เมนู

มนสิการโดยการก้าวล่วงบัญญัติ


ข้อว่า ปณฺณตฺติสมติกฺกมนโต ความว่า พระโยคาวจร พึงก้าว
ล่วงบัญญัติว่า ผม ขน เป็นต้น และพึงตั้งจิตว่า นั่นเป็นของปฏิกูล. คือ
ในครั้งแรก ความเป็นปฏิกูลย่อมปรากฏ ลำดับนั้น พึงก้าวล่วงบัญญัติว่า
เกสา โลมา แล้วตั้งจิตไว้ในความเป็นปฏิกูลเท่านั้น เปรียบเหมือน ในเวลา
ที่น้ำหาได้ยาก พวกมนุษย์เห็นที่มีน้ำในป่า จึงผูกอะไร ๆ มีใบตาลเป็นต้น
ไว้เป็นสัญญาณ (เครื่องหมาย) ในที่นั้น พวกเขาย่อมมาอาบและดื่ม ด้วย
สัญญาณนั้น. ก็แล ในกาลใด รอยเท้าของพวกเขาที่สัญจรมาบ่อย ๆ ปรากฏ
แล้ว ในกาลนั้น ก็ไม่มีความจำเป็นด้วยสัญญาณนั้นอีก เขาย่อมไปอาบและ
ดื่มได้ในขณะที่ต้องการ ๆ.

มนสิการโดยการปล่อยลำดับ


ข้อว่า อนุปุพฺพมุญฺจนโต ความว่า โกฏฐาสใด ๆ ไม่ปรากฏ เมื่อ
ปล่อยโกฏฐาสนั้น ๆ ก็พึงมนสิการไปโดยการปล่อยตามลำดับ คือว่า พระโยคา-
วจรผู้อาทิกัมมิกะ (ผู้เริ่มทำครั้งแรก) เมื่อมนสิการว่า เกสา ก็มนสิการไป
จนจดโกฏฐาสสุดท้ายว่า มุตฺตํ นี้ และเมื่อมนสิการว่า มุตฺตํ ก็มนสิการไป
จนจดโกฏฐาสต้นว่า เกสา นี้ นั่นแหละ ทีนั้นเมื่อมนสิการโกฏฐาสนั้นอยู่
โกฏฐาสบางอย่างย่อมปรากฏ บางอย่างก็ไม่ปรากฏ โกฏฐาสใดๆ ปรากฏด้วย
มนสิการนั้น พึงทำกรรมฐานนั้น ๆ ก่อน บรรดาโกฏฐาสเหล่านั้น เมื่อ
ปรากฏ 2 โกฏฐาส โกฏฐาสหนึ่งปรากฏดีกว่า มนสิการโกฏฐาสนั้นนั่นแหละ
บ่อย ๆ อยู่ ก็พึงให้อัปปนาเกิดได้. ในข้อนี้มีอุปมาดังนี้.
เหมือนอย่างว่า นายพรานต้องการจะจับลิงที่อยู่ในดงตาล
ซึ่งมีต้นตาล 32 ต้น เอาลูกศรยิงไปยังใบตาลต้นแรกแล้วตะเพิด

ทีนั้นแล ลิงตัวนั้น พึงกระโดดไปที่ต้นตาลนั้น ๆ โดยลำดับ จนถึง
ต้นตาลต้นสุดท้าย เมื่อนายพรานไปที่ต้นตาลแม้นั้นแล้วก็ทำอย่างนั้น
นั่นแหละ ลิงนั้นก็พึงมายังต้นตาลต้นแรก โดยนัยนั้นนั่นแหละอีก
ลิงนั้น เมื่อไปโดยลำดับแล้ว ๆ เล่า ๆ อย่างนี้ก็จะปรากฏตัวออกไป
ในที่ที่นายพรานตะเพิดเท่านั้น แล้วจะหมอบลงที่ต้นตาลต้นหนึ่ง
โดยลำดับอีก แล้วจับยอดใบตาลอ่อนกลางต้นตาลนั่นแหละไว้มั่น
แม้จะถูกนายพรานยิงก็ไม่หนีไป ฉันใด คำอุปมัยนี้ ก็พึงทราบ
ฉันนั้น. ในข้อนั้น มีคำเปรียบเทียบอุปมาและอุปมัยดังต่อไปนี้.


การอุปมาและอุปมัย


โกฏฐาส 32 ในกายนี้ เปรียบเหมือนต้นตาล 32 ต้น ในดงตาล.
จิตเปรียบเหมือนลิง. พระโยคาวจรเปรียบเหมือนนายพราน. การที่จิตของ
พระโยคาวจรแล่นไปเนือง ๆ ในกายอันมีโกฏฐาส 32 ด้วยสามารถแห่งอารมณ์
เปรียบเหมือนการที่ลิงอยู่ในดงตาล อันมีต้นตาล 32 ต้น. การทที่เมื่อพระ-
โยคาวจร. เริ่มมนสิการว่า เกสา เป็นต้น จิตก็จะดำเนินไปตามลำดับแล้ว
หยุดอยู่ที่โกฏฐาสสุดท้าย เปรียบเหมือนเมื่อนายพรานเอาลูกศรยิงไปยังใบตาล
ต้นแรกแล้วตะเพิด ลิงจะกระโดดไปที่ต้นตาลต้นนั้น ๆ แล้วไปยังต้นสุดท้าย.
แม้ในการที่ลิงกลับมาอีก ก็นัยนี้เหมือนกัน. การที่เมื่อพระโยคาวจร มนสิการ
บ่อย ๆ ครั้นเมื่อโกฏฐาสบางอย่างปรากฏแล้ว ละทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ปรากฏทำ
บริกรรมในโกฏฐาสที่ปรากฏ เปรียบเหมือนการปรากฏของลิงผู้ไปอยู่โดยลำดับ
แล้ว ๆ เล่า ๆ ในที่ที่นายพรานตะเพิดแล้ว ๆ. การที่เมื่อโกฏฐาส 2 โกฏฐาส
ปรากฏ โกฏฐาสใดปรากฏดีกว่า พระโยคาวจรมนสิการโกฏฐาสนั้นนั่นแหละ