เมนู

ว่าด้วยนิทเทสแห่งภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล


พึงทราบวินิจฉัย ในนิทเทสแห่งสัตว์ผู้ควรแก่การตรัสรู้ และ
ไม่ควรแก่การตรัสรู้
ต่อไป คำว่า กมฺมาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่อง
กั้นคือกรรม) ได้แก่ ด้วยอนันตริยกรรม 5 อย่าง. คำว่า กิเลสาวรเณน
(แปลว่า ด้วยเครื่องกั้น คือกิเลส) ได้แก่ ด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐิ. คำว่า
วิปากาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่องกั้นคือ วิบาก) ได้แก่ ปฏิสนธิด้วย
อเหตุกจิต. ก็เพราะความแทงตลอดอริยมรรค ย่อมไม่มีแก่บุคคลแม้ผู้เป็น
ทุเหตุกบุคคล1 ฉะนั้น พึงทราบว่า แม้ทุเหตุกปฏิสนธิ2 ก็ชื่อว่า เป็นเครื่อง
กั้นคือวิบากเหมือนกัน. คำว่า อสทฺธา (แปลว่า ไม่มีศรัทธา) ได้แก่ เว้น
จากศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นต้น คำว่า อจฺฉนฺทิกา (แปลว่า ไม่มีฉันทะ)
ได้แก่ เว้นจากฉันทะในกุศลของบุคคลผู้ใคร่เพื่อกระทำ. มนุษย์ทั้งหลายชาว-
อุตตรกุรุทวีป เข้าไปสู่ฐานะของผู้ไม่มีฉันทะ. คำว่า ทุปฺปญฺญา (แปลว่า
มีปัญญาทราม) ได้แก่ เป็นผู้เสื่อมจากภวังคปัญญา. ก็เมื่อภวังคปัญญาแม้
บริบูรณ์ ภวังค์ของบุคคลใดย่อมไม่เป็นบาทแก่โลกุตตระ บุคคลนั้น ก็ชื่อว่า
มีปัญญาทรามนั่นแหละ. คำว่า อภพฺพา นิยามํ โอกฺกมิตุํ กุสเลสุ
ธมฺเมสุ สมฺมตฺตํ
(แปลว่า ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรม
ทั้งหลายได้) ได้แก่ ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่มรรค กล่าวคือ สัมมัตตนิยามใน
กุศลธรรมทั้งหลาย. คำว่า น กมฺมาวรเณน เป็นต้น (แปลว่า ไม่ประกอบ
ด้วยเครื่องกั้น คือ กรรม) บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าว
แล้ว. ข้อนี้ บัณฑิตพึงแยกออกเป็นสองญาณ คือ อินทริยปโรปริยัตติญาณ
และอาสยานุสยญาณ. จริงอยู่ ในข้อนี้ แมอินทริยปโรปริยัตติญาณ พระผู้มี-

1. บุคคลผู้เกิดด้วยเหตุสอง คือ อโลภเหตุและอโทสเหตุ.
2. ปฏิสนธิจิตที่ประกอบด้วยเหตุ 2.