เมนู

ว่าด้วยกำลังแห่งญาณของพระตถาคต


ก็กำลัง คือ พระญาณของพระตถาคตนี้ ทสพลญาณอันมาแล้วใน
พระบาลีนี้ก่อนนั่นแหละ ก็พันแห่งพระญาณแม้อื่นอีกมิใช่น้อย คือ
ทสพลญาณ (ญาณอันเป็นกำลัง 10) ในมหาสีหนาทสูตร
เวสารัชชญาณ 4
อกัมปนญาณ (ญาณอันไม่หวั่นไหว) ในบริษัท 8
ญาณอันกำหนดรู้ซึ่งกำเนิด 4
ญาณอันกำหนดรู้คติ 5
ญาณ 73 อันมาแล้วในสังยุตตกะ
ญาณทั้งหลายมี 77 อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
นี้ ชื่อว่า ญาณพละ (กำลังคือพระญาณ). ญาณพละ เท่านั้น
ท่านประสงค์เอาในที่นี้. จริงอยู่ ญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า
กำลัง เพราะอรรถว่าเป็นภาวะอัน ไม่หวั่นไหว และเพราะอรรถว่าเป็นการ
อุปถัมภ์ค้ำชู.
คำว่า "เยหิ พเลหิ สมนฺนาคโต" (แปลว่า พระตถาคตประ-
กอบด้วยกำลังเหล่าใด) ได้แก่ พระตถาคตนั้น ทรงเข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้ว
ด้วยดี ด้วยกำลังแห่งพระญาณ 10 เหล่าใด.
คำว่า อาสภณฺฐานํ ได้แก่ ฐานะอันประเสริฐ ฐานะอันสูงสุด.
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อนผู้ยิ่งใหญ่มีอยู่ (พระตถาคต)
ทรงเข้าถึงฐานะเหมือนพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่งเปรียบเหมือนโค
อุสภะ (โคจ่าฝูง) ตัวที่เจริญที่สุดในจำนวนโค 100 ตัว โควสภะตัวที่เจริญที่สุดใน
จำนวนโค 1,000 ตัว หรือว่า โคอุสภะตัวที่เจริญที่สุดในจำนวนโคลาน 100 ตัว

หรือโควสภะตัวที่เจริญสุดในจำนวนโคลาน 1,000 ตัว โคนิสภะเป็นโคผู้อด
ทนต่ออันตรายทั้งปวง มีสีขาว น่ารัก นำภาระไปได้มาก ไม่หวั่นไหว แม้
ด้วยเสียงอสนีบาตตั้ง 100 ครั้ง เป็นจ่าฝูงของโคทั้งหมด ในที่นี้ประสงค์เอา
โคอุสภะ (โคเผือก) นั้น. จริงอยู่ แม้คำว่าโคอุสภะเผือกนี้ ก็เป็นคำเปรียบ
เทียบซึ่งฐานะอันประเสริฐนั้น. ชื่อว่า อาสภะ ประเสริฐ เพราะอรรถว่า
คำนี้ เป็นชื่อของโคอุสภะนั้น. คำว่า ฐานะ ได้แก่ ฐานะอันไม่หวั่นไหว
ของโคอุสภะ ผู้ใช้เท้าทั้ง 4 ยันแผ่นดิน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาสภะ สูงสุด
เพราะอรรถว่า ฐานะนี้ ราวกะว่าการดำรงอยู่ของโคผู้เป็นหัวหน้า. เหมือน
อย่างว่า โคอุสภะ คือ โคนิสภะ ประกอบด้วยกำลังของโคอุสภะ ใช้เท้าทั้ง 4
ยันแผ่นดินไว้ ย่อมยืนมั่นคงไม่หวั่นไหว ฉันใด แม้พระตถาคตก็ฉันนั้น
ประกอบด้วยกำลังของพระตถาคต 10 (ทสพลญาณ) ใช้พระบาท คือ เวสารัชช-
ญาณ 4 (ญาณอันทำความแกล้วกล้า) ยันซึ่งแผ่นดิน คือ บริษัท 8 ทรงเป็นผู้
ไม่หวั่นไหวด้วยปัจจามิตร อันมีประโยชน์ขัดกันไร ๆ ในโลกนี้ทั้งเทวโลก ชื่อว่า
ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันไม่หวั่นไหว. ก็เมื่อทรงดำรงอยู่อย่างนี้ จึงทรงปฏิญาณ
คือ ทรงเข้าถึงฐานะความเป็นผู้เลิศประเสริฐนั้นอยู่ ย่อมไม่กล่าวให้คลาดจาก
ความเป็นจริง และทรงยกฐานะอันเลิศประเสริฐนั้นไว้ในพระองค์. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อาสภณฺฐานํ ปฏิชานาติ ดังนี้ (แปลว่า
ทรงปฏิญาณฐานะอันเลิศประเสริฐ).
คำว่า ปริสาสุ ได้แก่ ในบริษัท 8*.
คำว่า สีหนาทํ นทติ ได้แก่ ทรงบันลือ คือ ทรงเปล่งพระสุรเสียง

