เมนู

แล้วก็เอาคีมคีบทองใส่เข้าไปในปากเบ้า ย่อมสูบลมเข้าไปตามกาลอันควร ย่อม
เอาน้ำประพรมโดยกาลอันควร ย่อมวางเฉยโดยกาลอันควร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้านายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง พึงเป่าลมเข้าไปโดยส่วนเดียวไซร้
ฐานะนั้น ทองก็พึงละลายไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านายช่างทอง หรือ
ลูกมือของนายช่างทอง พึงเอาน้ำประพรมโดยส่วนเดียวไซร้ ฐานะนั้น ทอง
ก็จะพึงเย็นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านายช่างทอง หรือลูกมือนายช่างทอง
พึงดูทองนั้นเฉย ๆ อยู่อย่างเดียวไซร้ ฐานะนั้น ทองก็ไม่พึงสุกปลั่ง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล นายช่างทอง หรือลูกมือนายช่างทอง ย่อมเป่าลม
เข้าไปโดยกาลอันควร ย่อมเอาน้ำประพรมโดยกาลอันควร ดูเฉย ๆ อยู่ตาม
กาลอันควร ทองนั้นย่อมเป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน สุกปลั่ง ไม่
เปราะ ย่อมใช้งานได้ดี. นายช่างทอง หรือลูกมือนายช่างทอง จำนงอยู่ด้วย
เครื่องประดับชนิดใด ๆ ผิว่าจะทำเข็มขัด จะทำตุ้มหู จะทำสร้อยคอ จะทำ
มาลัยทอง แท่งทองคำนั้น ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต ฯลฯ ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อ
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. ภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปเพื่อธรรมที่ควรทำให้
แจ้งด้วยอภิญญาใด ๆ เมื่อสติอายตนะ มีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถ
เพื่อทำให้แจ้ง ด้วยอภิญญาในธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
อธิจิตตสูตร.

สีติภาวสูตร


พระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 เป็น
ผู้ควร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งสีติภาวะ (ความเป็นผู้สงบ) อันยอดเยี่ยม. ธรรม6
เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัย

ที่ควรข่ม ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ย่อมทำไห้จิตร่าเริงในสมัยที่
ควรทำให้ร่าเริง ย่อมวางจิตเฉย ๆ ในสมัยที่ควรวางจิตเฉย ๆ ย่อมเป็นผู้
น้อมจิตไปในธรรมอันประณีต และเป็นผู้ยินดียิ่งในพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 เหล่านี้แล เป็นผู้ควร เพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งสีติภาวะอันยอดเยี่ยม ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า สีติภาวสูตร.

โพชฌังคโกสัลลสูตร


ก็ โพชฌังคโกสัลลสูตร มาแล้วในโพชฌังคสังยุตนั่นแหละ ใน
สังยุต มหาวารวรรคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล ในสมัยใด จิต
หดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลที่จะเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ เป็นต้น.
พระโยคาวจรนั้น ครั้นทำการเรียนอุคคหโกศล 7 อย่างนี้ได้ดีแล้ว
และกำหนดมนสิการโกศล 10 อย่างนี้ให้ดีแล้ว พึงเรียนกรรมฐานด้วยสามารถ
แห่งโกศลทั้งสองให้แม่นยำ. ก็แล ถ้าเธอมีความผาสุกอยู่ในวิหารเดียวกันกับ
อาจารย์ไซร้ ก็ไม่จำเป็นต้องให้อาจารย์บอกกรรมฐานโดยพิสดารอย่างนั้น พึง
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งกรรมฐานไป เมื่อไม่ได้คุณวิเศษแล้ว จึงให้ท่านบอก
ให้ยิ่งต่อไป.
พระโยคาวจร ผู้ปรารถนาจะไปอยู่ที่อื่น พึงให้อาจารย์บอกโดยพิสดาร
โดยวิธีตามที่กล่าวแล้ว ทบทวนอยู่บ่อย ๆ ทำลายบทอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
สงสัยทั้งปวง และเสนาสนะอันไม่สมควรแก่การเจริญกรรมฐานเสีย อยู่ในวิหาร
อันสมควร เว้นจากวิหารอันเป็นโทษ 18 ประการ มีความเป็นอาวาสใหญ่เป็นต้น
ตัดปลิโพธเล็กน้อย ภิกษุใดเป็นผู้มีราคจริตน้อย เพราะจะต้องละราคะก่อน
ฉะนั้น พึงทำบริกรรมไปในปฏิกูลมนสิการ. ก็เมื่อจะทำ พึงถือเอานิมิตใน