เมนู

ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ
สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญา
อันยิ่งด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความ
เห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ. มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ก็
เรียกว่า ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ.
[925] อัชฌัตตสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายใน เป็นไฉน ?
สัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 จัดเป็นอัชฌัตตสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายใน
สัญโญชน์เบื้องสูง 5 จัดเป็นพหิทธาสัญโญชนะ สญโญชน์ภายนอก.

ติกนิทเทส


[926] ในติกมาติกาเหล่านั้น อกุศลมูล 3 เป็นไฉน ?
โลภะ โทสะ โมหะ.
บรรดาอกุศลมูล 3 นั้น โลภะ เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก
แห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่
ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรม-
ชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด
ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติ
เหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็น

เพื่อนสอง ปณิธิ (การตั้งความปรารถนา) ธรรมชาตินำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า
ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง
กิริยาที่หวัง สภาพที่หวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความ
หวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร
ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบ
ยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ สภาพที่กระซิบ การละโมภ กิริยาที่ละโมภ
สภาพที่ละโมภ ธรรมชาติที่เป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดี ๆ ความ
กำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ
ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ (คือ ราคะ
ที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ) รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์
นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือน
เถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์
แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือน
แม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ.
โทสะ เป็นไฉน ?
ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา
แล้ว ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา
ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา, ความอาฆาต
ย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา

แล้ว, ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้
เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความ
เสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา, ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า
ผู้นี้ได้ทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว, ความ
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเจริญแก่ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่
ชอบพอของเรา ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเจริญแก่คน
ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นในฐานะ
อันมิใช่เหตุ. ความอาฆาตแห่งจิต การกระทบกระทั่ง ความกระทบกระทั่ง
ความยินร้าย ความขุ่นเคือง การขุ่นเคือง ความขุ่นเคืองอย่างแรง ความคิด
ประทุษร้าย การมุ่งคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความพยาบาท
แห่งจิต ความคิดประทุษร้ายทางใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่โกรธ
ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย สภาพที่คิดปองร้าย การยินร้าย ความยินร้าย
ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตอันใด มีลักษณะเช่น
ว่า นี้เรียกว่า โทสะ.
โมหะ เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ
ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ใน
ส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในธรรม
อันเป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่
เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความ
ไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความ

ไม่พินิจ ความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา
ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา
โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่ม
คืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โมหะ.
เหล่านี้เรียกว่า อกุศลมูล 3
[927] อกุศลวิตก 3 เป็นไฉน ?
กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
บรรดาวิตก 3 นั้น กามวิตก เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วย
กามนี้เรียกว่า กามวิตก.
พยาบาทวิตก เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วย
ความพยาบาท นี้เรียกว่า พยาบาทวิตก.
วิหิงสาวิตก เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วย
ความเบียดเบียน นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก.
เหล่านั้นเรียกว่า อกุศลวิตก 3.
[928] อกุศลสัญญา 3 เป็นไฉน ?
กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา
บรรดาสัญญา 3 นั้น กามสัญญา เป็นไฉน ?
ความจำ กิริยาที่จำ สภาพที่จำ อันเกี่ยวด้วยกาม นี้เรียกว่า กาม
สัญญา.

พยาบาทสัญญา เป็นไฉน ?
ความจำ กิริยาที่จำ สภาพที่จำ เกี่ยวด้วยพยาบาท นี้เรียกว่า พยา-
บาทสัญญา.

วิหิงสาสัญญา เป็นไฉน ?
ความจำ กิริยาที่จำ สภาพที่จำ อันเดียวด้วยความเบียดเบียน นี้
เรียกว่า วิหิงสาสัญญา.
เหล่านั้นเรียกว่า อกุศลสัญญา 3.
[929] อกุศลธาตุ 3 เป็นไฉน ?
กามธาตุ พยาบาทธาตุ วิหิงสาธาตุ
บรรดาอกุศลธาตุ 3 นั้น กามธาตุ เป็นไฉน ?
กามวิตก จัดเป็นกามธาตุ พยาบาทวิตก จัดเป็นพยาบาทธาตุ
วิหิงสาวิตก จัดเป็นวิหิงสาธาตุ.
บรรดาวิตก 3 นั้น กามวิตก เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด, อันเกี่ยวด้วย
กามนี้เรียกว่า กามวิตก.
พยาบาทวิตก เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วย
ความพยาบาท นี้เรียกว่า พยาบาทวิตก.
วิหิงสาวิตก เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วย
ความเบียดเบียน นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก.
เหล่านี้เรียกว่า อกุศลธาตุ 3.

