เมนู

ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น
ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อม
น้อมจิตเข้าไปในเวทนาภายนอก.

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอก


[442] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกเนือง ๆ อยู่
เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนาว่า เขาผู้นั้น
กำลังเสวยสุขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยทุกขเวทนาว่า เขาผู้นั้นกำลัง
เสวยทุกขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาว่า เขาผู้นั้นกำลัง
เสวยอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้น
กำลังเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
ว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยทุกข-
เวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้
กำลังเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวย
อทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มี
อามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส.
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น
ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อม
น้อมจิตเข้าไปในเวทนาทั้งภายในและภายนอก.

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอก


[443] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภาย
นอก
เนือง ๆอยู่เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดสุขเวทนาว่า เป็นสุขเวทนา รู้ชัดทุกขเวทนา
ว่า เป็นทุกขเวทนา รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัด
สุขเวทนามีอามิสว่า เป็นสุขเวทนามีอามิส รู้ชัดสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็น
สุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดทุกขเวทนามีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนามีอามิส รู้ชัด
ทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
ว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนามีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็น
อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส.
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายใน
และภายนอกเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสเสียได้ในโลก.
[444] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนือง ๆ มีนิเทศ
ว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็น
เนือง ๆ.

บทว่า อยู่ มีนิเทศว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า
อยู่.
บทว่า มีความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่ามีความเพียร.