เมนู

อาศัยแล้วในกาลก่อน มีประการตามที่กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้
ด้วยคำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณํ แม้นี้.
คำว่า สตฺตานํ จุตูปปาเต ญาณํ ได้แก่ ญาณในการจุติและใน
การอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า ปัญญาในอัปปนาเทียวอันเป็นขณะแห่ง
จิคดวงหนึ่งซึ่งมีวรรณธาตุของสัตว์ทั้งหลายผู้ตายและเกิดเป็นอารมณ์มีประการ
ตามที่กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำว่า สตฺตานํ จุตูปปาเต
ญาณํ
แม้นี้.
คำว่า อาสวานํ ขเย ญาณํ (แปลว่า อาสวักขยญาณ) ได้แก่ ญาณ
เป็นเครื่องกำหนดรู้สัจจะ ก็ญาณนี้เท่านั้นเป็นโลกุตตระ ญาณที่เหลือ 5 เป็น
โลกีย์ ดังนี้แล.
ญาณวัตถุหมวด 6 จบ

อรรถกถาสัตตกนิทเทส


อธิบายญาณวัตถุหมวด 7


พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสซึ่งปัจจเวกขณญาณอันต่างโดยกาล 3 ใน
องค์แห่งปฏิจจสมุปบาท 11 ไว้แต่ละองค์ ด้วยสามารถแห่งความเป็นไปและไม่
เป็นไป โดยนัยว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เป็นต้น แล้วก็ตรัสญาณอันใด
นั้นโดยสังเขปอย่างนี้ว่า ความรู้ว่า ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้น ดังนี้อีก โดย
ประการทั้งหลาย มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นต้น. บรรดาญาณเหล่านั้น
ญาณ 2 หมวด คือ ชรามรณะเกิดเพราะชาติปัจจัย เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะ

ก็ไม่มี ดังนี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งปัจจุบันกาลอันยาวนาน*. ญาณ 6 เหล่า
นี้ คือ ญาณ 2 หมวดในอดีต และญาณ 2 หมวดในอนาคต อย่างนี้ว่า อดีต
กาลอันยาวนานก็ดี อนาคตอันยาวนานก็ดี (รวมปัจจุบันอีก 2) เป็น 7 กับ
ด้วย ธัมมฐิติญาณ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ธมฺมฐิติญาณํ (แปลว่า
ปัญญาในการกำหนดปัจจัย) ได้แก่ ญาณในปัจจยาการ จริงอยู่ ปัจจยาการ
(คือธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น) พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมเรียกว่า ธรรมฐิติดังนี้
เพราะความที่ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเหตุ (การณะ) แห่งการเป็นไปและ
ตั้งอยู่. ธัมมฐิติญาณนี้ เป็นชื่อของญาณ 6 อย่างนั้น นั่นแหละ. เพราะทำ
ญาณเหล่านั้นในองค์หนึ่ง ๆ ให้เป็นหมวดละ 7 ละ 7 ในองค์ 1 (ปัจจยาการ
11) จึงรวมเป็น 77 ญาณ ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ขยธมฺมํ (แปลว่า มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา) ได้แก่สภาวะอันถึงซึ่งความสิ้นไป. คำว่า วยธมฺมํ (แปลว่า มีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา) ได้แก่สภาวะอันถึงซึ่งความเสื่อมไป. คำว่า วิราคธมฺมํ
(แปลว่า มีความคลายไปเป็นธรรมดา) ได้แก่ ภาวะอันไม่น่ายินดี. คำว่า
นิโรธธมฺมํ (แปลว่า มีความดับไปเป็นธรรมดา) ได้แก่ สภาวะอันหมด
ไป.
ถามว่า มีประโยชน์อะไร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยคำกล่าว
มานี้.
ตอบว่า เพื่อวิปัสสนาในเวลาอื่นอีก (คือ ในอนาคตกาล) พระผู้-
มีพระภาคเจ้าจึงตรัสให้พิจารณาด้วยวิปัสสนาในธรรมอันมีมาก่อน.

*. ปัจจุบัน 4 คือ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันสันตติ ปัจจุบันสมัย และปัจจุบันอัทธา อดีตและ
อนาคต ก็มีอย่างละ 4 เช่นเดียวกัน (จากสัมโมหวิโนทนี อรรถกถา หน้า 9)

ถามว่า ด้วยคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซึ่งวิปัสสนาอย่างไร ?
ตอบว่า ตรัสวิปัสสนา และปฏิวิปัสสนา สิ้น 7 ครั้ง.
จริงอยู่ ญาณ (วิปัสสนา) นั้น ย่อมควรเพื่ออันเห็นด้วยญาณ
(วิปัสสนาญาณ) ที่ 2 เพราะเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ใน
สังขารทั้งปวงด้วยญาณ (วิปัสสนา) ที่ 1. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 2 ย่อม
ควรเพื่ออันเห็นสภาพเหล่านั้น ด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 3. ญาณ (วิปัส-
สนาญาณ) ที่ 3 ย่อมควรเพื่อการเห็นสภาพเหล่านั้นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ)
ที่ 4. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 4 ย่อมควรเพื่ออันเห็นสภาพเหล่านั้นด้วย
ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 5. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 5 ย่อมควรเพื่ออัน
เห็นสภาพเหล่านั้นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 6. ญาณ (วิปัสสนาญาณ)
ที่ 6 ย่อมควรเพื่ออันเห็นสภาพเหล่านั้นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 7 อีก.
ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสวิปัสสนา และปฏิวิปัสสนาไว้สิ้น
7 ครั้ง ฉะนี้แล.
ญาณวัตถุหมวด 7 จบ

อรรถกถาอัฏฐกนิทเทส


อธิบายญาณวัตถุหมวด 8


คำว่า โสตาปตฺติมคฺเค ปญฺญา ได้แก่ ปัญญาในโสดาปัตติมรรค
อธิบายว่า ปัญญาอันสัมปยุตด้วยโสดาปัตติมรรคนี้นั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ด้วยคำว่า โสตาปตฺติมคฺเค ปญฺญา นี้. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัย
นี้ แล.
ญาณวัตถุหมวด 8 จบ