทวดา
หรือพึงเป็นมนุษย์ พึงมีรูป หรือพึงไม่มีรูป พึงมีสัญญา หรือพึงไม่มีสัญญา
หรือพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึง
เป็นโดยประการนี้.

[1046] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราก็พึงเป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์
เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญา
ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็น
อย่างนั้น.

[1047] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราไม่พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่พึงเป็น
พราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่

พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า
เราพึงเป็นโดยประการอื่น.

[1048] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นบ้าง คืออย่างไร ?
คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราก็พึงเป็นบ้าง ได้มานะว่า เราก็พึง
เป็นบ้าง ได้ทิฏฐิว่า เราก็พึงเป็นบ้าง เมื่อธรรมทั้ง 3 นั้นมีอยู่ ธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้าเหล่านั้นว่า เราก็พึงเป็นโดยประการนี้บ้าง หรือพึงเป็นอย่าง
นั้นบ้าง หรือพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง
ก็ย่อมมี.
[1049] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาว่า เราก็พึงเป็นกษัตริย์บ้าง หรือพึงเป็นพราหมณ์บ้าง
พึงเป็นแพศย์บ้าง หรือพึงเป็นศูทรบ้าง พึงเป็นคฤหัสถ์บ้าง หรือพึงเป็น
บรรพชิตบ้าง พึงเป็นเทวดาบ้าง หรือพึงเป็นมนุษย์บ้าง พึงมีรูปบ้าง หรือ
พึงไม่มีรูปบ้าง พึงมีสัญญาบ้าง หรือพึงไม่มีสัญญาบ้าง หรือพึงมีสัญญาก็ไม่
ใช้ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่บ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการ
นี้บ้าง.

[1050] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราก็พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขาบ้าง หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็น
พราหมณ์เหมือนเขาบ้าง ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
เราพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหา
ว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง.

[1051] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง คือ
อย่างไร ?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราก็พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขาบ้างก็หาไม่ หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็น
พราหมณ์เหมือนเขาบ้างก็หาไม่ ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่
ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขาบ้างก็หาไม่อย่าง
นี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง.
เหล่านี้ชื่อว่า ตัณหาวิจริต 18 อาศัยเบญจขันธ์ภายใน.
[1052] ตัณหาวิจริต 18 อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก เป็นไฉน ?
ตัณหาว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราเป็นโดย
ประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราจักเป็นโดย
ประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราจัก เป็นอย่างนั้นด้วยรูป
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราแน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เรา
ไม่แน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ
นี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เรา
พึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วย
รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป. ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้บ้าง ตัณหาว่าเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
บ้างตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง.

[1053] ก็ตัณหาว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คือ
อย่างไร ?
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่า
เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ
นี้ เมื่อธรรมทั้ง 3 นั้นมีอยู่ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เรามีด้วยประการ
นี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ
นี้ หรือเราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ก็ย่อมมี.
[1054] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญาณนี้
คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ
เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ หรือเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็น
เทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ
นี้ มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญาณนี้
มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือไม่มีสัญญาณด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ หรือมีสัญญาณก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาณก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้.

[1055] ก็ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้
คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราก็เป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์
เราก็เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ เขามีสัญญา
ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยรูป
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น
ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[1056] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้
คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราไม่เป็นกษัตริย์เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเขาเป็น
พราหมณ์ เราไม่เป็นพราหมณ์เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เรามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี
สัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็หามิได้ อย่างนี้ชื่อ
ว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[1057] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ
นี้ คืออย่างไร ?
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ได้มานะว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เราจักเป็น
ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อธรรมทั้ง 3 นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่อง
เนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ
เราจักเป็นอย่างนั้น ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราจักเป็นโดยประการ
อื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญาณนี้ ก็ย่อมมี.

[1058] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้
คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ
จักเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นคฤหัสถ์
ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ จักเป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นมนุษย์
ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักมีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
หรือจักไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักมีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ หรือจักไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักมีสัญญา
ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า
ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[1059] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น ด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้
คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราก็จักเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณที่เหมือนกัน หรือเขาเป็น
พราหมณ์ เราก็จักเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ
หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็จักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี
สัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหา
ว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[1060] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้
คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราจักไม่เป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา หรือเขาเป็น
พราหมณ์ เราจักไม่เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา
ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราจักมีสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาก็หามิได้ อย่างนี้
ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้.

[1061] ก็ตัณหาว่า เราแน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ
นี้
คืออย่างไร ?
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน เราแน่นอน
เราไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้
ชื่อว่า ตัณหาว่า เราแน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.
[1062] ก็ตัณหาว่า เราไม่แน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้
คืออย่างไร ?
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ เราจักพินาศ เราจัก
ไม่มี ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราไม่แน่
นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[1063] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ
นี้
คืออย่างไร ?

คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ ได้มานะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิ
ว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อธรรมทั้ง 3 นั้นมีอยู่ ธรรม
เครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
หรือเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราพึงเป็นโดย
ประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ก็ย่อมมี.
[1064] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้
คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ
พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นคฤหัสถ์
ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ พึงเป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นมนุษย์
ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นผู้มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
หรือพึงเป็นผู้ไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นผู้มีสัญญาด้วยรูป
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ
นี้ หรือพึงเป็นผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[1065] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้
คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้น เพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราก็พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน หรือเขาเป็น
พราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน
ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มี
สัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า เราพึง
เป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[1066] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้
คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราไม่พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณเหมือนเขา หรือเขาเป็น
พราหมณ์ เราไม่พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา
ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่
มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหา
ว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[1067] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ
นี้บ้าง
คืออย่างไร ?
คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ
นี้บ้าง ได้มานะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ได้ทิฏฐิว่า
เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เมื่อธรรมทั้ง 3 นั้นมีอยู่ ธรรม
เครื่องเนิ่นช้าว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
หรือเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือเราพึงเป็น
โดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ก็ย่อมมี.

[1068] ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้บ้าง
คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญาณนี้บ้าง
หรือพึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงเป็นแพศย์ด้วย
รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ
นี้บ้าง เราพึงเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็น
บรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงเป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
เราพึงมีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงมีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือ
พึงไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มี
สัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า
เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[1069] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้บ้าง
คืออย่างไร ?
คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราก็พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน หรือเขาเป็น
พราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน
ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มี
สัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง.
[7070] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้บ้าง
คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์
เราไม่พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือเขา
เป็นพราหมณ์เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
บ้าง ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่พึงมีสัญญาก็ไม่
ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างอย่างนี้
ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญาณ
นี้บ้าง.

เหล่านี้ชื่อว่า ตัณหาวิจริต 18 อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก.
[1071] ตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายใน 18 เหล่านี้ ตัณหา-
วิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายนอก 18 เหล่านี้ ประมวลเข้าด้วยกันเป็นตัณหา-
วิจริต 36.

ตัณหาวิจริตดังกล่าวนี้เป็นอดีตกาล 36 เป็นอนาคตกาล 36 เป็น
ปัจจุบันกาล 36 ประมวลเข้ากันเป็นตัณหาวิจริต 108.
[1072] ในมาติกานั้น ทิฏฐิ 62 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ในพรหมชาลสูตร
เป็นไฉน ?
คือ สัสสตวาทะ 4 เอกัจจสัสสติกวาทะ 4 อันตานันติกวาทะ 4
อมราวิกเขปิกวาทะ 4 อธิจจสมุปปันนิกวาทะ 2 สัญญีวาทะ 16 อสัญญีวาทะ
8 เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ 8 อุจเฉทวาทะ 7 ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ 5 ทิฏฐิ
62 เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร ด้วยประการฉะนี้.
ขุททกวัตถุวิภังค์ จบ

อรรถกถาขุททกวัตถุวิภังค์


การกำหนดบทมาติกา


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งปฐมมาติกาแม้ในขุททกวัตถุวิภังค์
อันเป็นลำดับแห่งญาณวิภังค์นั้น แล้วทรงทำคำอธิบาย โดยลำดับแห่งบทที่
พระองค์ทรงตั้งไว้.

กำหนดแม่บท (มาติกา]) ในขุททกวิภังค์


ธรรมหมวดที่หนึ่ง (เอกกมาติกา) พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งไว้
73 บท มีคำว่า ความมัวเมาในชาติ เป็นต้นก่อน ต่อจากนั้น ทรงตั้ง
ธรรมหมวดสอง (ทุกมาติกา) 18 บท มีคำว่า ความโกรธ และความ
ผูกโกรธ
เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดสาม (ติกมาติกา) 35 บท มีคำว่า
อกุศลมูล 3 เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดสี่ (จตุกกมาติกา) 14 บท มี
อาสวะ 4 เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดห้า (ปัญจกมาติกา) 15 บท มีคำว่า
โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดหก (ฉักกมาติกา) 14
บท มีคำว่า วิวาทมูล 6 เป็นต้น . ทรงตั้งธรรมหมวดเจ็ด (สัตตกมาติกา)
7 บท มีอนุสัย 7 เป็นต้น ทรงตั้งธรรมหมวดแปด (อัฏฐกมาติกา) 8 บท
มีกิเลสวัตถุ 8 เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดเก้า (นวกมาติกา) 9 บท มี
อาฆาตวัตถุ 9 เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดสิบ (ทสกมาติกา) 7 บท มี
กิเลสวัตถุ 10 เป็นต้น. และพึงทราบว่า ทรงตั้งตัณหาวิจริต 18 มีคำว่า
ตัณหาวิจริต* อาศัยอายตนะภายใน 18 และอาศัยอายตนะภายนอก 18
ประมวลเข้าด้วยกันเป็น 36 เป็นต้น (ตัณหา 36 * กาล 3 = 108) ดังนี้.
นี้เป็นการกำหนดบทมาติกา ก่อน.

* ในบาลีนิทเทส กล่าวว่า ตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายใน 18 ภายนอก 18...