เมนู

เหล่านี้ชื่อว่า ปัญญาในมรรค 4 ผล 4.
ญาณวัตถุหมวดละ 8 ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

นวกนิทเทส


[838] ในญาณวัตถุหมวดละ 9 นั้น ปัญญาในอนุปุพพ-
วิหารสมาบัติ 9
เป็นไฉน ?
ปัญญาในปฐมฌานสมาบัติ ปัญญาในทุติยฌานสมาบัติ ปัญญาใน
ตติยฌานสมาบัติ ปัญญาในจตุตถฌานสมาบัติ ปัญญาในอากาสานัญจายตน-
สมาบัติ ปัญญาในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ปัญญาในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ปัญญาในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคล
ผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.
เหล่านี้ชื่อว่า ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ 9.
ญาณวัตถุหมวดละ 9 ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

ทสกนิทเทส


[839] ในญาณวัตถุหมวดละ 10 นั้น.
1. ญาณรู้ธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะ และธรรมที่ไม่
ใช่ฐานะโดยความไม่ใช่ฐานะ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต

เป็นไฉน ?
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันผู้ถึงพร้อม
ด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ โดยความเป็นของเที่ยงนั้น ไม่ใช่
เหตุไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนพึงยึดถือ
สังขารอะไร ๆ โดยความเป็นของเที่ยงนั้นแล นั่นเป็นฐานะที่หาได้ เป็น
ฐานะที่ไม่ได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อม
ด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ โดยความเป็นสุขนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่
ใช่ปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขาร
อะไร ๆ โดยความเป็นสุขนั้นแล นั่นเป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึง
พร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงยึดถือธรรมอะไร ๆ โดยความเป็นอัตตาตัวตนนั้น
ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชน
พึงยึดถือธรรมอะไร ๆ โดยความเป็นอัตตาตัวตนนั้นแล เป็นฐานะที่หาได้
เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อม
ด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงฆ่ามารดานั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมี
ได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนพึงฆ่ามารดานั้นแล เป็นฐานะที่หาได้
เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อม
ด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงฆ่าบิดา ฯลฯ จะพึงฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ จะพึงมีจิต
ประทุษร้ายยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อขึ้น ฯลฯ จะพึงยังสงฆ์ให้แตก
จากกัน ฯลฯ จะพึงนับถือศาสดาอื่น ฯลฯ จะพึงเกิดในภพที่ 8 นั้น ไม่ใช่
เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนพึงเกิด
ในภพที่ 8 นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า 2 พระองค์จะพึงอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุอันเดียวกัน ไม่ใช่เหตุ
ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่พระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้า พึงอุบัติขึ้นแต่พระองค์เดียวในโลกธาตุอันหนึ่งนั้นแล เป็นฐานะ
ที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิ 2
องค์จะพึงอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุอันเดียวกันนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย
ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิพึงอุบัติขึ้นแต่
องค์เดียวในโลกธาตุอันหนึ่งนั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่หญิงจะพึงเป็นพระ-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้นแล
เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่หญิงจะพึงเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิได้นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบ
ว่า ข้อที่บุรุษพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็น
ฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่หญิงจะพึงเกิดเป็นพระ-
อินทร์ เป็นมาร เป็นมหาพรหมนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่
จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุรุษพึงเกิดเป็นพระอินทร์ เป็นมาร เป็นมหา-
พรหม นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่กายทุจริตจะพึงเกิดผล
ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะ
มีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่กายทุจริตพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจนั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่วจีทุจริต และมโนทุจริต
จะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่
ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่วจีทุจริตพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่
ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่กายสุจริตพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่า
ใคร่ น่าพอใจ นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่วจีสุจริต และมโนสุจริต
จะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่
ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่วจีสุจริตและมโนสุจริต
พึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้
เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย
กายทุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จึงพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบ ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริต เบื้องหน้าแต่
ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกายทุจริต
เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย
วจีทุจริตและมโนทุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีทุจริตและมโนทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้น ไม่ใช่

เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่ง
พร้อมด้วยวจีทุจริตและมโนทุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกายทุจริตและมโนทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย
กายสุจริต เบื้องหน้าแต่กายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิ-
บาต นรก เพราะกายสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย
ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายสุจริต
เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย
วจีสุจริตและมโนสุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะวจีสุจริตและมโนสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้น
ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้
พรั่งพร้อมด้วยวจีสุจริตและมโนสุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึง
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีสุจริตและมโนสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้นแล
เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคต ย่อมทรงทราบว่า ธรรมเหล่าใด ๆ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้ธรรมเหล่าใด ๆ เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้น ๆ เป็นฐานะ ธรรมเหล่าใด ๆ ไม่
เป็นเหตุไม่เป็นปัจจัยให้ธรรมเหล่าใดๆ เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้น ๆ ไม่ใช่ฐานะ
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในธรรม
ที่เป็นฐานะและธรรมที่ไม่ใช่ฐานะนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ธรรมที่เป็น

ฐานะโดยความเป็นฐานะ และธรรมที่ไม่ใช่ฐานะโดยความไม่ใช่
ฐานะ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต.

[840] 2. ญาณที่รู้วิบากของกัมมสมาทานที่เป็นอดีต
อนาคต ปัจจุบัน ตามความเป็นจริง โดยฐานะ โดยเหตุ ของพระ-
ตถาคต
เป็นไฉน ?
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า กัมมสมาทานอันเป็นบาป
บางอย่างอันคติสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อันอุปธิสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้
ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อันกาลสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้
ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อันปโยคสมบัติห้ามไว้ จึงไม่
ให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อาศัยคติวิบัติจึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อาศัยอุปธิวิบัติจึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อาศัยกาลวิบัติจึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อาศัยปโยควิบัติจึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อันคติวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อันอุปธิวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อันกาลวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อันปโยควิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล
ก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อาศัยคติสมบัติ จึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อาศัยอุปธิสมบัติ จึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อาศัยกาลสมบัติ จึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อาศัยปโยคสมบัติ จึงให้ผลก็มี.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ในกัมมสมาทานเหล่านั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้วิบากของกัมม-
สมาทานที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ตามความเป็นจริง โดยฐานะ
โดยเหตุ ของพระตถาคต.

[841] 3. ญาณรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริงของ
พระตถาคต
เป็นไฉน ?
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่
นรก ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ย่อม
ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่ปิตติวิสัย ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้
ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่มนุษยโลก ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้ ให้ไปสู่เทวโลก ย่อม
ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ถึงนิพพาน.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในทางไปสู่ภูมิทั้งปวงนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตาม
ความเป็นจริง ของพระตถาคต.

[842] 4. ญาณรู้โลกอันเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุ ตาม
ความเป็นจริงของพระตถาคต
เป็นไฉน ?
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบความเป็นต่าง ๆ แห่งขันธ์ ย่อม
ทรงทราบความเป็นต่าง ๆ แห่งอายตนะ ย่อมทรงทราบความเป็นต่าง ๆ แห่ง
ธาตุ ชื่อว่า ย่อมทรงทราบโลกเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุ.

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิในโลกอันเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้โลก
อันเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต.

[843] 5. ญาณรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน
ตามความเป็นจริงของพระตถาคต
เป็นไฉน ?
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยทราม
ก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ย่อม
คบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัย
ประณีต ย่อมคบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต. แม้ใน
อดีตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ก็ได้คบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่า
สัตว์ที่มีอัธยาศัยทรามมาแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่มีอัทธายาศัยประณีต ก็ได้คบหา
สมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีตมาแล้ว. แม้ในอนาคตกาล สัตว์
ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ก็จักคบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัย
ทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต ก็จักคบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่า
สัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิในความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้
ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน ตามความเป็นจริง ของ
พระตถาคต.

[844] 6. ญาณรู้ควานแก่กล้าและไม่แก่กล่าแห่งอินทรีย์
ของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่น ตามความเป็นจริง ของพระ-
ตถาคต
เป็นไฉน ?

