เมนู

ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความ
ท้อแท้ ความถดถอย ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน สภาพที่ย่อหย่อน
ความซบเซา กิริยาที่ซบเซา สภาพที่ซบเซาแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า เจตโส-
ลีนัตตะ ความย่อหย่อนแห่งจิต.

จตุกกนิทเทส


[961] ในจตุกกมาติกาเหล่านั้น อาสวะ 4 เป็นไฉน ?
กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.
บรรดาอาสวะ 4 นั้น กามาสวะ เป็นไฉน ?
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า
กามาสวะ.
ภวาสวะ เป็นไฉน ?
ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า
ภวาสวะ.
ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน ?
ความเห็นว่าโลกเที่ยง ฯลฯ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว
จะเกิดอีกก็หามิได้ จะไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ
ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ
มิจฉาทิฏฐิ แม้ทั้งหมดก็เรียกว่า ทิฏฐอาสวะ.
อวิชชาสวะ เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชาสวะ
เหล่านี้เรียกว่า อาสวะ 4.

[962] คันถะ 4 เป็นไฉน ?
อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ สีลัพพตปรามาสกายคันถะ
อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.
บรรดาคันถะ 4 นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความเพ่งเล็งก็จะเอาทรัพย์
สมบัติของผู้อื่น อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌากายคันถะ.
พยาปาทกายคันถะ เป็นไฉน ?
ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เราแล้ว
ฯลฯ ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า
พยาปาทกายคันถะ.
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นไฉน ?
สมณพราหมณ์ภายนอกศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ ย่อม
มีได้ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยศีลและวัตร ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ
ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพต-
ปรมาสกายคันถะ.

อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน ?
ความเห็นว่าโลกเที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นไม่จริง ความเห็นว่า
โลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นไม่จริง ฯลฯ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้วจะเกิดอีกก็หามิได้ จะไม่เกิดอีกก็หามิได้ นี้แหละจริง อย่างอื่น
ไม่จริง ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ยกเว้นสีลัพพต-
ปรามาสกายคันถะ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกาย-
คันถะ.

เหล่านี้เรียกว่า คันถะ 4.
[963] โอฆะ 4 ฯลฯ โยคะ 4 ฯลฯ อุปาทาน 4 เป็นไฉน ?
กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน.
บรรดาอุปาทาน 4 นั้น กามุปาทาน เป็นไฉน ?
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า
กามุปาทาน.
ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาพระรัตนตรัยไม่มี
ผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ผู้ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นแจ้งประจักษ์ซึ่ง
โลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ทิฏฐิ
ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน. ยกเว้นสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทาน มิจฉา-
ทิฏฐิแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน.
สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน ?
สมณพราหมณ์ภายนอกศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อม
มีได้ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยศีลและวัตร ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ
ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพ-
ตุปาทาน.

อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน ?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาด
ในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่
ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรม

ของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตน
ในรูป ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็น
สังขารเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็น
วิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การ
ถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน
เหล่านี้เรียกว่า อุปาทาน 4.
[964] ตัณหุปาทา 4 เป็นไฉน ?
ตัณหาเมื่อจะเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุบ้าง ตัณหา
เมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุบ้าง ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่
ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเสนาสนะเป็นเหตุบ้าง ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อม
เกิดเพราะปัจจัยดังกล่าวมานี้อันประณีตและประณีตยิ่งเป็นเหตุบ้าง
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหุปาทา 4.
[965] อคติคมนะ 4 เป็นไฉน ?
บุคคลย่อมลำเอียงเพราะรักใคร่กัน ย่อมลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน ย่อม
ลำเอียงเพราะเขลา ย่อมลำเอียงเพราะกลัว ความลำเอียง การถึงความลำเอียง
การลำเอียงเพราะรักใคร่กัน การลำเอียงเพราะเป็นพวกพ้องกัน ความหันเห
ไปเหมือนน้ำไหล อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้
เหล่านี้เรียกว่า อคติคมนะ 4.
[966] วิปริเยสะ 4 เป็นไฉน ?
ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจสัญญา ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจจิต ความ
เข้าใจผิดด้วยอำนาจทิฏฐิ ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจ
สัญญา ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจจิต ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจทิฏฐิ ในสิ่งที่

เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจสัญญา ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจ
จิต ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจทิฏฐิ ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาตัวตนว่าเป็นอัตตาตัว
ตน ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจสัญญา ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจจิต ความ
เข้าใจผิดด้วยอำนาจทิฏฐิในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
เหล่านี้เรียกว่า วิปริเยสะ 4.
[967] อนริยโวหาร 4 เป็นไฉน ?
เมื่อไม่เห็น พูดว่าเห็น เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่าได้ยิน เมื่อไม่รู้ พูด
ว่ารู้ เมื่อไม่รู้แจ้ง พูดว่ารู้แจ้ง
เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร 4.
[968] อนริยโวหาร 4 อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?
เมื่อเห็น พูดว่าไม่เห็น เมื่อได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน เมื่อรู้ พูดว่า
ไม่รู้ เมื่อรู้แจ้ง พูดว่าไม่รู้แจ้ง
เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร 4.
[969] ทุจริต 4 เป็นไฉน ?
ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท
เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต 4.
[970] ทุจริต 4 อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?
มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ
เหล่านี้ เรียกว่า ทุจริต 4.
[971] ภัย 4 เป็นไฉน ?
ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย
เหล่านี้เรียกว่า ภัย 4.

[972] ภัย 4 อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?
ราชภัย โจรภัย อุทกภัย อัคคีภัย
เหล่านี้เรียกว่า ภัย 4.
[973] ภัย 4 อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?
ภัยเกิดแต่คลื่น ภัยเกิดแต่จรเข้ ภัยเกิดแต่วังวน ภัยเกิดแต่ปลาร้าย
เหล่านี้เรียกว่า ภัย 4.
[974] ภัย 4 อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?
ภัยเกิดแต่การค่อนขอดตัวเอง ภัยเกิดแต่การค่อนขอดผู้อื่น ภัยเกิด
แต่อาชญา ภัยเกิดแต่อบาย
เหล่านี้เรียกว่า ภัย 4.
[975] ทิฏฐิ 4 เป็นไฉน
ทิฏฐิเกิดขึ้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า สุขทุกข์ตนทำเอง ทิฏฐิเกิดขึ้นโดย
แน่แท้มั่นคงว่า สุขทุกข์คนอื่นกระทำให้ ทิฏฐิเกิดขึ้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า สุข
ทุกข์ตนทำเองด้วย คนอื่นทำให้ด้วย ทิฏฐิเกิดขึ้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า สุขทุกข์
ตนไม่ได้ทำเองด้วย คนอื่นไม่ได้ทำให้ด้วย แต่เกิดขึ้นเองโดยเฉพาะ
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ 4.

ปัญจกนิทเทส


[976] ในปัญจกมาติกาเหล่านั้น โอรัมภาคิยสัญโญชน์ 5 เป็น
ไฉน ?
โอรัมภาคิยสัญโญชน์ 5 คือ
1. สักกายทิฏฐิ
2. วิจิกิจฉา