เมนู

กำลังของพระตถาคต ในที่นี้ มี 2 อย่าง คือ กำลังของกาย
อย่างหนึ่ง กำลังของญาณอย่างหนึ่ง.

ในกำลัง 2 อย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบกำลังกายของพระตถาคตได้
โดยทำนองแห่งตระกูลของช้างทีเดียว.

ว่าด้วยกำลังกายของพระตถาคต


กาฬาวกญฺจ คงฺเคยฺยปณฺฑรํ ตมฺพปิงฺคลํ
คนฺธํ มงฺคลเหมญฺจอุโปสถํ ฉทฺทนฺติเม ทสาติ
อิมานิ หิ ทส หตฺถิกุลานิ.

แปลว่า สมจริง ดังโปราณาจารย์กล่าวไว้ว่า ตระกูลแห่ง
ช้างทั้งหลาย 10 ตระกูลเหล่านี้ คือ

1. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า กาฬาวกะ (กายสีดำ)
2. " " " " คังเคยยะ (สีน้ำไหล)
3. " " " " ปัณฑระ (สีขาวดังเขาไกรลาส)
4. " " " " ตัมพะ (สีทองแดง)
5. " " " " ปิงคละ (สีเหลืองอ่อน)
6. " " " " คันธะ (สีไม้กฤษณามีกลิ่นตัวหอม)
7. " " " " มังคละ (สีนิลอัญชันกิริยาท่าทางงด
งาม)

8. " " " " เหมาะ (สีเหลือง)
9. " " " " อุโบสถ (สีทองคำ)
10. " " " " ฉัททันตะ (สีขาวบริสุทธิ์ดังสีเงินยวง
ปากและเท้าแดง)


บรรดาตระกูลแห่งช้างเหล่านั้น คำว่า ตระกูลแห่งช้างชื่อว่า
กาฬาวกะ
บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นตระกูลช้างธรรมดา (ปกติหตฺถิกุลํ).
พึงเทียบกำลัง ดังนี้
กำลังบุรุษ 10 คน เท่ากับกำลังช้าง ตระกูล กาฬาวกะ 1 เชือก
กำลังช้าง กาฬาวกะ 10 เชือก " " คังเคยยะ 1 "
" คังเคยยะ 10 " " " ปัณฑระ 1 "
" ปัณฑระ 10 " " " ตัมพะ 1 "
" ตัมพะ 10 " " " ปิงคละ 1 "
" ปิงคละ 10 " " " คันธะ 1 "
" คันธะ 10 " " " มังคละ 1 "
" มังคละ 10 " " " เหมาะ 1 "
" เหมาะ 10 " " " อุโบสถ 1 "
" อุโบสถ 10 " " " ฉัททันตะ 1 "
" ฉัททันตะ 10 " เท่ากับกำลังของพระตถาคตพระองค์หนึ่ง
กำลังนี้นั่นแหละ ท่านเรียกว่า "กำลังของพระโพธิสัตว์พระนามว่า
นารายณ์*" ดังนี้บ้าง. กำลังของพระตถาคตนั้น เท่ากับกำลังของช้างตระกูล
กาฬาวกะหนึ่งพันโกฏิเชือก และเท่ากับกำลังของบุรุษ 10 พันโกฏิคน.
นี้เฉพาะกำลังกายของพระตถาคตพุทธเจ้าก่อน

1. ในปรมัตถทีปนี อุทานวรรณนา กล่าวว่า กำลังกายของช้างตระกูลฉัทททันต์ 60 ตัว เท่ากับ
กำลังกายของพระโพธิสัตว์ในปัจฉิมภพ (พระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า 10 องค์
คือ พระศรีอาริยเมตไตรย พระราม พระเจ้าปัสเสนทิโกศล พระยามาราธิราช พระยาอสุรินท-
ราหู โสณพราหมณ์ โตไทยพราหมณ์ ช้างนาฬาคีรี ช้างปาลิไลยกะ)

ว่าด้วยกำลังแห่งญาณของพระตถาคต


ก็กำลัง คือ พระญาณของพระตถาคตนี้ ทสพลญาณอันมาแล้วใน
พระบาลีนี้ก่อนนั่นแหละ ก็พันแห่งพระญาณแม้อื่นอีกมิใช่น้อย คือ
ทสพลญาณ (ญาณอันเป็นกำลัง 10) ในมหาสีหนาทสูตร
เวสารัชชญาณ 4
อกัมปนญาณ (ญาณอันไม่หวั่นไหว) ในบริษัท 8
ญาณอันกำหนดรู้ซึ่งกำเนิด 4
ญาณอันกำหนดรู้คติ 5
ญาณ 73 อันมาแล้วในสังยุตตกะ
ญาณทั้งหลายมี 77 อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
นี้ ชื่อว่า ญาณพละ (กำลังคือพระญาณ). ญาณพละ เท่านั้น
ท่านประสงค์เอาในที่นี้. จริงอยู่ ญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า
กำลัง เพราะอรรถว่าเป็นภาวะอัน ไม่หวั่นไหว และเพราะอรรถว่าเป็นการ
อุปถัมภ์ค้ำชู.
คำว่า "เยหิ พเลหิ สมนฺนาคโต" (แปลว่า พระตถาคตประ-
กอบด้วยกำลังเหล่าใด) ได้แก่ พระตถาคตนั้น ทรงเข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้ว
ด้วยดี ด้วยกำลังแห่งพระญาณ 10 เหล่าใด.
คำว่า อาสภณฺฐานํ ได้แก่ ฐานะอันประเสริฐ ฐานะอันสูงสุด.
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อนผู้ยิ่งใหญ่มีอยู่ (พระตถาคต)
ทรงเข้าถึงฐานะเหมือนพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่งเปรียบเหมือนโค
อุสภะ (โคจ่าฝูง) ตัวที่เจริญที่สุดในจำนวนโค 100 ตัว โควสภะตัวที่เจริญที่สุดใน
จำนวนโค 1,000 ตัว หรือว่า โคอุสภะตัวที่เจริญที่สุดในจำนวนโคลาน 100 ตัว