เมนู

บ่อย ๆ แล้วยังอัปปนาให้เกิดขึ้นในกาลที่สุด เปรียบเหมือนการที่ลิงหมอบลง
ที่ตาลต้นหนึ่งโดยลำดับ แล้วยึดใบตาลอ่อนกลางต้นตาลนั้นนั่นแหละไว้มั่น
แม้ถูกนายพรานยิงก็ไม่หนีไป ฉะนั้น. พึงทราบคำอุปมาแม้อื่นอีก.
เปรียบเหมือน ภิกษุผู้มีบิณฑบาตเป็นวัตร* อาศัยบ้าน 32
สกุลอยู่ ได้ภิกษา 2 ที่ในบ้านหลังหนึ่งแล้ว พึ่งเว้นบ้านหลังหนึ่ง
ข้างหน้า ในวันรุ่งขึ้นได้ภิกษา 3 ที่ พึงเว้นบ้าน 2 หลังข้างหน้า
ในวันที่ 3 ได้ภิกษาเต็มบาตรในบ้านหลังแรกนั่นแหละ แล้วไปยัง
อาสนศาลาฉันภิกษา ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ พึงทราบ ฉันนั้น.
จริงอยู่
อาการ 32 เปรียบเหมือนบ้าน 32 สกุล. พระโยคาวจรเปรียบเหมือนภิกษุผู้
มีบิณฑบาตเป็นวัตร. การที่พระโยคาวจร ทำบริกรรมในอาการ 32 เปรียบ
เหมือน ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยหมู่บ้านนั้นอยู่. การที่พระโยคาวจรมนสิการไปๆ
ละทิ้งโกฏฐาสทั้งหลายที่ไม่ปรากฏ กระทำบริกรรมในโกฏฐาสทั้ง 2 ที่ปรากฏ
เปรียบเหมือน ภิกษุนั้นได้ภิกษา 2 ที่ ในบ้านหลังแรกแล้วเว้นบ้านหลังหนึ่ง
ข้างหน้า และเปรียบเหมือน ในวันที่ 2 ได้ภิกษา 3 ที่ แล้วเว้นบ้าน 2 หลัง
ข้างหน้า. การที่เมื่อสองโกฏฐาสปรากฏแล้ว โกฏฐาสใดดีกว่า ก็มนสิการ
โกฎฐาสนั้น ๆ นั่นแหละบ่อย ๆ แล้วยังอัปปนาให้เกิดได้ เปรียบเหมือน ใน
วันที่ 3 ได้ภิกษาเต็มบาตรในบ้านหลังแรกนั่นแหละ แล้วไปนั่งฉันในอาสน-
ศาลา.

โดยอัปปนา


ข้อว่า อปฺปนาโต ได้แก่ โกฏฐาสที่เป็นอัปปนา ในข้อนี้ มีอธิบาย
ว่า พึงทราบว่า บรรดาโกฏฐาสทั้งหลายมีเกสาเป็นต้น ทุก ๆ โกฏฐาสเป็น
อัปปนาได้.

* ระเบียบการถือบิณฑบาตเป็นวัตรของท่านในสมัยนั้น ปัจจุบันนี้รู้สึกว่าเข้าใจยาก

โดยสุตตันตะ 3


ในข้อว่า ตโย จ สุตฺตนฺตา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า พึงทราบสุตตันตะ
3 อย่างเหล่านี้ เพื่อประโยชน์แก่วิริยะและสมาธิ คือ อธิจิตตสูตร สีติภาวสูตร
โพชฌังคโกสลสูตร.

อธิจิตตสูตร


บรรดาพระสูตรเหล่านั้น พระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการนิมิต 3 โดยกาลอันสมควร คือ พึง
มนสิการสมาธินิมิตโดยกาลอันสมควร พึงมนสิการปัคคหนิมิตโดยกาลอัน
สมควร พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยกาลอันสมควร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า
ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการสมาธินิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น
ไซร้ ฐานะนั้น พึงให้จิตเป็นไปเพื่อโกสัชชะได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า
ภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้
ฐานะนั้น พึงให้จิตเป็นไปเพื่ออุทธัจจะได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุ
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้ ฐานะ
นั้น จิตย่อมไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในกาลใดแล ภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต
มนสิการสมาธินิมิต ปัคคหนิมิต อุเปกขานิมิต โดยกาลอันควร จิตนั้น ย่อม
เป็นธรรมชาติอ่อนควรแก่การงาน เป็นปภัสสร ไม่เปราะ (คือ ไม่ย่อยยับ)
ย่อมตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง ประกอบเบ้า (คือ
ทำเตาสำหรับหลอมทอง) ครั้นประกอบเบ้าแล้วก็สุมไฟปากเบ้า ครั้นสุมไฟ