เมนู

ดังนี้. พระเถระกล่าวว่า นี้อะไร มหาเถระ. มหาเถระกล่าวว่า หญิงเหล่านี้.
จะมาเป็นมารดาของท่าน ดังนี้. พระเถระคิดว่า สวรรค์ปรากฏขึ้นแก่มหาเถระ
แล้ว ดังนี้
บัณฑิต พึงทราบว่า อุปัฏฐานสมิงคิตา ย่อมไม่คงที่ด้วยประการ
ฉะนี้.

ในบรรดาความพรั่งพร้อม (สมังคิตา) เหล่านั้น คำว่า ความ
พรั่งพร้อมด้วยกายทุจจริตเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วในที่นี้ ด้วย
สามารถแห่งความพรั่งพร้อมด้วยอายูหนะ เจตนา และกรรม ดังนี้. คำที่เหลือ
ในที่ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อธิบายกำลังที่ 1 ของพระตถาคต จบ

อธิบายกำลังที่ 2 ของพระตถาคต


ว่าด้วยกรรมสมาทานอันเป็นบาป


คำว่า คติสมฺปตฺติปฏิพาฬฺหานิ (แปลว่า อันคติสมบัติห้ามไว้)
อธิบายว่ากัมมสมาทานอันเป็นบาป อันคติสมบัติห้ามไว ป้องกันไว้ และ
ปฏิเสธแล้ว. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้.
อนึ่ง ในคำว่า คติสมบัติ* นี้ ได้แก่ คติที่สมบูรณ์ คือเทวโลก
และ มนุษยโลก.
คำว่า คติวิบัติ ได้แก่ คติชั่ว คืออบายภูมิ 4.
ความสำเร็จด้วยดีในอัตภาพ ชื่อว่า อุปธิสมบัติ.

*. สมบัติ 4 คติสมบัติ อุปธิสมบัติ กาลสมบัติ ปโยคสมบัติ, วิบัติ 4 คือ คติวิบัติ อุปธิวิบัติ
กาลวิบัติ ปโยควิบัติ.

ความมีอัตภาพเลว ชื่อว่า อุปธิวิบัติ.
กาลอันสมบูรณ์ กล่าวคือ เป็นกาลอันเจริญของพระราชาผู้ทรงธรรม
และชนผู้มีใจดี ชื่อว่า กาลสมบัติ.
กาลอันพิบัติ กล่าวคือ กาลที่มีพระราชาชั่วและบุคคลผู้มีใจทราม
ชื่อว่า กาลวิบัติ.
การประกอบโดยชอบ ชื่อว่า ปโยคสมบัติ.
การประกอบในทางที่ผิด ชื่อว่า ปโยควิบัติ.
ในบรรดาคำเหล่านั้น บาปกรรมมีจำนวนมาก ย่อมมีแก่บุคคลบาง
คน. บาปกรรมนั้น พึงให้ผลแก่ผู้ดำรงอยู่ในคติวิบัติ. แต่บุคคลเกิดขึ้นในคติ
สมบัติ คือในเทพทั้งหลาย หรือมนุษย์ ด้วยกัลยาณกรรมอย่างหนึ่งวาระของ
อกุศลย่อมไม่เกิดในฐานะเช่นนั้น วาระของกุศลโดยส่วนเดียวเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กรรมเหล่านั้น (บาป
กรรม) อันคติสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลแก่บุคคลนั้น ด้วยประการ
ฉะนี้.

บุคคลอื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก. บาปกรรมเหล่านั้น ก็พึงให้ผลแก่
บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอุปธิวิบัติ. อนึ่ง บุคคลนั้นตั้งอยู่ในอุปธิสมบัติ ซึ่งมีสัณฐาน
และอวัยวะน้อยใหญ่ตั้งอยู่ดีแล้ว มีรูปงาม น่าชม เช่นกับบุตรของพรหม ด้วย
กัลยาณกรรม อย่างหนึ่ง แม้แต่เกิดเป็นทาสในท้องของนางทาสี อัตภาพ
อันมีอย่างนี้ เป็นสภาพไม่สมควรแก่การงานอันเศร้าหมอง เพราะฉะนั้น
กัลยาณกรรมนั้นย่อมไม่ยังบุคคลนั้นให้ทำการงานต่ำ มีการผูกเท้าช้าง แพะ ม้า
และเลี้ยงโคเป็นต้น ย่อมให้นุ่งห่มผ้าเนื้อละเอียด ย่อมตั้งไว้ในตำแหน่ง ผู้
รักษาพระคลัง (ภัณฑาคาริก) เป็นต้น ถ้าเป็นหญิง กัลยาณกรรมนั้นย่อม

