เมนู

ทีนั้นแล ลิงตัวนั้น พึงกระโดดไปที่ต้นตาลนั้น ๆ โดยลำดับ จนถึง
ต้นตาลต้นสุดท้าย เมื่อนายพรานไปที่ต้นตาลแม้นั้นแล้วก็ทำอย่างนั้น
นั่นแหละ ลิงนั้นก็พึงมายังต้นตาลต้นแรก โดยนัยนั้นนั่นแหละอีก
ลิงนั้น เมื่อไปโดยลำดับแล้ว ๆ เล่า ๆ อย่างนี้ก็จะปรากฏตัวออกไป
ในที่ที่นายพรานตะเพิดเท่านั้น แล้วจะหมอบลงที่ต้นตาลต้นหนึ่ง
โดยลำดับอีก แล้วจับยอดใบตาลอ่อนกลางต้นตาลนั่นแหละไว้มั่น
แม้จะถูกนายพรานยิงก็ไม่หนีไป ฉันใด คำอุปมัยนี้ ก็พึงทราบ
ฉันนั้น. ในข้อนั้น มีคำเปรียบเทียบอุปมาและอุปมัยดังต่อไปนี้.


การอุปมาและอุปมัย


โกฏฐาส 32 ในกายนี้ เปรียบเหมือนต้นตาล 32 ต้น ในดงตาล.
จิตเปรียบเหมือนลิง. พระโยคาวจรเปรียบเหมือนนายพราน. การที่จิตของ
พระโยคาวจรแล่นไปเนือง ๆ ในกายอันมีโกฏฐาส 32 ด้วยสามารถแห่งอารมณ์
เปรียบเหมือนการที่ลิงอยู่ในดงตาล อันมีต้นตาล 32 ต้น. การทที่เมื่อพระ-
โยคาวจร. เริ่มมนสิการว่า เกสา เป็นต้น จิตก็จะดำเนินไปตามลำดับแล้ว
หยุดอยู่ที่โกฏฐาสสุดท้าย เปรียบเหมือนเมื่อนายพรานเอาลูกศรยิงไปยังใบตาล
ต้นแรกแล้วตะเพิด ลิงจะกระโดดไปที่ต้นตาลต้นนั้น ๆ แล้วไปยังต้นสุดท้าย.
แม้ในการที่ลิงกลับมาอีก ก็นัยนี้เหมือนกัน. การที่เมื่อพระโยคาวจร มนสิการ
บ่อย ๆ ครั้นเมื่อโกฏฐาสบางอย่างปรากฏแล้ว ละทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ปรากฏทำ
บริกรรมในโกฏฐาสที่ปรากฏ เปรียบเหมือนการปรากฏของลิงผู้ไปอยู่โดยลำดับ
แล้ว ๆ เล่า ๆ ในที่ที่นายพรานตะเพิดแล้ว ๆ. การที่เมื่อโกฏฐาส 2 โกฏฐาส
ปรากฏ โกฏฐาสใดปรากฏดีกว่า พระโยคาวจรมนสิการโกฏฐาสนั้นนั่นแหละ