[930] ทุจริต 3 เป็นไฉน ?
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
บรรดาทุจริต 3 นั้น กายทุจริต เป็นไฉน ?
ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร นี้เรียกว่า กายทุจริต.
วจีทุจริต เป็นไฉน ?
มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ นี้เรียกว่า วจีทุจริต
มโนทุจริต เป็นไฉน ?
อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ นี้เรียกว่า มโนทุจริต.
กายทุจริต เป็นไฉน ?
กายกรรมฝ่ายอกุศล ชื่อว่า กายทุจริต
วจีกรรมฝ่ายอกุศล ชื่อว่า วจีทุจริต
มโนกรรมฝ่ายอกุศล ชื่อว่า มโนทุจริต
บรรดาทุจริต 3 นั้น กายกรรมฝ่ายอกุศล เป็นไฉน ?
กายสัญเจตนาฝ่ายอกุศล ชื่อว่า กายกรรมฝ่ายอกุศล
วจีสัญเจตนาฝ่ายอกุศล ชื่อว่า วจีกรรมฝ่ายอกุศล
มโนสัญเจตนาฝ่ายอกุศล ชื่อว่า มโนกรรมฝ่ายอกุศล
เหล่านั้นเรียกว่า ทุจริต 3.
[931] อาสวะ 3 เป็นไฉน ?
กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
บรรดาอาสวะ 3 นั้น กามาสวะ เป็นไฉน ?
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า
กามาสวะ.

ภวาสวะ เป็นไฉน ?
ความพอใจในภพ ฯลฯ ควานหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า
ภวาสวะ.
อวิชชาสวะ เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ โมหะ นี้เรียก
ว่า อวิชชาสวะ.
เหล่านี้เรียกว่า อาสวะ 3.
[932] สัญโญชน์ 3 เป็นไฉน ?
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
บรรดาสัญโญชน์ 3 เหล่านั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้
เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ
สัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขาร
เป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณ
ในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอา
โดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.
วิจิกิจฉา เป็นไฉน ?
ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา เคลือบแคลงสงสัยในพระ-
ธรรม เคลือบแคลงสงสัยในพระสงฆ์ เคลือบแคลงสงสัยในสิกขา เคลือบ-
แคลงสงสัยในส่วนอดีต เคลือบแคลงสงสัยในส่วนอนาคต เคลือบแคลงสงสัย

ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต เคลือบแคลงสงสัยในธรรมอันเป็นปัจจัยของกัน
และกัน และอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง
สภาพที่เคลือบแคลง ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ อันใด มี
ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.
สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ?
สมณพราหมณ์ภายนอกศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อม
มีได้ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยทั้งศีลและวัตร ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้าง
ทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
สีลัพพตปรามาส.
เหล่านั้นเรียกว่า สัญโญชน์ 3.
[933] ตัณหา 3 เป็นไฉน?
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
บรรดาตัณหา 3 นั้น ภวตัณหา เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน
สหรคตด้วยภวทิฏฐิ นี้เรียกว่า ภวตัณหา.
วิภวตัณหา เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน
สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา.
ตัณหาที่เหลือนอกนั้น เรียกว่า กามตัณหา.
บรรดาตัณหา 3 นั้น กามตัณหา เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน
ประกอบด้วยกามธาตุ นี้เรียกว่า กามตัณหา.

ความกำหนัด ความกำหนัดนักแห่งจิต ฯลฯ อันประกอบด้วยรูปธาตุ
และอรูปธาตุ นี้เรียกว่า ภวตัณหา.
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน
สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา.
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหา 3.
[934] ตัณหา 3 แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?
กามตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา
บรรดาตัณหา 3 นั้น กามตัณหา เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน
ประกอบด้วยกามธาตุ นี้เรียกว่า กามตัณหา.
รูปตัณหา เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน
ประกอบด้วยรูปธาตุ นี้เรียกว่า รูปตัณหา.
อรูปตัณหา เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน
ประกอบด้วยอรูปธาตุ นี้เรียกว่า อรูปตัณหา.
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหา 3.
[935] ตัณหา 3 แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?
รูปตัณหา อรูปตัณหา นิโรธตัณหา
บรรดาตัณหา 3 นั้น รูปตัณหา เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน
ประกอบด้วยรูปธาตุ นี้เรียกว่า รูปตัณหา.

อรูปตัณหา เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน
ประกอบด้วยอรูปธาตุ นี้เรียกว่า อรูปตัณหา.
นิโรธตัณหา เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนดนักแห่งจิตอัน
สหรคต ด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า นิโรธตัณหา.
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหา 3.
[936] เอสนา 3 เป็นไฉน ?
กาเมสนา ภเวสนา พรหมจริเยสนา
บรรดาเอสนา 3 นั้น กาเมสนา เป็นไฉน ?
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า
กาเมสนา.
ภเวสนา เป็นไฉน ?
ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า
ภเวสนา.
พรหมจริเยสนา เป็นไฉน ?
ความเห็นว่าโลกเที่ยง หรือความเห็นว่าโลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้อง
หน้าแต่ตาย จะเกิดอีกก็หามิได้ จะไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไป
ข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
พรหมจริเยสนา.
บรรดาเอสนา 3 นั้น กาเมสนา เป็นไฉน ?
ความกำหนัดในกาม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็นอกุศล
ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับความกำหนัดในกามนั้น นี้เรียกว่า กาเมสนา.

ภเวสนา เป็นไฉน ?
ความกำหนัดในภพ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็นอกุศล
ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับความกำหนัด ในภพนั้น นี้เรียกว่า ภเวสนา.
ความเห็นว่าโลกมีที่สุด กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็น
อกุศลตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับความเห็นว่าโลกมีที่สุดนั้น นี้เรียกว่า พรหม-
จริเยสนา.

เหล่านี้เรียกว่า เอสนา 3.
[937] วิธา 3 เป็นไฉน ?
ความถือตัวว่าประเสริฐกว่าเขา ความถือตัวว่าเสมอเขา ความถือตัว
ว่าเลวกว่าเขา เหล่านั้นเรียกว่า วิธา 3.
[938] ภัย 3 เป็นไฉน ?
ชาติภัย ชราภัย มรณภัย
บรรดาภัย 3 นั้น ชาติภัย เป็นไฉน ?
ความกลัว ความขลาด ความหวาดเสียว ความชูชันแห่งขน ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความเกิด นี้เรียกว่า ชาติภัย.
ชราภัย เป็นไฉน ?
ความกลัว ความขลาด ความหวาดเสียว ความชูชันแห่งขน ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยชรา นี้เรียกว่า ชราภัย.
มรณภัย เป็นไฉน ?
ความกลัว ความขลาด ความหวาดเสียว ความชูชันแห่งขน ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความตาย นี้เรียกว่า มรณภัย.
เหล่านี้เรียกว่า ภัย 3

[939] ตมะ 3 เป็นไฉน ?
1. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อไม่เลื่อมใส ปรารภอดีต
กาล 2. ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอนาคตกาล
3. ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภปัจจุบันกาล
เหล่านี้เรียกว่า ตมะ 3.
[940] ติตถายตนะ 3 เป็นไฉน ?
1. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มี
ความเห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมได้เสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหมดนั้น เพราะได้
ทำเหตุไว้ในปางก่อน.
2. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มี
ความเห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมได้เสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขทุกข์ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุ
คือมีผู้เป็นให้สร้างให้.
3. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มี
ความเห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมได้เสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหมดนั้น โดยไม่มี
เหตุไม่มีปัจจัย.
เหล่านั้นเรียกว่า ติตถายตนะ 3.
[941] กิญจนะ 3 เป็นไฉน ?
กิเลสเครื่องกังวลคือราคะ กิเลสเครื่องกังวลคือโทสะ กิเลสเครื่อง
กังวลคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า กิญจนะ 3.

[942] อังคณะ 3 เป็นไฉน ?
กิเลสเพียงดังเนินคือราคะ กิเลสเพียงดังเนินคือโทสะ กิเลสเพียงดัง
เนินคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า อังคณะ 3.
[943] มละ 3 เป็นไฉน ?
มลทินคือราคะ มลทินคือโทสะ มลทินคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า
มละ 3.
[944] วิสมะ 3 เป็นไฉน ?
ความไม่สม่ำเสมอคือราคะ ความไม่สม่ำเสมอคือโทสะ ความไม่สม่ำ
เสมอคือโมหะ เหล่านี้เรียกว่า วิสมะ 3.
[945] วิสมะ 3 แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทาง
วาจา ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ เหล่านี้เรียกว่า วิสมะ 3.
[946] อัคคิ 3 เป็นไฉน ?
ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า อัคคิ 3.
[947] กสาวะ 3 เป็นไฉน ?
น้ำฝาดคือราคะ น้ำฝาดคือโทสะ น้ำฝาดคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า
กสาวะ 3.
[948] กสาวะ 3 แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?
น้ำฝาดทางกาย น้ำฝาดทางวาจา น้ำฝาดทางใจ เหล่านี้เรียกว่า
กสาวะ 3.
[949] อัสสาททิฏฐิ ความเห็นผิดอันประกอบด้วยความ
ยินดี
เป็นไฉน ?

สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ
เห็นอย่างนี้ว่า กามทั้งหลายไม่มีโทษ ดังนี้ เขาจึงบริโภคถาม นี้เรียกว่า
อัสสาททิฏฐิ ความเห็นผิดอันประกอบด้วยความยินดี.
อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่ามีอัตตาตัวตน เป็นไฉน ?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้
เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ
สัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขาร
เป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณ
ในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอา
โดยวิปลาสอันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ ความตาม
เห็นว่ามีอัตตาตัวตน.

มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลกนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ
การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ.
สัสสตทิฏฐิ จัดเป็นอัสสาททิฏฐิ สักกายทิฏฐิ จัดเป็นอัตตานุทิฏฐิ
อุจเฉททิฏฐิ จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ.

[950] อรติ ความไม่ยินดี เป็นไฉน ?
ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง
ความกระสัน ความดิ้นรน ในเสนาสนะอันสงัด หรือในอธิกุศลธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ ความไม่ยินดี.
วิเหสา ความเบียดเบียน เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง
ก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง ศาสตราบ้าง เชือกบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ความ
บีบคั้น ความบีบคั้นยิ่ง ความเบียดเบียน ความเบียดเบียนยิ่ง ความทำให้เดือด
ร้อน ความทำให้เดือดร้อนยิ่ง ความทำร้ายสัตว์อื่น อันใด มีลักษณะเช่นว่า
นี้ นี้เรียกว่า วิเหสา ความเบียดเบียน.
อธัมมจริยา ความประพฤติไม่เป็นธรรม เป็นไฉน ?
ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางกาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทาง
กาย ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางวาจา ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา
ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางใจ ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ นี้เรียก
ว่า อธัมมจริยา ความประพฤติไม่เป็นธรรม.
[951] โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน ?
กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก สภาพที่เป็นผู้ว่ายาก ความ
ยึดถือข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เอื้อเฟื้อ
ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า
โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก.
ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน ?

บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่
มีปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบ
ด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดีแก่บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้โน้มน้าวไป
ตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว.
นานัตตสัญญา สัญญาต่าง ๆ เป็นไฉน ?
สัญญาที่เกี่ยวด้วยกาม สัญญาที่เกี่ยวด้วยพยาบาท สัญญาที่เกี่ยวด้วย
ความเบียดเบียน นี้เรียกว่า นานัตตสัญญา สัญญาต่าง ๆ อกุศลสัญญา
แม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า นานัตตสัญญา.
[952] อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เป็นไฉน ?
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความกวัดแกว่งแห่งจิต
ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน.
โกสัชชะ ความเกียจคร้าน เป็นไฉน ?
การปล่อยจิต ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต หรือในกามคุณ 5 หรือความไม่เคารพ ความทำโดยไม่ติดต่อ
ความทำโดยไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความ
ทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก
ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนือง ๆ ความประมาทในการเจริญกุศล
ธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า โกสัชชะ ความเกียจคร้าน.
ปมาทะ ความประมาท เป็นไฉน ?
การปล่อยจิต ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต หรือในกามคุณ 5 หรือความทำโดยความไม่เคารพ ความทำโดย

ไม่ติดต่อ ความทำโดยไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ
ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก
ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนือง ๆ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรม
ทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ประมาท สภาพที่ประมาท อันใด มีลักษณะ
เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ ความประมาท.
[953] อสันตุฏฐิตา ความไม่สันโดษ เป็นไฉน ?
ความอยากได้มากยิ่ง ของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริขารตามที่ตามได้ หรือด้วยกามคุณ 5 ความ
ปรารถนา การปรารถนา ความไม่สันโดษ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก
ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันใดมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อสันตุฏฐิ-
ตา ความไม่สันโดษ.

อสัมปชัญญตา ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ โมหะ
อันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญตา ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.
มหิจฉตา ความมักมาก เป็นไฉน ?
ความอยากได้มากยิ่งของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริขาร ตามมีตามได้หรือด้วยกามคุณ 5 ความ
ปรารถนา การปรารถนา ควานมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก
ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มหิจ-
ฉตา ความมักมาก.

[954] อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต เป็น
ไฉน ?

ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่
ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ
ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต.

อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต เป็น
ไฉน ?
ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว
ความไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า
อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต.
ปมาทะ ความประมาท เป็นไฉน ?
การปล่อยจิต ความเพิ่มพูน การปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต หรือในกามคุณ 5 หรือความทำโดยความไม่เคารพ ความทำโดย
ไม่ติดต่อ ความไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ
ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก
ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนือง ๆ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรม
ทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ประมาท สภาพที่ประมาท อันใด มีลักษณะ
เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ ความประมาท.
[955] อนาทริยะ ความไม่เอื้อเฟื้อ เป็นไฉน ?
ความไม่เอื้อเฟื้อ สภาพที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง
ความไม่ถือเอา กิริยาที่ไม่ถือเอา สภาพที่ไม่ถือเอา ความไม่มีศีล ความไม่
ยำเกรงอันใด นี้เรียกว่า อนาทริยะ ความเอื้อเฟื้อ.
โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน ?
กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก สภาพที่เป็นผู้ว่ายาก ความ
ยึดถือข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ

ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรมิก นี้เรียกว่า โทวจัสสตา
ความเป็นผู้ว่ายาก.

ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน ?
บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ทุศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่
มีปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบ
ด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดีแก่บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้โน้มน้าวไป
ตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว.
[956] อัสสัทธิยะ ความไม่มีศรัทธา เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีศรัทธา ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ ความไม่มีศรัทธา กิริยาที่ไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่ปลงใจเชื่อ ความไม่
เลื่อมใสยิ่ง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัสสัทธิยะ ความไม่มี
ศรัทธา.

อวทัญญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้ถ้อยคำ เป็นไฉน ?
มัจฉริยะ ความตระหนี่ 5 คือ อาวาสมัจฉริยะ ความตระหนี่ที่อยู่,
กุลมัจฉริยะ ความตระหนี่ตระกูล, ลาภมัจฉริยะ ความตระหนี่ลาภ, วัณณ-
มัจฉริยะ ความตระหนี่วรรณะ, ธัมมมัจฉริยะ ความตระหนี่ธรรม, ความ
ตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ สภาพที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น
ความปกปิด ความไม่เอาใจใส่ อันใด ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อวทัญญุตา
ความเป็นผู้ไม่รู้ถ้อยคำ.

โกสัชชะ ความเกียจคร้าน เป็นไฉน ?
การปล่อยจิต ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต หรือในกามคุณ 5 หรือความทำโดยความไม่เคารพ ความไม่ทำโดย

ติดต่อ ความไม่ทำให้มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความ
ทอดทิ้งธุระ. ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก
ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนืองๆ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรม
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า โกสัชชะ ความเกียจคร้าน.
[957] อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เป็นไฉน ?
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความกวัดแกว่งแห่งจิต
ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน.
อสังวร ความไม่สำรวม เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้
ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงครอบงำ
บุคคลนั้น ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใดเป็น
เหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น ไม่สำเร็จ
การสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะ
แล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรม
ทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงครอบงำบุคคลนั้น ผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์
อยู่ เพราะการไม่สำรวมมนินทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์นั้น ไม่รักษามนินทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมนมนินทรีย์นั้น นี้
เรียกว่า อสังวร ความไม่สำรวม.
ทุสสีลยะ ความเป็นผู้ทุศีล เป็นไฉน ?
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิด
ทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่า ทุสสีลยะ ความเป็นผู้ทุศีล.

[958] อริยอทัสสนกัมยตา ความไม่อยากเห็นพระอริยเจ้า
เป็นไฉน ?

บรรดาบทเหล่านั้น พระอริยเจ้า เป็นไฉน พระพุทธเจ้าและพระ-
สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระอริยเจ้า. ความไม่ต้องการจะพบ ความ
ไม่ต้องการจะเห็น ความไม่ต้องการจะเข้าใกล้ ความไม่ต้องการจะสมาคมกับ
พระอริยเจ้า เหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า อริยอทัสสนกัมยตา ความไม่
อยากเห็นพระอริยเจ้า.

สัทธัมมอโสตุกัมยตา ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม เป็นไฉน ?
บรรดาบทเหล่านั้น พระสัทธรรม เป็นไฉน สติปัฏฐาน 4 สัมมัป-
ปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8
นี้เรียกว่า พระสัทธรรม. ความไม่ต้องการจะฟัง ควานไม่ต้องการจะสดับ
ความไม่ต้องการจะเรียน ความไม่ต้องการจะทรงจำซึ่งพระสัทธรรมนี้ อันใด
นี้เรียกว่า สัทธัมมอโสตุกัมยตา ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม.
อุปารัมภจิตตตา ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี เป็นไฉน ?
บรรดาบทเหล่านั้น ความคิดแข่งดี เป็นไฉน ความคิดแข่งดี ความ
คิดแข่งดีเนือง ๆ กิริยาที่คิดแข่งดี กิริยาที่คิดแข่งดีเนือง ๆ สภาพที่คิดแข่งดี
เนือง ๆ ความดูถูก ความดูหมิ่น ความดูแคลน ความคอยแสวงหาโทษ
อันใด นี้เรียกว่า อุปารัมภจิตตตา ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี.
[959] มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ เป็นไฉน ?
ความระลึกไม่ได้ ความตามระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความ
ระลึกไม่ได้ สภาพที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อยลอย ความ
หลงลืม อันใด นี้เรียกว่า มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ.

อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ โมหะ
อันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.
เจตโสวิกเขปะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต เป็นไฉน ?
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความกวัดแกว่งแห่งจิต
ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า เจตโสวิกเขปะ ความฟุ้งซ่าน
แห่งจิต.

[960] อโยนิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย
เป็นไฉน ?
ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายในสิ่งที่ไม่เทียง ว่าเที่ยง ความทำไว้
ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข ความทำไว้ในใจโดยไม่
แยบคาย ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาตัวตนว่าเป็นอัตตาตัวตน ความทำไว้ในใจโดยไม่
แยบคาย ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม หรือความนึก ความนึกเนือง ๆ ความคิด
ความพิจารณา ความทำไว้ในใจแห่งจิต โดยผิดจากความจริง นี้เรียกว่า
อโยนิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย.
กุมมัคคเสวนา การเสพทางผิด เป็นไฉน ?
บรรดาบทเหล่านั้น ทางผิด เป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ
มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทางผิด การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การ
คบด้วยดี การชอบใจ ความชอบใจ ซึ่งทางผิดนี้ ความเป็นผู้โน้มน้าวไป
ตามทางผิดนี้ อันใด นี้เรียกว่า กุมมัคคเสวนา การเสพทางผิด.
เจตโสลีนัตตะ ความย่อหย่อนแห่งจิต เป็นไฉน ?

ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความ
ท้อแท้ ความถดถอย ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน สภาพที่ย่อหย่อน
ความซบเซา กิริยาที่ซบเซา สภาพที่ซบเซาแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า เจตโส-
ลีนัตตะ ความย่อหย่อนแห่งจิต.

จตุกกนิทเทส


[961] ในจตุกกมาติกาเหล่านั้น อาสวะ 4 เป็นไฉน ?
กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.
บรรดาอาสวะ 4 นั้น กามาสวะ เป็นไฉน ?
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า
กามาสวะ.
ภวาสวะ เป็นไฉน ?
ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า
ภวาสวะ.
ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน ?
ความเห็นว่าโลกเที่ยง ฯลฯ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว
จะเกิดอีกก็หามิได้ จะไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ
ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ
มิจฉาทิฏฐิ แม้ทั้งหมดก็เรียกว่า ทิฏฐอาสวะ.
อวิชชาสวะ เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชาสวะ
เหล่านี้เรียกว่า อาสวะ 4.