เมนู

ปัญญาที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีปัญญา
มากแม้ทั้งหมดซึ่งมีบารมีเต็มแล้ว.

อธิบายสุตมยปัญญา


ในคำว่า ปรโต สุตฺวา ปฏิลภติ นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ปัญญา
ทั้งหมดที่บุคคลได้แล้ว เพราะเห็นบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้นอันบุคคลอื่นกำลัง
ทำอยู่ หรือทำเสร็จแล้วก็ดี พึงถ้อยคำของใคร ๆ ผู้บอกอยู่ก็ดี เรียนเอาใน
สำนักของอาจารย์ก็ดี ชื่อว่า บุคคลฟังจากผู้อื่นแล้วนั่นแหละ.

อธิบายภาวนามยปัญญา


คำว่า สมาปนฺนสฺส (แปลว่า ผู้เข้าสมาบัติ) อธิบายว่า ปัญญา
ในภายในสมาบัติของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสมาบัติ ชื่อว่า ภาวนามยปัญญา.

อธิบายทานมยปัญญา


คำว่า ทานํ อารพฺภ (แปลว่า ปรารภทาน) ได้แก่ อาศัยทาน
อธิบายว่า มีเจตนาในทานเป็นปัจจัย. คำว่า ทานาธิคจฺฉ (แปลว่า บุคคล
ผู้ให้ทาน) อธิบายว่า บุคคลผู้กำลังน้อมเข้าไปให้อยู่ซึ่งทาน ชื่อว่า ผู้ให้ทาน.
คำว่า ยา อุปฺปชฺชติ (แปลว่า ย่อมเกิดขึ้น) ได้แก่ ปัญญาใด อันสัมปยุต
ด้วยเจตนาในทาน ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ปัญญานี้ ชื่อว่า ทานมยปัญญา. ก็
เมื่อบุคคลคิดว่า เราจักให้ทานดังนี้ ก็ให้ทานอยู่ ครั้นให้ทานแล้ว ก็พิจารณา
อยู่ซึ่งทานนั้น.
ทานมยปัญญานั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยอาการ 3 อย่าง คือ
ปุพพเจตนา
มุญจนเจตนา
อปรเจตนา