เมนู

อธิบายการบังเกิดขึ้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ


คำว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา ได้แก่ จักรวาลหนึ่ง. อธิบายว่า
ท่านถือเอาหมื่นจักรวาล ด้วยบทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา นี้เช่นนี้ในหนหลัง
นั่นแหละ. การกำหนดหมื่นจักรวาลแม้เหล่านั้น ด้วยจักรวาลหนึ่งนั่นแหละ
ก็ควร. เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อบังเกิด ย่อมบังเกิดในจักรวาลนี้เท่านั้น.
ก็เมื่อฐานะคือการบังเกิดขึ้น อันธรรมดาห้ามแล้ว ที่ชื่อว่า ห้ามไว้แล้ว เพราะ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงบังเกิดในจักรวาลอื่น ๆ นอกจากจักรวาลนั้น.
ในคำว่า อปุพฺพํ อจริมํ (แปลว่า ไม่ก่อน ไม่หลัง) ได้แก่ ชื่อว่า
ก่อน (ปุพฺพํ) เพราะก่อนแต่กาลปรากฏของจักรรัตนะ. ชื่อว่าหลัง (จริมํ)
เพราะหลังแต่จักรรัตนะนั้นนั่นแหละอันตรธานแล้ว. ในคำเหล่านั้น การ
อันตรธานแห่งจักรรัตนะมี 2 คือ เพราะการสวรรคตของพระเจ้าจักรพรรดิ
หรือว่าการทรงบรรพชา อนึ่ง จักรรัตนะนั้น เมื่อจะอันตรธาน ย่อมอันตรธาน
ในวันที่ 7 นับจากการสวรรคตหรือทรงบรรพชา. เบื้องหน้าจากนั้น ความ
ปรากฏของพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์อื่นอันธรรมดามิได้ห้ามไว้ ก็เพราะเหตุไร
เพราะพระเจ้าจักรพรรดิสองพระองค์มิได้ทรงอุบัติขึ้นร้อมกันในจักรวาลเดียว
กัน เพราะทำให้เกิดความวิวาท เพราะไม่เป็นสิ่งอัศจรรย์และเพราะความมี
อานุภาพมากแห่งจักรรัตนะ. จริงอยู่ เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิสองพระองค์บังเกิด
อยู่ ความวิวาทพึงเกิดขึ้นว่า ราชาของพวกเราใหญ่ ราชาชองพวกเราใหญ่
ดังนี้ อนึ่ง ความไม่เกิดอัศจรรย์พึงเกิดขึ้นว่า ในทวีปหนึ่งมีพระเจ้าจักรพรรดิ
และในทวีปหนึ่งโน้นก็มีพระเจ้าจักรพรรดิ ดังนี้ ก็ผู้ใดนี้สามารถเพิ่มให้จักร
รัตนะ เพื่อความเป็นใหญ่ในทวีปใหญ่ทั้ง 4 ซึ่งมีทวีปสองพันเป็นบริวาร
อานุภาพใหญ่แห่งจักรรัตนะนั้น พึงเสื่อมไป เพราะเหตุนั้น พระเจ้าจักรพรรดิ

สองพระองค์จึงชื่อว่า จึงไม่เกิดขึ้นในจักรวาลเดียวกัน เพราะเข้าไปตัดความ
วิวาท เพราะความไม่อัศจรรย์ และเพราะความมีอานุภาพมาก (มีมากแห่ง)
ของจักรรัตนะ.

อธิบายหญิงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นไม่ได้


ในข้อว่า ยํ อิตฺถี อรหํ อสฺส สมฺมาสมฺพุทฺโธ (แปลว่าหญิงจะ
พึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า) นี้ อธิบายว่า ความเป็นพระพุทธเจ้าผู้
สามารถข้ามโลกเพราะยังคุณคือ สัพพัญญู ให้เกิดขึ้นนั้น จงยกไว้ก่อน แม้
เหตุสักว่าการตั้งปณิธาน (การตั้งความปรารถนา) ก็ย่อมไม่สำเร็จแก่หญิง.
มนุสฺสตฺตํ ลิงฺคสมฺปตฺติ เหตุ สตฺถารทสฺสนํ
ปพฺพชฺชา คุณสมฺปตฺตํ อธิกาโร จ ฉนฺทตา
อฏฺฐธมฺมสโมธานา อภินีหาโร สมิชฺฌติ
แปลว่า
จริงอยู่ เหตุอันเป็นปณิธานสมบัติเหล่านี้ คือ อภินีหาร (ความ
ปรารถนาดังใจจริง) ย่อมสำเร็จพร้อมเพราะธรรมสโมธาน (การประชุมแห่ง
ธรรม) 8 ประการ คือ
1. มนุสฺสตฺตํ (เมื่อตั้งความปรารถนา ต้องเป็นมนุษย์)
2. ลิงฺคสมฺปตฺติ (ลิงคสมบัติคือเป็นเพศชาย)
3. เหตุ (มีเหตุคือสร้างกุศลมาก สมควรจะเป็นพระอรหันต์
ได้)

4. สตฺถารทสฺสนํ (พบพระพุทธเจ้าและได้รับพยากรณ์)
5. ปพฺพชฺชา (บวชเป็นภิกษุ สามเณร หรือฤาษีผู้เป็น
กัมมวาที)