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบอาสยะ อนุสัย จริต และ
อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบเหล่าสัตว์ที่มีธุลีคือกิเลสน้อย มีธุลี
คือกิเลสมาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการชั่ว แนะนำ
ให้รู้ได้ง่ายและแนะนำให้รู้ได้ยาก ควรแก่การตรัสรู้และไม่ควรแก่การตรัสรู้.
ก็อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า โลกเที่ยง หรือความเห็นว่าโลกไม่เที่ยง ความเห็นว่า
โลกมีที่สุด หรือความเห็นว่าโลกไม่มีที่สุด ความเห็นว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็
อันนั้น หรือความเห็นว่า ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่น ความเห็นว่า
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก หรือความเห็นว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
แล้ว ย่อมไม่เกิดอีก ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี
ย่อมไม่เกิดอีกก็มี หรือความเห็นว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็
หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ สัตว์ทั้งหลายผู้อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิ
ดังกล่าวมานี้ก็มี หรือสัตว์ทั้งหลายไม่เข้าไปอาศัยส่วนสุดทั้งสองนี้ ได้อนุโลมิก-
ขันติ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น
ก็มี หรือญาณความรู้ตามความเป็นจริง นี้เรียกว่า อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย.
ก็อนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน ?
อนุสัย 7 คือ กานราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย
วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย.
ราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมนอนเนื่องอยู่ในปิยรูป สาตรูป ใน
โลก ปฏิฆานุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมนอนเนื่องอยู่ในอัปปิยรูป อสาตรูป
ในโลก อวิชชาตกไปแล้วในธรรมทั้งสองนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ มานะ ทิฏฐิ
และวิจิกิจฉา พึงเห็นว่าตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกันกับอวิชชานั้น นี้เรียกว่า อนุสัย
ของสัตว์ทั้งหลาย.

จริตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน ?
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร อันเป็นกามาวจร-
ภูมิหรือรูปาวจรภูมิและอรูปาวจรภูนิ นี้ชื่อว่า จริตของสัตว์ทั้งหลาย.
อัธยาศัยของสัตว์ทั้งทลาย เป็นไฉน ?
สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต
ก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ย่อมคบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลาย
ที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต ย่อมคบหาสมาคมเข้าใกล้
กับสัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต. แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัย
ทราม ได้คบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามมาแล้ว สัตว์
ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต ได้คบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายทีมี
อัธยาศัยประณีตมาแล้ว. แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม
จักคบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มี
อัธยาศัยประณีต จักคบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต
นี้ชื่อว่า อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย.
สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีคือกิเลสมากเหล่านั้น เป็นไฉน ?
กิเลสวัตถุ 10 คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ กิเลสวัตถุ 10 เหล่านั้น อันสัตว์เหล่าใด
เสพมากแล้ว ทำให้เกิดแล้ว ทำให้มากแล้ว เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้
นั้น ชื่อว่า ผู้มีธุลีคือกิเลสมาก.
สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีคือกิเลสน้อยเหล่านั้น เป็นไฉน ?
กิเลสวัตถุ 10 เหล่านี้ อันสัตว์เหล่าใดมิได้เสพมากแล้ว มิได้ทำให้
เกิดแล้ว มิได้ทำให้มากแล้ว มิได้เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า
ผู้มีธุลีคือกิเลสน้อย.

สัตว์ทั้งหลายผู้มีอินทรีย์อ่อนเหล่านั้น ป็นไฉน ?
อินทรีย์ 5 คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 5 เหล่านี้ อันสัตว์เหล่าใดมิได้เสพให้มากแล้ว มิได้
อบรมแล้ว มิได้ทำให้มากแล้ว มิได้เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า
ผู้มีอินทรีย์อ่อน.
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอินทรีย์แก่กล้าเหล่านั้น เป็นไฉน ?
อินทรีย์ 5 เหล่านั้น อันสัตว์เหล่าใดเสพมากแล้ว อบรมแล้ว ทำให้
มากแล้ว เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า.
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการชั่วเหล่านั้น เป็นไฉน ?
สัตว์เหล่านั้นใด มีอาสยะชั่ว มีอนุสัยชั่ว มีจริตชั่ว มีอัธยาศัยชั่ว
มีธุลีคือกิเลสมาก มีอินทรีย์อ่อน สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้มีอาการชั่ว.
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการดีเหล่านั้น เป็นไฉน ?
สัตว์เหล่านั้นใด มีอาสยะดี มีอนุสัยดี มีจริตดี มีอัธยาศัยดี มีธุลี
คือกิเลสน้อย มีอินทรีย์แก่กล้า สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้มีอาการดี.
สัตว์ทั้งหลายที่แนะนำให้รู้ได้ยากเท่านั้น เป็นไฉน ?
สัตว์เหล่านั้นใด มีอาการชั่ว สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า แนะนำให้รู้ได้
ยาก ส่วนสัตว์เหล่าใดมีอาการดี สัตว์เหล่านั้นแล ชื่อว่า แนะนำให้รู้ได้ง่าย.
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ควรแก่การตรัสรู้เหล่านั้น เป็นไฉน ?
สัตว์เหล่านั้นใด ประกอบด้วยเครื่องกั้นกาง คือ กรรม ประกอบด้วย
เครื่องกั้นกาง คือ กิเลส ประกอบด้วยเครื่องกั้นกาง คือ วิบาก ไม่มีศรัทธา
ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่ควรเพื่อจะหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรม
ทั้งหลายได้ สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้ไม่ควรแก่การตรัสรู้.