ไม่ให้กระทำการงานต่ำ มีการให้อาหารช้างเป็นต้น แต่จะให้ผ้าและเครื่อง
ประดับ หรือทำหญิงนั้นให้นอนในที่นอนอันสวยงาม ย่อมตั้งไว้ในตำแหน่ง
ราชวัลลภ (ตำแหน่งคนสนิท) ราวกะ พระโสมเทวี.
ได้ยินว่า ในกาลแห่ง พระเจ้าภาติกราช พวกอำมาตย์ทั้งหลาย
จับชนทั้งหลายจำนวนมากผู้อาศัยเนื้อโคเป็นอยู่ แสดงต่อพระราชา ถูกพระ
ราชาตรัสถามว่า พวกท่านย่อมสามารถเพื่อให้ค่าปรับหรือ กราบทูลว่า พวก
ข้าพระองค์ไม่อาจ ดังนี้. ลำดับนั้นจึงให้ชนเหล่านั้น ทำความสะอาดที่พระลาน-
หลวง, ธิดาคนหนึ่งของพวกต้องหาเหล่านั้นมีรูปงาม น่าดู น่าชม. พระราชา
ทรงทอดพระเนตรเห็นธิดานั้น จึงทรงให้นำมาตั้งไว้ในตำแหน่งราชวัลลภ
ภายในพระราชมณเฑียร. แม้ญาติทั้งหลายที่เหลือ ก็มีชีวิตอยู่เป็นสุข ด้วย
อานุภาพของหญิงนั้น. จริงอยู่ ในอัตภาพเห็นปานนั้น แม้บาปกรรมทั้งหลาย
ก็ย่อมไม่อาจเพื่อให้ผล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลาย
อันอุปธิสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ด้วยประการฉะนี้.

บาปกรรมทั้งหลายจำนวนมาก ย่อมให้ผลแก่บุคคลบางคน บาปกรรม
เหล่านั้น พึงให้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในกาลวิบัติ. อนึ่งบุคคลนั้น เกิดขึ้นแล้ว
ด้วยกัลยาณกรรมอย่างหนึ่ง ในกาลแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม และมนุษย์ผู้ใจ
ดี เช่นในสมัยเป็นที่บังเกิดขึ้นแห่งชนผู้เกิดอยู่ในปฐมกัป หรือพระเจ้า-
จักรพรรดิ หรือว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วใน
กาลเช่นนั้น โอกาสเพื่อให้วิบากของอกุศลย่อมไม่มี โอกาสของกุศลอย่างเดียว
เท่านั้น มีอยู่.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลาย
อันกาลสมบัติ ห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ด้วยประการฉะนี้.

บุคคลอื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมเหล่านั้น พึงให้ผลแก่บุคคล
ผู้ตั้งอยู่ในปโยควิบัติ. แต่ว่า บุคคลนั้นดำรงอยู่ในปโยคสมบัติ ด้วยกัลยาณ-
กรรมอย่างหนึ่ง คือเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น แล้วย่อมยังกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริตทั้งหลายให้เต็ม. ในฐานะเช่นนั้น โอกาสแห่งการให้
ผลของอกุศลย่อมไม่มี มีแต่โอกาสของกุศลอย่างเดียวเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมเหล่านั้น
อันปโยคสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ด้วยประการฉะนี้.

