เมนู

โดยสุตตันตะ 3


ในข้อว่า ตโย จ สุตฺตนฺตา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า พึงทราบสุตตันตะ
3 อย่างเหล่านี้ เพื่อประโยชน์แก่วิริยะและสมาธิ คือ อธิจิตตสูตร สีติภาวสูตร
โพชฌังคโกสลสูตร.

อธิจิตตสูตร


บรรดาพระสูตรเหล่านั้น พระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการนิมิต 3 โดยกาลอันสมควร คือ พึง
มนสิการสมาธินิมิตโดยกาลอันสมควร พึงมนสิการปัคคหนิมิตโดยกาลอัน
สมควร พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยกาลอันสมควร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า
ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการสมาธินิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น
ไซร้ ฐานะนั้น พึงให้จิตเป็นไปเพื่อโกสัชชะได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า
ภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้
ฐานะนั้น พึงให้จิตเป็นไปเพื่ออุทธัจจะได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุ
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้ ฐานะ
นั้น จิตย่อมไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในกาลใดแล ภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต
มนสิการสมาธินิมิต ปัคคหนิมิต อุเปกขานิมิต โดยกาลอันควร จิตนั้น ย่อม
เป็นธรรมชาติอ่อนควรแก่การงาน เป็นปภัสสร ไม่เปราะ (คือ ไม่ย่อยยับ)
ย่อมตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง ประกอบเบ้า (คือ
ทำเตาสำหรับหลอมทอง) ครั้นประกอบเบ้าแล้วก็สุมไฟปากเบ้า ครั้นสุมไฟ