สัตว์ทั้งหลายผู้ควรแก่การตรัสรู้เหล่านั้น เป็นไฉน ?
สัตว์เหล่านั้นใด ไม่ประกอบด้วยเครื่องกั้นกาง คือ กรรม ไม่ประ-
กอบด้วยเครื่องกั้นกาง คือ กิเลส ไม่ประกอบเครื่องกั้นกาง คือ วิบาก มี
ศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ควรที่จะหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้ง
หลายได้ สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้ควรแก่การตรัสรู้.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิในความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายนั้น อันใด นี้
ชื่อว่า ญาณรู้ความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่า
อื่น ของบุคคลเหล่าอื่นตามความเป็นจริง ของพระตถาคต.

[845] 7. ญาณรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความ
ออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง ของ
พระตถาคต
เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน 4 จำพวก ชื่อว่า ฌายี คือโยคาวจร
บุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญผิดซึ่งฌานที่ตนได้แล้วว่ายังไม่ได้ก็มี
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญผิดซึ่งฌานที่ตนยังไม่ได้ว่าได้
แล้วก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญถูกซึ่งฌานที่ตนได้แล้ว
ว่า ได้แล้วก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญถูกซึ่งฌาน
ที่ตนยังไม่ได้ว่า ยังไม่ได้ก็มี เหล่านั้นชื่อว่า โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน 4
จำพวก.

ยังมีโยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก 4 จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้
เจริญฌานบางคน เข้าฌานช้าออกเร็วก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน

เข้าฌานเร็วออกช้าก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน เข้าฌานช้าออกช้า
ก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน เข้าฌานเร็วออกเร็วก็มี เหล่านั้นชื่อว่า
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน 4 จำพวก.
ยังมีโยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก 4 จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้
เจริญฌานบางคน ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดกำหนดสมาบัติใน
สมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ฉลาด
กำหนดสมาธิในสมาธิ และฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้
เจริญฌานบางคน ไม่ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิ และไม่ฉลาดกำหนดสมาบัติ
ในสมาธิก็มี เหล่านี้ชื่อว่า โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน 4 จำพวก.
คำว่า ฌาน ได้แก่ ฌาน 4 คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
และ จตุตถฌาน.
คำว่า วิโมกข์ ได้แก่ วิโมกข์ 8 คือ โยคาวจรบุคคลผู้ได้รูปฌาน
โดยทำบริกรรมในรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ 1.
โยคาวจรบุคคลผู้ได้รูปฌานโดยทำบริกรรมในรูปภายนอก ย่อมเห็น
รูปทั้งหลายในภายนอก นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ 2.
โยคาวจรบุคคลเป็นผู้น้อมจิตไปว่า งามแท้ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ 3.
เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง
ปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุอากา-
สานัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ นี้จัดเป็น
วิโมกข์ที่ 4.
เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคล
จึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่
นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ 5.

เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคล
จึงบรรลุอากิญจัญญายตฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ อยู่
นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ 6.
เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญาตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคล
จึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ 7.
เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจร
บุคคลจึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ 8.
คำว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิ 3 คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจาร-
มัตตสมาธิ อวิตักกาวิจารสมาธิ.
คำว่า สมาบัติ ได้แก่อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 คือ ปฐมฌานสมาบัติ
ทุติยฌานสมาบัติ ตติยฌาณสมาบัติ จตุตถฌานสมาบัติ อากาสานัญจายตน-
สมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.
คำว่า ความเศร้าหมอง ได้แก่ ธรรมข้างฝ่ายเสื่อม.
คำว่า ความผ่องแผ้ว ได้แก่ ธรรมข้างฝ่ายวิเศษ.
คำว่า ความออก ได้แก่ แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่า ความออก แม้
ความออกจากสมาธินั้น ๆ ก็ชื่อว่า ความออก.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ
และสมาบัติ นั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว
ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง
ของพระตถาคต.