บุคคลแม้อื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมเหล่านั้น ไม่พึงให้ผล
แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในคติสมบัติ. แต่บุคคลนั้น เกิดในคติวิบัติ ด้วยบาปกรรม
อย่างหนึ่งนั่นแหละ บาปกรรมเหล่านั้นพึงเข้าถึงบุคคลนั้นในที่นั้นแล้วก็ย่อม
ให้ผลทุก ๆ ครั้ง ย่อมให้เกิดในนรกตามกาลอันควร เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจ-
ฉาน... ในปิตติวิสัย ... ในอสุรกายตามกาลอันควร ย่อมไม่ให้เพื่ออันยก
ศีรษะขึ้นจากอบายแม้สิ้นกาลนาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่อาจเพื่อให้ผล เพราะความที่บาปกรรมเหล่านั้นอันคติสมบัติ
ห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผลเพราะอาศัยคติวิบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บุคคลแม้อื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมเหล่านั้น ไม่พึงให้ผล
แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอุปธิสมบัติ. แต่ว่า บุคคลนั้น ตั้งอยู่ในอุปธิวิบัติด้วยกรรม
นึ่งนั่นแหละ ให้เป็นผู้มีผิวพรรณทราม มีรูปชั่ว มีสัณฐานไม่ดี น่าเกลียด
เช่นกับปีศาจ. ถ้าว่าเขาเกิดเป็นทาสในท้องของนางทาสี บาปกรรมเหล่านั้น
ย่อมสมควรแก่บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บาปกรรมทั้งปวง ย่อมยังบุคคลนั้น
ให้กระทำการงานอันเศร้าหมอง โดยที่สุด ย่อมให้เข้าไปอาศัยการงานของคน

เทดอกไม้. ถ้าเขาเกิดเป็นหญิง บาปกรรมเหล่านั้นสมควรแก่ความเป็นหญิง
คือ ย่อมให้หญิงนั้นทำการงานอันเศร้าหมอง มีการให้อาหารช้างเป็นต้น. หญิง
นั้นแม้เกิดในบ้านมีตระกูลก็จะเหมือนหญิงเจ้าเรือนของมหากุฎุมพีในบ้าน
โกตลวาปี ที่ถูกราชบุรุษจับไปด้วยสำคัญว่าเป็นนางทาสี.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่อาจเพื่อให้ผล เพราะความที่บาปกรรมนั้น อันอุปธิสมบัติ
ห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผลเพราะอาศัยอุปธิวิบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บุคคลแม้อื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมเหล่านั้น ไม่พึงให้ผล
แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในกาลสมบัติ. แต่ว่า บุคคลนั้น เกิดในกาลวิบัติ ด้วย
บาปกรรมหนึ่ง คือในกาลที่มีพระราชาไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม มนุษย์ชั่ว หรือ
ในกาลแห่งสัตว์มีอายุขัย 10 ปี ซึ่งเป็นกาลลามก ไร้ค่า. ในกาลเช่นนั้น แม้
เบญจโครสย่อมเสื่อมไปเป็นจำนวนมาก หญ้ากับแก้นับว่าเป็นอาหารอันเลิศ.
แม้บุคคลนั้นเกิดในมนุษยโลกก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาก็มีการเป็นอยู่คล้ายกับ
เนื้อ หรือสัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นอาหาร ในกาลเห็นปานนี้ โอกาสของการให้ผล
ของกุศลย่อมไม่มี มีแต่โอกาสของอกุศลโดยส่วนเดียวเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมจำนวน
มาก ย่อมไม่อาจให้ผล เพราะกาลสมบัติห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผลได้
เพราะอาศัยกาลวิบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บุคคลแม้อื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมนั้น ไม่พึงให้ผลแก่
บุกคลผู้ตั้งอยู่ในปโยคสมบัติ แต่ว่า บุคคลนั้นตั้งอยู่ในกาลวิบัติแล้ว ย่อม

กระทำอกุศลกรรม 10 มีปาณาติบาตเป็นต้น. ราชบุรุษทั้งหลายจับผู้ทำกรรม
อันหยาบช้านั้นนั่นแหละแสดงต่อพระราชา พระราชาทรงให้กรรมกรณ์ (การ
ทรมานทางกาย) เป็นอันมากแล้วก็ให้ฆ่าเสีย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลายมาก
ย่อมไม่อาจให้ผล เพราะความที่ปโยคสมบัติห้ามไว้ แต่ก็ย่อมให้ผล
ได้เพราะอาศัยปโยควิบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บาปกรรม อันสมบัติทั้ง 4 (คือ คติสมบัติ อุปธิสมบัติ กาลสมบัติ
ปโยคสมบัติ) ห้ามไว้จึงไม่ให้ผล แต่ย่อมให้ผลเพราะอาศัยวิบัติ 4 (มี
คติวิบัติเป็นต้น) ด้วยประการฉะนี้.

