เมนู

สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ. คำว่า อนุปคมฺม ได้แก่ ไม่ยึดถือแล้ว. คำว่า
อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ (แปลว่า ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยของกันและกัน และอาศัยกันและกันเกิดขึ้น) ได้แก่ ในธรรมทั้ง
หลาย อันเป็นปัจจัยของกันและกัน และธรรมทั้งหลายอันอาศัยกันและกันเกิด
ขึ้น. คำว่า อนุโลมิกา ขนฺติ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ. คำว่า ยถาภูตํ วา
ญาณํ
ได้แก่ มรรคญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า วิปัสสนาอัน
พระโยคาวจรไม่อาศัยซึ่งส่วนสุด 2 คือ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิเหล่านั้น ใน
ปฏิจจสมุปบาท (คือในการเกิดขึ้นแห่งอวิชชาเป็นต้น) และในธรรมอันอาศัย
กันและกันเกิดขึ้น อันใด และมรรคญาณอันยิ่งกว่าวิปัสสนาญาณนั้น อันใด
นี้เรียกว่า อาสยะ ของสัตว์ทั้งหลาย และข้อนี้แหละเป็นอาสยะของสัตว์ทั้ง
หลายแม้ทั้งหมดผู้อาศัยวัฏฏะและไม่อาศัยวัฏฏะ จึงชื่อว่า นี้เป็นที่อยู่อาศัยของ
สัตว์ทั้งหลาย.

ถ้อยคำของอาจารทั้งหลาย


ก็อาจารย์วิตัณฑวาที (ผู้มีปกติกล่าวเคาะ) กล่าวว่า ธรรมดาว่า
มรรคทำลายที่อยู่ ย่อมไป มิใช่หรือ
เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่า
มรรค คือ ที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ พึงโต้อาจารย์นั้นว่า ท่านมีสูตร
อันว่าด้วยที่เป็นที่อยู่อันเป็นของพระอริยะหรือไม่ ก็ถ้าว่า อาจารย์วิตัณทวาที
กล่าวว่า มีอยู่ ก็พึงกล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า ท่านไม่รู้ เพราะสูตร
นั้นท่านไม่ท่องไว้ ถ้าอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า กระผมสวดอยู่ดังนี้ พึงกล่าว
ว่า ขอท่านจงนำสูตรมา ดังนี้ ถ้าว่าอาจารย์วิตัณฑวาทีนำมา นั่นเป็นการดี
ถ้าไม่นำมา ก็พึงนำมาเองว่า ทสยิเม ภิกฺขเว อริยวาสา ยทิริยา
อาวสึสุ วา อาวสนฺติ วา อาวสิสฺสนฺติ วา
เป็นต้น (แปลว่า ดูก่อน