[846] 8. ญาณรู้ความระลึกชาติหนหลังได้ตามความเป็น
จริงของพระตถาคต
เป็นไฉน ?
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงระลึกชาติหนหลังได้หลาย ๆ ชาติ คือ
ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง
ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง
พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏฏกัปบ้าง หลายวิวัฏฏกัปบ้าง หลาย
สังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ว่าข้าพเจ้าอยู่ในภพโน้น มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
มีวรรณะอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ ได้เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุ
อย่างนี้ ข้าพเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้วไปเกิดในภพโน้น ข้าพเจ้าอยู่ในภพนั้น มี
ชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ ได้เสวยสุขและ
ทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ ข้าพเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้วมาเกิดในภพนี้
พระตถาคตทรงระลึกชาตินั้นแล้วมาเกิดในภพนี้ พระตถาคตทรงระลึกชาติ
หนหลังได้หลาย ๆ ชาติ พร้อมทั้งอาการและอุทเทส ด้วยประการฉะนี้.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ในความระลึกชาติหนหลังได้นั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความระลึก
ชาติหนหลังได้ ตามความเป็นจริงของพระตถาคต.

[847] 9. ญาณรู้ความจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายของ
พระตถาคต
เป็นไฉน ?
พระตถาคตในโลกนี้ มีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงเลยจักษุของสามัญ
มนุษย์ ทรงเห็นเหล่าสัตว์ผู้กำลังจุติและอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มี
ผิวพรรณทราม ไปสุคติ ไปทุคติ ทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์ทั้งหลายผู้เจริญเหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริต ประกอบวจีทุจริต ประกอบ
มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือเอามิจฉาทิฏฐิ-

กรรม เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก หรือสัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบกายสุจริต ประกอบวจีสุจริต ประกอบ
มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือเอาสัมมาทิฏฐิ
กรรม สัตว์เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ พระตถาคตมีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงเลยจักษุของสามัญมนุษย์ ทรง
เห็นเหล่าสัตว์ผู้กำลังจุติและอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ไปสุคติ ไปทุคติ ทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ
ฉะนี้
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ในความจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความ
จุติและอุปบติแห่งสัตว์ทั้งหลายของพระตถาคต.

[848] 10. ญาณรู้ความสิ้นอาสวะ ตามความเป็นจริงของ
พระตถาคต
เป็นไฉน ?
พระตถาคตในโลกนี้ ทรงรู้ยิ่งด้วยพระองค์เอง ทรงทำให้แจ้ง ทรง
เข้าถึงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้น
ไป อยู่ ในทิฏฐธรรม.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความ
สิ้นอาสวะ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต
ฉะนี้แล.
ญาณวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาญาณวิภังค์


อธิบายบทมาติกา


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งมาติกา (แม่บท) ไว้ในญาณวิภังค์
ในลำดับแห่งปฏิสัมภิทาวิภังค์นั้น ด้วยปริจเฉททั้ง 10 ซึ่งมีแม่บทหมวด 1 เป็น
ต้น มีแม่บทหมวด 10 เป็นปริโยสานก่อน โดยนัยมีคำเป็นต้น ว่า เอกวเธน
ญาณวตฺถุ
ดังนี้ (แปลว่าญาณวัตถุหมวดหนึ่ง) แล้วทำอธิบายโดยลำดับ
แห่งบททั้งหลายที่พระองค์ทรงตั้งไว้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เอกวิเธน ได้แก่ โดยประการหนึ่ง
หรือโดยส่วนหนึ่ง. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ญาณวตฺถุ นี้ ชื่อว่า ญาณวัตถุ
เพราะอรรถว่า ญาณนั้นด้วย วัตถุนั้นด้วย มีอยู่แก่สมบัติทั้งหลายมีประการ
ต่าง ๆ. แม้คำว่า ชื่อว่า วัตถุแห่งญาณ เพราะอรรถว่า เป็นการปรากฏ
(โอกาสฏฺเฐน) ดังนี้ก็ชื่อว่า ญาณวัตถุ. แต่ในที่นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
ญาณวัตถุ เพราะอรรถอันมีนัยก่อนเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้นแหละ ในที่สุดแห่ง
การกำหนดญาณวัตถุหมวดหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ยาถาวกวตฺถุ-
วิภาวนา ปญฺญา เอวํ เอกวิเธน ญาณวตฺถุ
ดังนี้ (แปลว่า ปัญญา
ที่แสดงเรื่องของวิญญาณ 5 ตามความเป็นจริงดังกล่าวมานี้ ญาณวัตถุหมวด 1
ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้).
คำว่า ปญฺจ วิญฺญาณา ได้แก่ วิญญาณ 5 มีจักขุวิญญาณ เป็น
ต้น. บัณฑิตพึงทราบคำทั้งหลาย มีคำว่า น เหตุ เป็นต้น (คำว่า น เหตุ