เมนู

ที่ควรข่ม ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ย่อมทำไห้จิตร่าเริงในสมัยที่
ควรทำให้ร่าเริง ย่อมวางจิตเฉย ๆ ในสมัยที่ควรวางจิตเฉย ๆ ย่อมเป็นผู้
น้อมจิตไปในธรรมอันประณีต และเป็นผู้ยินดียิ่งในพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 เหล่านี้แล เป็นผู้ควร เพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งสีติภาวะอันยอดเยี่ยม ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า สีติภาวสูตร.

โพชฌังคโกสัลลสูตร


ก็ โพชฌังคโกสัลลสูตร มาแล้วในโพชฌังคสังยุตนั่นแหละ ใน
สังยุต มหาวารวรรคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล ในสมัยใด จิต
หดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลที่จะเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ เป็นต้น.
พระโยคาวจรนั้น ครั้นทำการเรียนอุคคหโกศล 7 อย่างนี้ได้ดีแล้ว
และกำหนดมนสิการโกศล 10 อย่างนี้ให้ดีแล้ว พึงเรียนกรรมฐานด้วยสามารถ
แห่งโกศลทั้งสองให้แม่นยำ. ก็แล ถ้าเธอมีความผาสุกอยู่ในวิหารเดียวกันกับ
อาจารย์ไซร้ ก็ไม่จำเป็นต้องให้อาจารย์บอกกรรมฐานโดยพิสดารอย่างนั้น พึง
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งกรรมฐานไป เมื่อไม่ได้คุณวิเศษแล้ว จึงให้ท่านบอก
ให้ยิ่งต่อไป.
พระโยคาวจร ผู้ปรารถนาจะไปอยู่ที่อื่น พึงให้อาจารย์บอกโดยพิสดาร
โดยวิธีตามที่กล่าวแล้ว ทบทวนอยู่บ่อย ๆ ทำลายบทอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
สงสัยทั้งปวง และเสนาสนะอันไม่สมควรแก่การเจริญกรรมฐานเสีย อยู่ในวิหาร
อันสมควร เว้นจากวิหารอันเป็นโทษ 18 ประการ มีความเป็นอาวาสใหญ่เป็นต้น
ตัดปลิโพธเล็กน้อย ภิกษุใดเป็นผู้มีราคจริตน้อย เพราะจะต้องละราคะก่อน
ฉะนั้น พึงทำบริกรรมไปในปฏิกูลมนสิการ. ก็เมื่อจะทำ พึงถือเอานิมิตใน

ผมทั้งหลายก่อน. คือ พึงถอนผมเส้นหนึ่งหรือสองเส้น วางไว้บนฝ่ามือแล้ว
พึงกำหนดสีก่อน. จะดูผมทั้งหลายในที่เป็นที่ปลงผมก็ได้. จะดูผมในบาตร
ใส่น้ำ หรือในบาตรใส่ยาคู ก็ได้เหมือนกัน. เห็นในเวลาที่ผมมีสีดำ ก็พึง
มนสิการว่า ดำ เห็นในเวลาที่มีสีขาว ก็มนสิการว่า ขาว แต่ในเวลาที่ผม
มีสีปนกัน (เหมือนดอกเลา) ก็พึงมนสิการด้วยอำนาจแห่งสีที่มาก. ก็ในผม
ทั้งหลาย ฉันใด ในตจปัญจกะแม้ทั้งสิ้นก็ฉันนั้น เห็นแล้ว ก็พึงถือเอานิมิต
ทีเดียว. ครั้นถือเอานิมิตอย่างนี้เเล้ว พึงกำหนดในโกฏฐาสด้วยสามารถแห่งสี
สัณฐาน ทิศ โอกาสและปริจเฉท
แล้ว พึงกำหนดโดยความเป็นปฏิกูล 5
อย่าง ด้วยสามารถแห่งสี สัณฐาน กลิ่น ที่อยู่ และโอกาส. ต่อไปนี้เป็น
อนุปุพพิกถา (การกล่าวตามลำดับ) ในโกฏฐาสทั้งปวงเหล่านั้น.

1. เกสา (ผมทั้งหลาย)


ผมทั้งหลายก่อน ว่าโดยสีตามปกติมีสีดำ เหมือนสีลูกมะคำดีควาย
สด ๆ ว่าโดยสัณฐาน ยาวกลม มีสัณฐานคล้ายคันชั่ง ว่าโดยทิศ เกิดใน
ทิศเบื้องบน ว่าโดยโอกาส ที่ข้างทั้งสองกำหนดด้วยจอนหู ข้างหน้ากำหนด
ด้วยหน้าผาก ข้างหลังกำหนดด้วยกกคอ หนังสดที่หุ้มกระโหลกศีรษะ เป็น
โอกาส (คือ ที่ตั้ง) แห่งผมทั้งหลาย ว่าโดยปริจเฉท ผมทั้งหลายเบื้องต่ำ
กำหนดด้วยพื้นรากของผม ที่หยั่งลึกลงไปในหนังหุ้มศีรษะประมาณปลายเมล็ด
ข้าวเปลือก เบื้องบน กำหนดด้วยอากาศ (ที่ว่าง) โดยรอบ กำหนดด้วย
เส้นผมด้วยกัน. การกำหนดว่า ผมสองเส้น มิได้รวมเป็นเส้นเดียวกันนี้
ชื่อว่า สภาคปริจเฉท. การกำหนดว่า ผมไม่ปะปนกันด้วยโกฏฐาส 31
ที่เหลืออย่างนี้ว่า ผมมิใช่ขน ขนมิใช่ผม ธรรมดาว่าผม ย่อมเป็นโกฏฐาส