เมนู

บุคคลผู้ได้สมาธิอันยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว. ก็คำว่า แผ่อารมณ์ไปหาประมาณ
มิได้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อการแผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย.
คำที่เหลือเช่นกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

อธิบาย มัคคสมังคิญาณ เป็นต้น


คำว่า ชรามรเณเปตํ ญาณํ (แปลว่า ญาณแม้ในชราและมรณะ)
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดเป็นอันเดียวกัน
แห่งสัจจะทั้ง 4 เพราะกระทำพระนิพพานนั่นแหละให้เป็นอารมณ์. ก็คำว่า
ชรามรณํ อารพฺภ (แปลว่า ปรารภชราและมรณะ) เป็นต้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการกำหนดสัจจะในบุพภาคในเวลาที่
ปรารภวัตถุ (วัตถุสัจจะ) หนึ่ง ๆ เป็นไป. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีอรรถ
ตื้นทั้งนั้น แล.
ญาณวัตถุหมวด 4 จบ

อรรถกถาปัญจกนิทเทส


อธิบายญาณวัตถุหมวด 5


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป เป็นต้น. ปัญญาใด
เกิดขึ้นแผ่ไปซึ่งปีติ เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌานทั้งสองนั้น จึงชื่อว่า แผ่ปีติ
ไป
. ปัญญาใดเกิดขึ้นแผ่ไปซึ่งความสุข เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌานทั้ง 3
นั้น จึงชื่อว่า แผ่ความสุขไป. ปัญญาใด เกิดขึ้นแผ่จิตไปสู่บุคคลอื่น
เพราะเหตุนั้น ปัญญากำหนดจิตบุคคลอื่นนั้น จึงชื่อว่า แผ่จิตไป. ปัญญา
ใด เกิดขึ้นแผ่อาโลกะ คือแสงสว่างไป เพราะเหตุนั้น ปัญญาอันเป็นทิพย-

จักษุนั้น จึงชื่อว่า แผ่แสงสว่างไป. ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่า ปัจจเวก-
ขณนิมิต.
คำว่า ปญฺญา ปีติผรณตา เป็นต้น ในฌาน 2 พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ โดยคำเช่นกับที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ก็ในคำเหล่านั้น การแผ่ปีติไป การแผ่สุขไป เป็นดุจเท้าทั้งสอง การ
แผ่จิตไป การแผ่อาโลกะ คือแสงสว่างไปเป็นราวกะมือทั้งสอง ฌานอันเป็น
บาทแห่งอภิญญาเป็นราวกะกายในท่ามกลาง ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ทรงแสดงสัมมาสมาธิมีองค์ 5 ราวกะบุรุษผู้ถึงพร้อมแล้ว ด้วยส่วนประกอบ
แห่งร่างกาย (คืออวัยวะน้อยใหญ่) ด้วยประการฉะนี้. คำว่า อยํ ปญฺจงฺคิโก
สมฺมาทิฏฐิ
(แปลว่า นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีองค์ 5) อธิบายว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตรัสสมาธิแห่งฌานอันเป็นบาทว่า พระโยคาวจรนี้ ประกอบแล้ว
ด้วยองค์ 5 เช่นกับด้วยมือ เท้า และศีรษะ ว่าเป็น สัมมาสมาธิ ดังนี้.

อธิบายสัมมาสมาธิมีฌาน 5


สมาธิในอรหัตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในคำว่า
อยํ สมาธิ ปจฺจุปฺปนฺนสุโข เจว เป็นต้น (เเปลว่า สมาธินี้ มีสุขในปัจจุบัน
ด้วย) ก็สมาธินั้น ชื่อว่า มีสุขในปัจจุบัน เพราะความเป็นสุขในขณะแห่งสมาธิ
นั้นแน่วแน่แล้ว ๆ สมาธิที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สมาธิที่เกิดหลัง ๆ จึงชื่อว่า
มีสุขเป็นวิบากต่อไป เพราะความที่สุขนั้นเป็นปัจจัย. สมาธินั้น ย่อมยังผลจิต
อันสงบ อันสุขุม อันประณีต อันเป็นมธุรรูป (รูปที่ดี) ให้ตั้งขึ้น.
จริงอยู่ เมื่อบุคคลออกจากผลสมาบัติแล้ว กายวิญญาณที่สหรคตด้วย
ความสุขอาศัยโผฏฐัพพะมีสัมผัสเป็นสุขอันเข้าถึงกายทั้งปวง ย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า
มีสุขเป็นวิบากต่อไปโดยปริยายแม้นี้. สมาธินี้ ชื่อว่า อริยะ (ไกล) เพราะ
ไกลจากกิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า หาอามิสมิได้ เพราะความไม่มีนิมิต คือ กาม