*. บริษัท 8 คือ ขัตติยบริษัท, พราหมณบริษัท, คหบดีบริษัท, สมณบริษัท, จาตุ-
มหาราชิกาบริษัท, ดาวดึงสบริษัท, มารบริษัท, พรหมบริษัท (จากมหาปรินิพพานสูตร)

อันองอาจ (หมายความว่า ทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไม่เกรงภัย). อีกอย่าง
หนึ่ง ทรงเปล่งพระสุรเสียงเช่นกับสีหนาท (คือ เช่นกับการบันลือของสีหราช).
เนื้อความนี้ บัณฑิตพึงแสดงด้วยพระสูตรชื่อว่า สีหนาทสูตร. อีกอย่างหนึ่ง
สีหะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก สีหะ เพราะอดทน และเพราะการฆ่า
ฉันใด พระตถาคตก็ฉันนั้น ทรงพระนามว่า สีหะ เพราะอดทนต่อโลกธรรม
ทั้งหลายได้ และเพราะการฆ่าซึ่งลัทธิอื่น ๆ. การแผดเสียง คือการบันลือ
ของสีหะอันกล่าวแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า สีหนาท.
ในที่นี้
สีหะผู้ประกอบแล้วด้วยกำลังของสีหะ เป็นผู้แกล้วกล้าในที่ทั้งปวง เป็นผู้มี
ขนชูชันไปปราศแล้ว ย่อมบันลือสีหนาท ฉันใด แม้ สีหะ คือพระตถาคต
ก็ฉันนั้นประกอบแล้วด้วยกำลังของพระตถาคต เป็นผู้แกล้วกล้าในบริษัท 8
ไม่เป็นผู้มีขนพองสยองเกล้า. ย่อนทรงบันลือซึ่งสีหนาท อันถึงพร้อมแล้วด้วย
ความงามของเทศนามีวิธีต่าง ๆ โดยนัยมีคำว่า อิติ รูปํ เป็นต้น. ด้วยเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปริสาสุ สีหนาทํ นทติ (แปลว่า ทรง
บันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย) ดังนี้.
คำว่า พฺรหฺมํ ในข้อว่า พฺรหฺมจกฺกํ ปวตฺเตติ นี้ ได้แก่ ประ-
เสริฐ สูงสุดคือบริสุทธิ์แล้ว.
ก็แล ศัพท์ว่า จักกะ (จักกศัพท์) นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่า สมบัติ
ในลักขณะ ในส่วนแห่งรถคือล้อ ในอิริยาบถ ในทาน ในรัตนะ ใน
ธรรม ในจักรอันคมกล้า
เป็นต้น ในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบศัพท์ว่า ธรรม
จักร
(ล้อรถคือพระธรรม) แล้วพึงยังคำว่า ธรรมจักรนั้นให้แจ่มแจ้ง โดยแยก
ออกเป็น (ดังนี้).