เหมือนอย่างว่า บุรุษบางคนนั่นแหละ พึงให้พระราชาชอบพระทัย
ด้วยการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ทีนั้น พระราชาพึงให้ฐานันดร แล้วก็ให้
ชนบทแก่เขา (บ้านส่วย). บุรุษนั้นไม่อาจเพื่อใช้สอยชนบทนั้นโดยชอบ พึงทำ
ให้พินาศไป เหมือนภาชนะใส่ภัตที่วานรวิ่งถือไปแล้ว. บุรุษนั้น เห็นสิ่งที่ชอบ
ใจอันใด คือ ยานหรือพาหนะ ทาสหรือทาสี ที่สวนหรือที่นา ของบุคคลใด
ก็พึงถือเอาสิ่งทั้งปวงนั้นโดยพละการ พวกมนุษย์ไม่อาจเพื่อจะว่ากล่าวอะไร ๆ
ด้วยสำคัญว่า ผู้นี้เป็น ราชวัลลภ ดังนี้ ทั้งเขาผู้นั้นก็พึงทำร้ายบุคคลผู้สนิทสนม
กับพระราชา หรือทำร้ายมหาอำมาตย์ของพระราชามหาอำมาตย์นั้น จับบุรุษนั้น
ให้โบยแล้ว ๆ ก็จับมัดมือให้ลากไปเฝ้าพระราชา กราบทูลให้ทรงทราบว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ บุรุษชื่อโน้น ทำลายชนบทของพระองค์ดังนี้.
พระราชารับสั่งให้จองจำในตะรางแล้ว ก็ให้ราชบุรุษตีกลองประกาศในพระนคร
ว่า บุรุษชื่อโน้น ลักของอะไรของใคร ดังนี้. พวกมนุษย์มาแล้วก็พึงยังเสียง
ตะโกนตั้งพันว่า วัตถุนี้ของเรา อันบุรุษนั้นถือเอาแล้ว วัตถุนี้ของเรา อันบุรุษ

นี้ถือเอาแล้ว ดังนี้. พระราชาทรงกริ้วด้วยเหตุเพียงด้วยคำนั้น จึงทำบุรุษนั้นให้
ลำบากในเรือนจำโดยประการต่าง ๆ แล้วก็ให้ประหารเสีย แล้วตรัสว่า พวก
ท่านจงไป จงลากบุรุษนั้นไปทิ้งในป่าช้า ให้สมกับความผิด ดังนี้. คำอุปมา
เป็นเครื่องยังอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้ บัณฑิตพึงทราบอย่างนี้.
ก็ในกาลแห่งปุถุชนแม้เกิดในสวรรค์ด้วยบุญกรรมอย่างใด
อย่างหนึ่ง นั่นแหละ เปรียบเหมือนกาลที่บุรุษนั้นทำการงานอย่าง
ใดอย่างหนึ่งให้พระราชาชอบพระทัย แล้วจึงได้ฐานันดร. กาลที่
อกุศลกรรมไม่ได้โอกาสให้ผล ก็เพราะบุคคลนั้นเกิดในสวรรค์แม้นี้
เปรียบเหมือนกาลที่ใคร ๆ ไม่อาจว่ากล่าวคำอะไร ๆ ในเมื่อบุรุษนั้น
ทำลายชนบทนั้น และถือเอาสิ่งของ ๆ มนุษย์ทั้งหลาย.

