เมนู

ก็ในกาลวิบัติ ซึ่งมีภิกษาอันหาได้โดยยาก แม้ผลและเปลือกมะซาง
แม้ก้านดอกโกมุทก็หาได้โดยยาก แต่ในกาลสมบัติ มีลาภมากมายเห็นปาน
นี้เกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องวัตตัพพกนิโครธเถระ

*

ก็ภัยแต่โจรชื่อว่า ติสสะ ผู้เป็นพราหมณ์เกิดขึ้นในกาลแม้แห่ง
วัตตัพพกนิโครธเถระยังเป็นสามเณร. สามเณรและอุปัชฌาย์ของสามเณร
ไม่ได้ไปสู่สมุทรฝังโน้นแต่ได้มุ่งหน้าไปประเทศชายแดน ด้วยคิดว่า พวก
เราจักเข้าไปอาศัยมนุษย์ ผู้มีใบไม้เป็นอยู่
ดังนี้ สามเณรเป็นผู้ไม่มี
อาหารประมาณ 7 วัน เห็นลูกตาลที่ต้นตาลในที่ใกล้บ้านแห่งหนึ่ง จึงกราบ
เรียนกะพระเถระว่า ขอท่านจงรอสักครู่ ผมจักให้ผลตาลตกลงมา ดังนี้.
พระอุปัชฌาย์ (พระเถระ) กล่าวว่าสามเณร เธอเป็นผู้มีกำลังทราม อย่าขึ้น
เลย ดังนี้. สามเณรกราบเรียนว่า. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมจักขึ้น ดังนี้ แล้ว
ถือมีดเล็กปีนขึ้นต้นตาล เริ่มเพื่อจะตัดพวงแห่งลูกตาล ใบมีดหลุดตกลงมาที่
พื้นดิน.
พระเถระคิดว่า สามเณรนี้ลำบากอยู่ ขึ้นต้นตาลแล้ว ใบมีดหลุดตก
ลงมา บัดนี้เขาจักทำอย่างไร ดังนี้. สามเณร ฉีกใบตาล ฉีกแล้ว ๆ ผูกด้ามมีด
หย่อนลงมา ๆ ให้ตกลงที่พื้นดิน แล้วเรียนพระเถระว่า ท่านขอรับ เป็นการ
ดีหนอ ถ้าว่าท่านพึงส่งใบมีดให้กระผมในที่นี้ ดังนี้. พระเถระคิดว่า สามเณร
เป็นผู้ฉลาดในอุบาย ได้ส่งใบมีดให้แล้ว. สามเณรนั้น ก็ใช้มีดตัดลูกตาลทั้ง
หลายให้ตกลง. สามเณรโยนมีดและลูกตาลลงมา กำลังจะเฉาะผลตาล พระเถระ
*. ชนทั้งหลายเรียกท่านว่าผู้มั่นคงดังต้นนิโครธ

กล่าวว่า สามเณร เธอมีกำลังทราม จงเคี้ยวกินผลตาลนี้ก่อน ดังนี้. สามเณร
เรียนว่า ท่านขอรับ เมื่อท่านยังไม่ฉันลูกตาลนี้ กระผมก็จักไม่ฉัน ดังนี้
แล้วจับมีดเฉาะผลตาล แล้วนำบาตรออกมาใส่จาวตาลถวายแก่พระเถระแล้ว
ตัวเองจึงเคี้ยวกิน. ผลแห่งตาลยังมี ทั้งสองนั้นก็ยังอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ เมื่อ
ผลตาลสิ้นแล้ว จึงไปสู่วิหารร้างหลังหนึ่ง ในที่เป็นที่อยู่ของพวกมนุษย์ผู้อาศัย
ใบไม้เป็นอยู่.
สามเณรปัดกวาดที่สำหรับเป็นที่อยู่เพื่อพระเถระ. พระเถระได้ให้
โอวาทแก่สามเณร แล้วก็เข้าไปสู่วิหาร. สามเณรคิดว่า กำหนดประมาณ
อัตภาพทั้งหลายอันฉิบหายแล้ว ในเพราะสิ่งอันไม่ควร (ความอดอยาก) นับ
ไม่ได้ เราจักกระทำการบำรุงพระพุทธเจ้า จึงไปสู่ลานพระเจดีย์แล้วกระทำการ
ถอนหญ้าออกแล้ว ๆ สามเณรนั้นหวั่นไหวอยู่ เพราะความที่ตนไม่มีอาหาร
มา 7 วัน จึงล้มลงไป นอนอยู่นั่นแหละก็ยังถอนหญ้า.
ก็มนุษย์พวกหนึ่ง เที่ยวไปอยู่ในป่า ได้รวงผึ้งแล้วก็ถือเอาไม้ฟืนทั้ง
หลายด้วยใบผักทั้งหลายด้วย ไปในที่ใกล้แห่งสามเณร ด้วยความสำคัญว่า
เอ ! นั่นเนื้อหรือหนอ ดังนี้ ครั้นเห็นแล้ว จึงถามว่า ดูก่อนสามเณร ท่าน
ทำอะไร ดังนี้. สามเณรตอบว่า ดูก่อนอุบาสก อาตมาถอนหญ้า ดังนี้.
พวกมนุษย์กล่าวว่า สามเณร ใคร ๆ แม้อื่นมีอยู่ในที่นี้หรือ ดังนี้. สามเณร
กล่าวว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย มีพระอุปัชฌาย์ของเราอยู่ในห้อง ดังนี้.
อุบาสกกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงถวายสิ่งนี้แก่พระมหาเถระแล้วพึง
เคี้ยวกินเถิด ดังนี้. ครั้นแล้ว ก็ถวายรวงผึ้งแก่สามเณรและบอกซึ่งที่เป็นที่อยู่
ของพวกตน แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พวกเราเมื่อทำการหักกิ่งไม้
เสร็จแล้วก็จักกลับไป ขอสามเณรจงพาพระเถระมาด้วยเครื่องหมายนั้น ดังนี้
แล้วพากันกลับไป.