จักกะ ศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่าสมบัติ (การถึงพร้อม) อันมาแล้ว
ในคำว่าจตฺตารีมานิ ภิกฺขุเว จกฺกานิ เยหิ สมนฺนาคตานํ เทวมนุสฺสานํ
เป็นต้น (แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักร 41 เหล่านี้ ย่อมเป็นไปแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ประกอบพร้อมแล้ว . . . ย่อมถึงความไพบูลย์อันใหญ่ใน
โภคะ2 ทั้งหลาย). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ลักขณะ อันมาแล้ว
ในคำว่า เหฏฺฐา ปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ นี้ (แปลว่า จักรทั้งหลายเกิด
ขึ้นที่พื้นฝ่าพระบาททั้งสอง). จักกะ ศัพท์ย่อมปรากฏในอรรถว่า ส่วนแห่ง
รถคือล้อ
(ล้อรถ) อันมาในคำว่า จกฺกํว วหโต ปทํ นี้ (แปลว่า เพียง
ดังล้อหมุนไปตามอยู่ซึ่งรอยเท้าแห่งโคพลิพัท). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏใน
อิริยาบถ อันมาแล้วในคำว่า จตุจกฺกํ นวทฺวารํ นี้ (แปลว่า ยนต์ คือ สรีระ
อันมีล้อ 4 มีทวาร 9). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ทาน อันมาแล้ว
ในคำว่า ขาท ภุญฺช มา จ ปมาโท จกฺกํ วตฺตสฺสุ นี้ (แปลว่า ท่านจงเคี้ยว
จงบริโภค ก็จงอย่าประมาท ยังจักร (จักรคือ ทาน) ให้เป็นไป. จักกะ ศัพท์
ย่อมปรากฏในอรรถว่า จักกรัตนะ (รัตนะ คือ จักร) อันมาแล้วในคำว่า
ทิพฺพจกฺกรตนํ ปาตุรโหสิ นี้ (แปลว่า รัตนะ คือ จักรอันเป็นทิพย์
ปรากฏแล้ว). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ธรรมจักร (จักร คือ พระ-
ธรรม)อันมาแล้วในคำว่า มยา ปวตฺติตํ จกฺกํ นี้ (แปลว่า จักร คือ พระธรรม
อันเราให้เป็นไปแล้ว). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่าจักรคมกล้า อันมา
แล้วในคำว่า อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺกํ ภมติ มตฺถเก นี้ (แปลว่า จักร

1. จักร 4 คือ. ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในประเทศอันสมควร 2. สับปุริสูปัสสยะ
การคบสัตบุรุษ 3. อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้โดยชอบ 4. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทํา
ความดีไว้ในปางก่อน. ธรรม 4 นี้ ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ (อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
21/40)
2. โภคะทั้งหลาย หมายถึงมนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ.

