เมนู

8. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตามีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มี
ที่สุด ก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มี
สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

เหล่านี้เรียกว่า เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ 8.

นวกนิทเทส


[1020] ในนวกมาติกาเหล่านั้น อาฆาตวัตถุ 9 เป็นไฉน ?
อาฆาตวัตถุ 9 คือ
1. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสีย
แก่เราแล้ว

2. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสีย
แก่เรา

3. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักกระทำความเสื่อมเสีย
แก่เรา

4. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสีย
แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเราแล้ว

5. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่
คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา

6. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักกระทำความเสื่อมเสีย
แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา

7. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำประโยชน์แก่คน
ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว

8. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คน
ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
9. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่
เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
เหล่านี้เรียกว่า อาฆาตวัตถุ 9.
[1021] ปุริสมละ 9 เป็นไฉน ?
ปุริสมละ 9 คือ
1. โกธะ ความโกรธ
2. มักขะ ควานลบหลู่คุณท่าน
3. อิสสา ความริษยา
4. มัจฉริยะ ความตระหนี่
5. มายา ความเจ้าเล่ห์
6. สาเถยยะ ความโอ้อวด
7. มุสาวาท พูดเท็จ
8. ปาปิจฉา ความปรารถนาลามก
9. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด
เหล่านี้เรียกว่า ปุริสมละ 9.
[1022] มานะ 9 เป็นไฉน ?
มานะ 9 คือ
1. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
2. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา
3. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา

4. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
5. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา
6. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา
7. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
8. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา
9. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา
เหล่านี้เรียกว่า มานะ 9.
[1023] ตัณหามูลกธรรม 9 เป็นไฉน ?
ตัณหามูลกธรรม 9 คือ
1. เพราะอาศัยตัณหา จึงเกิดการแสวงหา
2. เพราะอาศัยการแสวงหา จึงเกิดการได้
3. เพราะอาศัยการได้ จึงเกิดการวินิจฉัย
4. เพราะอาศัยการวินิจฉัย จึงเกิดฉันทราคะ
5. เพราะอาศัยฉันทราคะ จึงเกิดความยึดถือ
6. เพราะอาศัยความยึดถือ จึงเกิดการหวงแหน
7. เพราะอาศัยการหวงแหน จึงเกิดความตระหนี่
8. เพราะอาศัยความตระหนี จึงเกิดการรักษา
9. เพราะอาศัยการรักษา จึงเกิดบาปอกุศลธรรม หลายประการ คือ
การจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ การโต้เถียง การวิวาท การ
พูดขึ้นมึงกู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จ
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหามูลกธรรม 9.

[1024] อิญชิตะ 9 เป็นไฉน ?
อิญชิตะ 9 คือ
1. ความหวั่นไหวว่า มีเรา
2. ความหวั่นไหวว่า เป็นเรา
3. ความหวั่นไหวว่า นี้เป็นเรา
4. ความหวั่นไหวว่า เราจักมี
5. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป
6. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป
7. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา
8. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
9. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา
ก็ไม่ใช่
เหล่านี้เรียกว่า อิญชิตะ 9.
[1025] มัญญิตะ 9 ผันทิตะ 9 ปปัญจิตะ 9 สังขตะ 9 เป็น
ไฉน ?
สังขตะ 9 คือ
1. ความปรุงแต่งว่า เรามี
2. ความปรุงแต่งว่า เป็นเรา
3. ความปรุงแต่งว่า นี้เป็นเรา
4. ความปรุงแต่งว่า เราจักมี
5. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป
6. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป

7. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา
8. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
9. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็
ไม่ใช่
เหล่านี้เรียกว่า สังขตะ 9.

ทสกนิทเทส


[1026] ในทสกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ 10 เป็นไฉน ?
กิเลสวัตถุ 10 คือ
โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ
อโนตตัปปะ
เหล่านี้เรียกว่า กิเลสวัตถุ 10.
[1027] อาฆาตวัตถุ 10 เป็นไฉน ?
อาฆาตวัตถุ 10 คือ
1. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เราแล้ว
2. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา
3. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา
4. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้
เป็นที่รักที่ชอบพอของเราแล้ว
5. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้
เป็นที่รักเป็นที่ชอบพอของเรา
6. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้
เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา