เมนู

ว่าด้วยนิทเทสแห่งภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล


พึงทราบวินิจฉัย ในนิทเทสแห่งสัตว์ผู้ควรแก่การตรัสรู้ และ
ไม่ควรแก่การตรัสรู้
ต่อไป คำว่า กมฺมาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่อง
กั้นคือกรรม) ได้แก่ ด้วยอนันตริยกรรม 5 อย่าง. คำว่า กิเลสาวรเณน
(แปลว่า ด้วยเครื่องกั้น คือกิเลส) ได้แก่ ด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐิ. คำว่า
วิปากาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่องกั้นคือ วิบาก) ได้แก่ ปฏิสนธิด้วย
อเหตุกจิต. ก็เพราะความแทงตลอดอริยมรรค ย่อมไม่มีแก่บุคคลแม้ผู้เป็น
ทุเหตุกบุคคล1 ฉะนั้น พึงทราบว่า แม้ทุเหตุกปฏิสนธิ2 ก็ชื่อว่า เป็นเครื่อง
กั้นคือวิบากเหมือนกัน. คำว่า อสทฺธา (แปลว่า ไม่มีศรัทธา) ได้แก่ เว้น
จากศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นต้น คำว่า อจฺฉนฺทิกา (แปลว่า ไม่มีฉันทะ)
ได้แก่ เว้นจากฉันทะในกุศลของบุคคลผู้ใคร่เพื่อกระทำ. มนุษย์ทั้งหลายชาว-
อุตตรกุรุทวีป เข้าไปสู่ฐานะของผู้ไม่มีฉันทะ. คำว่า ทุปฺปญฺญา (แปลว่า
มีปัญญาทราม) ได้แก่ เป็นผู้เสื่อมจากภวังคปัญญา. ก็เมื่อภวังคปัญญาแม้
บริบูรณ์ ภวังค์ของบุคคลใดย่อมไม่เป็นบาทแก่โลกุตตระ บุคคลนั้น ก็ชื่อว่า
มีปัญญาทรามนั่นแหละ. คำว่า อภพฺพา นิยามํ โอกฺกมิตุํ กุสเลสุ
ธมฺเมสุ สมฺมตฺตํ
(แปลว่า ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรม
ทั้งหลายได้) ได้แก่ ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่มรรค กล่าวคือ สัมมัตตนิยามใน
กุศลธรรมทั้งหลาย. คำว่า น กมฺมาวรเณน เป็นต้น (แปลว่า ไม่ประกอบ
ด้วยเครื่องกั้น คือ กรรม) บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าว
แล้ว. ข้อนี้ บัณฑิตพึงแยกออกเป็นสองญาณ คือ อินทริยปโรปริยัตติญาณ
และอาสยานุสยญาณ. จริงอยู่ ในข้อนี้ แมอินทริยปโรปริยัตติญาณ พระผู้มี-

1. บุคคลผู้เกิดด้วยเหตุสอง คือ อโลภเหตุและอโทสเหตุ.
2. ปฏิสนธิจิตที่ประกอบด้วยเหตุ 2.

พระภาคเจ้า ก็ทรงแจกไว้ด้วยอาสยานุสยญาณ เพราะเหตุนั้น ญาณทั้งสอง
เหล่านั้น จึงจัดเป็นญาณเดียวกัน ชื่อว่าญาณเป็นกำลังอย่างหนึ่งเกิดแล้ว ดังนี้.
นิทเทสแห่งญาณเป็นกำลังข้อที่ 6 จบ

อธิบายญาณที่กำลังข้อที่ 7


บุคคลใด ย่อมเพ่ง (เข้าฌาน) เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า
ฌายี
(ผู้เข้าฌาน). ชน 4 จำพวกผู้เข้าฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียก
ว่า ผู้เจริญฌาน 4 จำพวก.
ในชนเหล่านั้น ในบุคคล 4 จำพวกแรก บุคคลที่หนึ่ง ก่อน ได้
สมาบัติอยู่นั่นแหละ ย่อมสำคัญว่า เราไม่ได้ฌาน คือสำคัญกรรมฐานที่มีอยู่
ว่าไม่ใช่กรรมฐาน ดังนี้. บุคคลนี้ พึงทราบว่า เป็นผู้ได้ฌานมีคุณน้อย ดังนี้.
บุคคลที่ 2 ไม่ได้สมาบัติเทียว ย่อมสำคัญว่า เราได้สมาบัติ คือ
ไม่ใช่กรรมฐานที่มีอยู่ สำคัญว่าเป็นกรรมฐาน ดังนี้. บุคคลนี้ พึงทราบว่า
ชื่อว่า ผู้เข้าฌานหลับ (นิทฺทาฌายี) ครั้นหลับแล้วตื่นขึ้นมา ก็สำคัญ
อย่างนั้น.
บุคคลที่ 3 ได้สมาบัติ ย่อมสำคัญว่า เราได้สมาบัติ คือ สำคัญ
กรรมฐานนั่นแหละว่าเป็นกรรมฐานมีอยู่ ดังนี้ บุคคลนี้ พึงทราบว่า ได้ฌาน
อันคล่องแคล่วแล้ว.
บุคคลที่ 4 ไม่ได้ฌานเลย สำคัญว่า เราได้กรรมฐาน คือสำคัญ
สิ่งที่มิใช่กรรมฐานนั่นแหละว่าเป็นกรรมฐาน ดังนี้.
ในที่นี้ ชนสองจำพวกไม่ได้ฌานอย่างนี้นั่นแหละ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ฌายี (ผู้เข้าฌาน) เพราะความที่ชนเหล่า
นั้นเข้าไปเพ่งภายในเช่นกับผู้ได้ฌานทั้งหลาย.