สามเณรรับรวงผึ้งแล้วไปสู่ที่อยู่ของพระเถระ ยืนอยู่ในภายนอก กราบ
เรียนว่า ท่านขอรับ กระผมขอนมัสการ ดังนี้. พระเถระได้เป็นผู้นิ่ง ด้วย
คิดว่า สามเณรจักเป็นผู้อันความหิวเผาผลาญแล้ว จึงมา สามเณรจึงกราบเรียน
อีกว่า ท่านขอรับกระผมขอนมัสการ ดังนี้. พระเถระ กล่าวว่า ดูก่อนสามเณร
เธอไม่ให้ภิกษุแก่นอนตามสบาย เพราะเหตุไร ดังนี้. สามเณรกล่าวว่า ท่าน
ควรเปิดประตูขอรับ ดังนี้. พระเถระจึงลุกขึ้นเปิดประตู แล้วถามว่า สามเณร
เธอได้อะไรมา ดังนี้. สามเณรกล่าวว่า รวงผึ้ง ท่านควรเคี้ยวกินรวงผึ้ง อัน
มนุษย์ทั้งหลายถวายนา. พระเถระกล่าวว่า สามเณร เราจักลำบากเพื่อจะ
เคี้ยวกินอย่างนี้ จักทำให้เป็นของควรดื่มแล้วจักดื่ม สามเณรกระทำให้เป็นของ
ควรดื่ม แล้วถวายแก่พระเถระ.
ลำดับนั้น พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนสามเณร เธอถามถึงที่อยู่ของ
มนุษย์หรือ. สามเณรกราบเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกมนุษย์บอกเอง
ขอรับ. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนสามเณร เมื่อเราไปตอนเช้า จักลำบาก เรา
จักไปวันนี้ทีเดียว แล้วให้สามเณรถือบาตรและจีวรออกไป. ทั้งสองนั้นไป
แล้ว อาศัยอยู่ในที่อันไม่ไกลจากที่เป็นที่อยู่ของพวกมนุษย์. ในเวลาแห่งราตรี
สามเณรคิดว่า จำเดิมแต่เราบวชแล้ว ชื่อว่าอรุณภายในบ้าน (ในที่แห่งเดียว
กับพระเถระ) เราไม่เคยให้ขึ้นไปแล้ว จึงถือเอาบาตรออกไปสู่ป่า. พระมหา-
เถระ เมื่อไม่เห็นสามเณรในที่เป็นที่นอน จึงคิดว่า สามเณรจักเป็นผู้อัน
มนุษย์ผู้กินคนจับไปแล้ว ดังนี้. สามเณร ยังอรุณให้ตั้งขึ้นในป่าแล้ว ถือเอา
น้ำและไม้สีฟันกลับมา. พระเถระถามว่า สามเณร เธอไปไหน ทำให้เกิด
วิตกแก่ภิกษุผู้แก่ เธอจงนำมาซึ่งทัณฑกรรม (จงรับทัณฑกรรม). สามเณร
ตอบว่า กระผมจะนำทัณฑกรรมมา (หมายถึงจะประพฤติการอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นการลงโทษตัวเอง). พระเถระล้างหน้าแล้ว ห่มจีวรแล้ว. แม้ท่านทั้งสอง

