เมนู

อธิบายสีลมยปัญญา


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาปัญญาอันสัมปยุตด้วยเจตนาในศีล
แม้ในคำว่า สีลํ อารพฺภ สีลาธิคจฺฉ นี้ว่า เป็น สีลมยปัญญา. ก็เมื่อคิดว่า
เราจักยังศีลให้บริบูรณ์ ดังนี้ แล้วก็ยังศีลนั้นให้บริบูรณ์อยู่ ครั้นยังศีลให้
บริบูรณ์แล้ว ก็พิจารณาศีลนั้นอยู่ สีลมยปัญญานี้จึงเกิดขึ้นโดยอาการ 3 อย่าง
คือ ปุพพเจตนา มุญจนเจตนา อปรเจตนา. สำหรับภาวนามยปัญญา ข้าพเจ้า
กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.

อธิบาย อธิสีลปัญญา เป็นต้น


ใน อธิสีลปัญญา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบศีลเป็นต้น โดยเป็น
ไปอย่างละ 2 คือ ศีล อธิศีล, จิต อธิจิต, ปัญญา อธิปัญญา. ในคำเหล่านั้น
ศีล 5 ก็ดี ศีล 10 ก็ดี ชื่อว่า ศีล ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์ลงในแบบ
แผนนี้ว่า ความอุบัติขึ้นแห่งพระตถาคตทั้งหลาย หรือไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตามที
ธาตุ ธัมมฐิติ ธัมมนิยามเหล่านั้นก็ดำรงอยู่แล้วเทียว. จริงอยู่ เมื่อพระตถาคต
ทรงอุบัติขึ้นก็ดี ยังไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ดี ศีลนั้นก็มีอยู่.
ถามว่า เมื่อพระตถาคตยังมิได้ทรงอุบัติขึ้น ใครเล่า ย่อมบัญญัติ
ศีล (คือย่อมประกาศให้รู้).
ตอบว่า ดาบส ปริพาชก สัพพัญญูโพธิสัตว์ และพระเจ้าจักร-
พรรดิราชย่อมบัญญัติศีล.
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณี-
สงฆ์ อุบาสก และอุบาสิกา ย่อมประกาศให้รู้ซึ่งศีลนั้น. อนึ่ง
เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติขึ้นแล้วนั้นแหละ ปาฏิโมกขสังวรศีลอัน