เมนู

อรรถกถาจตุกกนิทเทส


อธิบาย ญาณวัตถุหมวด 4


ในคำว่า อตฺถิ ทินฺนํ เป็นต้น (แปลว่า ทานที่ให้แล้วมีผล) บัณฑิต
พึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้ว่า ผลมีอยู่เพราะทานอันตนไห้แล้วเป็น
ปัจจัย
ดังนี้.
คำว่า อิทํ วุจฺจติ (แปลว่า นี้เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ) อธิบายว่า
ญาณใดย่อมรู้ว่า นี้เป็นกรรมของตน นี้มิใช่ของตน ดังนี้ ญาณนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกชื่อว่า กัมมัสสกตาญาณ.
ในบรรดากรรมทั้งสอง (คือ ทั้งของตนและมิใช่นั้น)
กรรม คือ กายทุจจริต 3 วจีทุจจริต 4 มโนทุจจริต 3
เหล่านี้ ไม่ชื่อว่า เป็นกรรมของตน.

สุจริตกรรมแม้ทั้ง 10 อย่างในทวารทั้ง 3 ชื่อว่าเป็นกรรม
ของตน.

อกุศลแม้ทั้งหมดจะเป็นของตน หรือของบุคคลอื่นก็ตาม
ไม่ชื่อว่า เป็นกรรมของตน.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะทำลายซึ่งประโยชน์ และเพราะการเกิดขึ้นแห่งความ
เสื่อม.
กุศลแม้ทั้งหมดจะเป็นของตนเอง หรือของผู้อื่นก็ตาม ชื่อว่า เป็น
กรรมของตน.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะการทำลายสิ่งซึ่งมิใช่ประโยชน์ และเพราะให้ประ-
โยชน์เกิดขึ้น.
ครั้นเมื่อกุศลสามารถเพื่ออันยังประโยชน์ (ความเจริญ) ให้เกิดขึ้น
อย่างนี้ การกำหนดจำนวนบุคคลผู้ตั้งอยู่ในกัมมัสสกตาญาณนั้นว่า
กัมมัสสกตาญาณนี้ คือ ผู้ให้ทานมากแล้วยังศีลให้บริบูรณ์
สมาทานอุโบสถ แล้วเสวยความสุขด้วยความสุข เสวยสมบัติด้วย
สมบัติ แล้วบรรลุพระนิพพาน นับประมาณมิได้.

เหมือนอย่างว่า บุรุษมีทรัพย์ยังบุคคลให้ยกวัตถุทั้งหลายมีเนยใส
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น และเกลือ เมล็ดงา ข้าวสาร เป็นต้น ใส่เกวียน
5 เล่ม ดำเนินไปสู่ทางกันดาร (ท่องเที่ยวไปในวัฏฏะ) ครั้นเมื่อความต้องการ
ด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เขาย่อมไม่คิด คือ ไม่สะดุ้ง ย่อมดำเนิน
ไปจนถึงที่อันเกษมนั้น เพราะความที่อุปกรณ์ทั้งปวงเป็นของอันเขาครอบครอง
แล้ว ฉันใด บุคคลผู้ตั้งอยู่ในกัมมัสสกตาญาณแม้นี้ ให้ทานเป็นอันมากฯลฯ
ย่อมดำเนินไปจนถึงพระนิพพาน จะนับจะประมาณหาได้ไม่.
คำว่า ฐเปตฺวา สจฺจานุโลมิกํ ญาณํ (แปลว่า ยกเว้นสัจจานุ-
โลมิกญาณ) อธิบายว่า ยกเว้นวิปัสสนาญาณซึ่งมีชื่อว่า สัจจานุโลมิก-
ญาณ เพราะการคล้อยตามมัคคสัจจะ และปรมัตถสัจจะแล้ว กุศล
ปัญญาที่เหลือเป็นไปกับด้วยอาสวะ ชื่อว่า กัมมัสสกตาญาณทั้งนั้น.


อธิบาย มัคคสมังคิญาณ


ในคำว่า มคฺคสมงฺคิสฺส ญาณํ ทุกฺเขเปตํ ญาณํ (แปลว่า มัคค-
สมังคิญาณ คือ ความรู้แม้ในทุกข์นี้) ได้แก่ มัคคสัจจะหนึ่งเท่านั้น ที่พระ-