ได้พากันไปสู่ที่เป็นที่อยู่แห่งมนุษย์ทั้งหลาย. แม้มนุษย์ทั้งหลายก็ได้ถวายอาหาร
มีเผือก ผลไม้ ใบไม้อันเป็นเครื่องบริโภคของตน. พระเถระฉันเสร็จแล้ว
ไปสู่วิหาร. สามเณรนำน้ำมาแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมจักล้าง
เท้าของท่าน (เป็นการทำทัณฑกรรม) ดังนี้. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนสามเณร
เธอไปไหนในเวลากลางคืน ทำให้เรามีวิตกเกิดขึ้น ดังนี้. สามเณรกราบเรียน
ว่า ท่านขอรับ กระผมไม่เคยให้อรุณตั้งขึ้นในบ้านเดียวกันกับท่าน ด้วยเหตุ
นี้ จึงได้ไปสู่ป่า เพื่อต้องการให้อรุณตั้งขึ้น ดังนี้. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อน
สามเณร ทัณฑกรรมไม่สมควรแก่เธอ สมควรแก่เรา ดังนี้แล้วอยู่ในที่นั้น
นั่นแหละ. อนึ่ง พระเถระได้ให้ซึ่งความหมายรู้แก่สามเณรไว้ว่า เราเป็นคน
แก่ ชื่อว่า สิ่งนี้ (ความตาย) จักมีก่อน เพราะฉะนั้น ความตายนั้น ใครๆไม่
ไม่อาจเพื่อจะรู้ เธอจงรักษาตน ดังนี้. ได้ยินว่า พระเถระเป็นพระอนาคามี.
ในกาลอื่นอีก พวกมนุษย์กินคนจับพระเถระกินเป็นอาหารแล้ว.
สามเณร รักษาตนได้ ครั้นเมื่อภัยสงบแล้ว ก็ถือเอาพระอุปัชฌาย์
ในที่เช่นนั้น อุปสมบทแล้วเรียนพระพุทธพจน์ เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก มหา-
ชนจึงเรียกว่าวัตตัพพกนิโครธเถระ (แปลว่า พระเถระผู้มั่นคงดังต้นนิโครธ)
เกิดขึ้นแล้ว. ปิตุมหาราช ทรงครองราชสมบัติแล้ว. ภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้ว ๆ
จากฝั่งสมุทรโน้น ถามว่า พระเถระชื่อว่า วัตตัพพกะนิโครธไปไหน ดังนี้
แล้วก็ไปสู่สำนักของวัตตัพพกนิโครธนั้น หมู่แห่งภิกษุใหญ่แวดล้อมท่านแล้ว
พระเถระนั้นผู้อันภิกษุหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้วไปสู่มหาวิหาร ไหว้มหาโพธิ์ไหว้
มหาเจดีย์ และถูปาราม โดยลำดับ แล้วเข้าไปสู่พระนคร. ไตรจีวรในที่ทั้ง
สามเกิดขึ้นแก่พระเถระผู้กำลังเป็นไปนั่นแหละ ตั้งแต่ประตูด้านทิศทักษิณ.

ในกาลวิบัติ มีภิกษาหาได้โดยยาก แม้แต่ผลตาล เผือกมันและ
ใบไม้ แต่ในกาลสมบัติ มหาลาภเห็นปานนี้เกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมทั้งหลาย
ไม่อาจเพื่อให้ผล เพราะกาลวิบัติห้ามไว้อย่างนี้ แต่ย่อมให้ผลใน
กาลสมบัติ ดังนี้.

กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แก่บุคคลแม้อื่นอีก กรรมนั้นไม่พึง
ให้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในปโยควิบัติ. แต่บุคคลนั้น ตั้งอยู่เฉพาะในสัมมาปโยคะ
(ความเพียรโดยชอบ) ด้วยกัลยาณกรรมอย่างหนึ่ง คือ ย่อมบำเพ็ญสุจริต 3 ย่อม
รักษาศีล 5 ศีล 10 เมื่อบุคคลเกิดในกาลสมบัติ เป็นพระราชาทั้งหลายผู้ประ-
กอบด้วยเครื่องประดับทั้งปวง กรรมนั้นย่อมส่งราชกัญญาทั้งหลายอันสมควร
แก่พระราชานั้น ย่อมส่งซึ่งบรรณาการนั้น ๆ อันต่างด้วยสิ่งมีค่า มียานพาหนะ
แก้วมณี ทองคำ และเงิน เป็นต้น ให้. แม้เขาถึงการบรรพชา ย่อมมียศ
ใหญ่ มีอานุภาพใหญ่. ในข้อนั้นมีเรื่องนี้ เป็นอุทาหรณ์

เรื่องพระเจ้ากูฏกัณณราช


ได้ยินว่า พระเจ้ากูฏกัณณราช ทรงรักใคร่ พระจูฬสุธัมมเถระ
ผู้อาศัยอยู่ในกัณณคาม ใกล้ภูเขา. พระราชานั้น เมื่อประทับอยู่ใกล้หนองน้ำ
มีดอกอุบล (ในอุปปลวาปี) รับส่งให้นิมนต์พระเถระมา. พระเถระมาแล้ว
อาศัยอยู่ในวิหารชื่อว่ามาลาราม. พระราชาตรัสถามมารดาของพระเถระว่า
พระเถระย่อมพอใจในอาหารประเภทไหน ดังนี้. มารดาของพระเถระ ทูลว่า
ข้าแต่มหาราช พระเถระพอใจในเผือก ดังนี้. พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษถือ
เผือกไปสู่วิหาร เมื่อถวาย ไม่อาจเพื่อจะทอดพระเนตรดูหน้าของพระเถระ