ย่อมหมุนไปบนศีรษะของบุรุษผู้ถูกความอยากนำมาแล้ว). ย่อมปรากฏในอรรถ
ว่า จักร เครื่องประหารในคำว่า ขุรปริยนฺเตน เจปิ จกฺเกน นี้ (แปลว่า
ด้วยจักรมีคมกล้าโดยรอบ) ย่อมปรากฏในอรรถว่า อสนิมณฺฑเล (บริเวณ
แห่งสายฟ้า) ในคำว่า อสนิจกฺกํ นี้ (แปลว่า ฟ้าผ่า).
แต่ในที่นี้ จักกะ ศัพท์บัณฑิตทราบแล้วว่าจักร คือ พระธรรม
ทั้งหลาย.
ก็จักร คือ พระธรรมนั้นมี 2 อย่าง คือ
1. ปฏิเวธญาณ (ญาณในการแทงตลอด)
2. เทสนาญาณ (ญาณในเทศนา)
ใน 2 อย่างนั้น ปฏิเวธญาณ อันนำมาซึ่งอริยผลของตนอันปัญญา
อบรมแล้ว. เทสนาญาณ อันนำมาซึ่งอริยผลของพระสาวกทั้งหลายซึ่งเพิ่มพูน
แล้วด้วยกรุณา.
บรรดาญาณเหล่านั้น ปฏิเวธญาณ มี 2 คือ
1. อุปปัชชมานะ (ปฏิเวธญาณอันกำลังเกิดขึ้น)
2. อุปปันนะ (ปฏิเวธญาณอันเกิดขึ้นแล้ว)
จริงอยู่ ปฏิเวธญาณอันกำลังเกิดขึ้น นับจำเดิมตั้งแต่การออกมหา-
ภิเนษกรมณ์ของพระพุทธเจ้า จนถึงอรหัตตมรรค. ในขณะแห่งผล ชื่อว่า
ปฏิเวธญาณ อันเกิดขึ้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ปฏิเวธญาณ ชื่อว่า อันกำลังเกิด
นับจำเดิมแต่เสด็จอยู่ภพดุสิต จนถึงพระอรหัตตมรรค ที่มหาโพธิบัลลังก์. ใน
ขณะแห่งผล ปฏิเวธญาณ ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง นับจำเดิมแต่
การทรงพยากรณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร จนถึง
พระอรหัตตมรรค ปฏิเวธญาณ ชื่อว่า อันกำลังเกิดขึ้น. ในขณะแห่งผล
ปฏิเวธญาณ ชื่อว่า อันเกิดขึ้นแล้ว.

แม้เทสนาญาณก็มี 2 คือ
1. ปวัตตนานะ (เทสนาญาณอันกำลังเป็นไป)
2. ปวัตตะ (เทสนาญาณอันเป็นไปแล้ว)
จริงอยู่ เทสนาญาณนั้น ชื่อว่า กำลังเป็นไป นับจำเดิมแต่โสดา-
ปัตติมรรคของพระอัญญาโกณฑัญญะ ในขณะแห่งผล เทสนาญาณ ชื่อว่า
เป็นไปแล้ว.
ในเทสนาญาณเหล่านั้น ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ เทสนา-
ญาณเป็นโลกิยะ.

ก็ญาณแม้ทั้งสองนั้น เป็นโอรสญาณ (ญาณที่เกิดขึ้นในพระอุระ)
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ไม่ทั่วไปกับชนเหล่าอื่น.

วรรณนากำลัง 10 ของพระตถาคต


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงกำลังแห่งพระตถาคตที่ทรงตั้งไว้ว่า เยหิ ทสหิ
พเลหิ สมนฺนาคโต ตถาคโต อาสภณฺฐานํ ปฏิชานาติ ยานิ อาทิโต
จ ทส ตถาคตสฺส ตถาคตพลานิ
ดังนี้ (แปลว่า พระตถาคตประกอบ
ด้วยกำลัง 10 เหล่าใด จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ และกำลังเหล่าใด
ชื่อว่า กำลัง 10 ของพระตถาคต จำเดิมแต่ต้น) โดยพิสดาร จึงตรัสคำว่า
กตมานิ ทส อิธ ตถาคดต ฐานญฺจ ฐานโต เป็นอาทิ (แปลว่ากำลัง 10
ของพระตถาคต เป็นไฉน คือ พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบธรรมที่เป็น
ฐานะ โดยความเป็นฐานะ เป็นต้น)

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ 1


บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ฐานญฺจ ฐานโต ได้แก่ ทรงทราบ
ธรรมอันเป็นเหตุ โดยความเป็นเหตุ. ก็ เหตุ ย่อมให้ผลตั้งขึ้นในที่นั้น คือ