เมนู

อรรถกถาติกนิทเทส


อธิบายญาณวัตถุหมวด 3


จินตามยปัญญา


ปัญญา อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า โยคะ ในคำว่า โยค-
วิหิเตสุ
นี้ มีอธิบายว่า ในการจัดแจงด้วยปัญญา ชื่อว่า น้อมนำไปด้วย
ปัญญา. อายตนะคือบ่อเกิดแห่งการงานในคำว่า กมฺมายตเนสุ นี้ ชื่อว่า
การงานั่นแหละ. อีกอย่างหนึ่งแม้แต่คำว่า การงานนั้นด้วย อายตนะนั้น
ด้วย มีอยู่แก่บุคคลผู้มีอาชีพเป็นต้น ดังนี้ ก็ชื่อว่า บ่อเกิดแห่งการงาน. แม้
ในคำว่า สิปฺปายตเนสุ ก็นัยนี้.
ในคำเหล่านั้น การงานมี 2 อย่าง คือ หีนกรรม และ อุกกัฏฐกรรม
(ชนิดเลวและดี). ใน 2 อย่างนั้น การงานของช่างไม้ การงานของผู้เท
ดอกไม้ เป็นต้น ชื่อว่า หีนกรรม (ชนิดเลว). กสิกรรม วาณิชกรรม
โครักขกรรมเป็นต้น ชื่อว่า อุกกัฏฐกรรม (ชนิดดี).
แม้ในศีลปะก็มี 2 อย่าง คือ ชนิดเลว และดี.
ใน 2 อย่างนั้น ศิลปะของช่างสาน ศิลปะของช่างหูก ศิลปะของ
ช่างหม้อ ศิลปะของช่างหนัง และศิลปะของช่างตัดผมเป็นต้น ชื่อว่าชนิดเลว.
ศิลปะที่ใช้ปัญญา (มุทฺธา) ศิลปะการคำนวณ (คณนา) ศิลปะขีดเขียน (เลขํ)
เป็นต้น ชื่อว่า ชนิดดี. ฐานะแห่งวิชชา ชื่อว่า วิชชาเทียว. ฐานะแห่ง
วิชชานั้นต้องประกอบโดยธรรม ท่านจึงถือเอา. ก็หมอ พ่อค้า ซึ่งมีวิชชา
เช่นกับมนต์เครื่องคุ้มครอง คือทำให้นาคงงงวย เช่นกับมนต์ของบุคคลผู้เป่า

ไม้เลาแม่น จักษุวิทยา ศัลยกรรม เป็นต้นท่านไม่ถือเอา เพราะความที่ศิลปะ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นั้นไม่เข้าไปรวมอยู่ในศีลปะอันมีคำว่า ข้าแต่ท่าน
อาจารย์ กระผมปรารถนา เพื่อศึกษาศิลปะ ดังนี้.

นัยแห่งหีนกรรม


พึงทราบในข้อนี้ว่า บุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่ง สร้างบ้าน ปราสาท ยาน
เรือเป็นต้น โดยธรรมดาของตนเองเพื่อต้องการอยู่เป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย
เพราะว่า บุรุษผู้ฉลาดคนนั้นดำรงอยู่ด้วยการกระทำประโยชน์เกื้อกูล โดยคิด
ว่า มนุษย์เหล่านั้นเป็นทุกข์เพราะไม่มีที่เป็นที่อยู่อาศัย จึงสร้างบ้านอันต่างด้วย
บ้านมีรูปยาวและสี่เหลี่ยมเป็นต้นขึ้น และเพื่อป้องกันความหนาวและร้อนก็
สร้างปราสาทอันต่างด้วยปราสาทมีชั้นเดียวและสองชั้นเป็นต้น เมื่อยานพาหนะ
ไม่มีอยู่ ก็คิดว่า ชื่อว่า การสัญจรไปมาเป็นทุกข์ เพื่อต้องการบรรเทาความ
ปวดเมื่อยแข้งเป็นต้น ก็สร้างพาหนะเป็นเครื่องนำไปมีเกวียนและรถเป็นต้น
ครั้นเมื่อเรือไม่มีอยู่ ก็คิดว่า ชื่อว่าเครื่องสัญจรไปในสมุทรเป็นต้นไม่มี จึง
สร้างเรือมีประการต่าง ๆ. บุรุษผู้ฉลาดนั้น ย่อมไม่เห็นวัตถุทั้งหลายเหล่านั้น
ทั้งหมดที่บุคคลอื่นกระทำอยู่ มิได้เก็บเอาของที่บุคคลอื่นทำแล้วมา ย่อมไม่
ได้ฟังจากผู้อื่น ก็แต่ว่า เขาย่อมกระทำด้วยความติดตามธรรมดาของตน.
จริงอยู่ การงานอันบุคคลผู้มีปัญญา แม้กระทำตามธรรมดาของตน
ย่อมเป็นเช่นกับการงานทั้งหลาย อันชนเหล่าอื่นเรียนมากระทำให้สำเร็จ
นั่นแหละ. นี้เป็นนัยในหีนกรรม (การงานอันต่ำ) ก่อน.

นัยแห่งอุกกัฏฐกรรม


แม้ในอุกกัฏฐกรรม (การงานอันสูง) บัณฑิตคนหนึ่ง คิดว่า
เมื่อกสิกรรมไม่มีอยู่ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นไป ดังนี้