กาลที่บุรุษนี้เคลื่อนจากสวรรค์แล้วเกิดในนรก เปรียบเหมือนกาลที่
บุรุษนั้นทำร้ายราชวัลลภคนหนึ่ง ในวันหนึ่ง แล้วถูกราชบุรุษทุบตี แล้ว
กราบทูลแด่พระราชา เพราะทรงกริ้วจึงให้จองจำในเรือนจำ. กาลที่บุรุษนั้น
เกิดในนรกแล้วรับอกุศลกรรมทั้งปวงที่มาประชุมกันนั้น เปรียบเหมือนกาล
ตะโกนของมนุษย์ทั้งหลายว่า วัตถุนี้ของเรา อันบุรุษนี้ถือเอาแล้ว วัตถุนี้ของ
เรา อันบุรุษนี้ถือเอาแล้ว ดังนี้. กาลที่เขาถูกเผาในนรกตลอดกัปทั้งสิ้น ไม่
อาจยกศีรษะขึ้นจากนรกได้ ด้วยวิบากของกรรมนี้ ๆ จนกว่ากรรมหนึ่ง ๆ จะ
สิ้นไป เปรียบเหมือนกาลนำบุรุษนั้นมาทิ้งไว้ในป่าช้า อันเหมาะแก่กรรมของ
ตน. จริงอยู่ สัตว์ที่ถูกไหม้ในนรกสิ้นกัปหนึ่ง เพราะทำกรรมอันให้ตั้งอยู่
ตลอดกัป มิใช่คนเดียว มิใช่สองคน มิใช่ร้อยคน มิใช่พันคน. ได้ยินว่า
สัตว์ทั้งหลายที่ถูกไหม้ด้วยอาการอย่างนี้ เหลือประมาณที่จะนับ.

ว่าด้วยกรรมสมาทานอันเป็นกุศล


แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า กรรมสมาทานอันเป็นกุศลบางอย่าง
มีอยู่ กรรมสมาทานนั้นอันคติวิบัติห้ามไว้ ย่อมไม่ให้ผล
ดังนี้ เป็นต้น
บัณฑิตพึงประกอบเนื้อความ อย่างนี้.
กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แก่บุคคลบางคนในโลกนี้ กรรมนั้น
พึงให้ผลแก่ผู้ตั้งอยู่ในคติสมบัติ. แต่ว่า เขาผู้นั้นไปเกิดในคติวิบัติ คือ ใน
นรก หรือในอสุรกาย ด้วยบาปกรรมอย่างหนึ่ง. ในฐานะเช่นนี้ กุศลย่อม
ไม่อาจเพื่อให้ผล อกุศลเท่านั้นย่อมให้ผลโดยส่วนเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กุศลกรรมเหล่านั้น
ของบุคคลนั้น อันคติวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ดังนี้ ด้วยประการ
ฉะนี้.

กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แม้แก่บุกคลอื่นอีก กรรมนั้น พึงให้
ผลแก่ผู้ตั้งอยู่ในอุปธิสมบัติ. แต่ว่าเขาตั้งอยู่ในอุปธิวิบัติ ด้วยบาปกรรมหนึ่ง
คือ เป็นผู้มีผิวพรรณทราม เช่นกับปีศาจ แม้ว่าเขาเกิดในราชตระกูล โดย
การอันล่วงไปแห่งพระบิดาย่อมไม่ได้ราชสมบัติ เพราะว่า อะไร ๆ ด้วยราช
สมบัติของผู้นี้หาสิริมิได้. แม้เกิดในบ้านของเสนาบดีเป็นต้น ก็ย่อมไม่ได้
ตำแหน่งเสนาบดี หรือตำแหน่งเศรษฐี. ก็เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งเนื้อความนี้
พึงทราบเรื่องพระเจ้าทีปราช.

เรื่องพระเจ้าทีปราช


ได้ยินว่า พระราชา เมื่อพระราชบุตรประสูติแล้ว ทรงเลื่อมใสใน
พระเทวี จึงได้ทรงประทานพร พระเทวีนั้นรับพรแล้ว ทรงยับยั้งอยู่. ต่อมา
พระกุมารมีชันษา 7 พรรษา ได้ให้ราชบุรุษนำไก่มาชนกันที่พระลานหลวง