เมนู

มนสิการโดยไม่รีบด่วน


อนึ่ง แม้เมื่อมนสิการไปโดยลำดับ ก็ไม่พึงมนสิการโดยรีบด่วน
เพราะว่าเมื่อมนสิการโดยรีบด่วนเกินไป กรรมฐานย่อมถึงที่สุดอย่างเดียว แต่
ไม่แจ่มแจ้ง ทั้งไม่นำมาซึ่งคุณวิเศษ เปรียบเหมือนเมื่อบุรุษเดินทาง 3 โยชน์
ไม่ได้กำหนดทางเบี่ยง และทางแยกไว้ เดินไปเดินมา โดยรวดเร็วแม้ทั้ง 7
ครั้ง ทางย่อมจะสิ้นไปเร็วแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ต้องถามคนอื่นทุกครั้งจึง
จะเดินทางไปได้ เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรไม่พึงมนสิการโดยรีบด่วนเกินไป.

มนสิการโดยไม่ช้าเกินไป


ก็พระโยคาวจร มนสิการโดยไม่รีบด่วน ฉันใด พึงมนสิการโดยไม่
ชักช้าเกินไป ฉันนั้น. เพราะว่า เมื่อมนสิการโดยชักช้าเกินไป กรรมฐาน
ย่อมจะไม่ถึงที่สุด ทังไม่เป็นปัจจัยแก่การบรรลุคุณวิเศษ เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้ต้องการเดินทางไกล 3 โยชน์นั่นแหละ มัวแต่ชักช้าหยุดพักตามโคนไม้
เชิงเขา เป็นต้นในระหว่างทาง ทางก็ย่อมไม่ถึงการสิ้นไป ต้องเดินไป 2 - 3วัน
จึงจะถึงสุดทางได้.

มนสิการโดยห้ามความฟุ้งซ่าน


ข้อว่า วิกฺเขปปฏิพาหนโต ความว่า พึงห้ามจิตที่สละกรรมฐาน
ฟุ้งไปในอารมณ์ภายนอกมากมายเสีย เพราะเมื่อไม่ห้ามจิตไว้ เมื่อจิตฟุ้งไป
ภายนอก กรรมฐานย่อมเสื่อมสลายไป เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลเดินทางข้าม
เหว อันเป็นทางเดินได้คนเดียว ไม่กำหนดทางที่เหยียบ มัวเหลียวดูทางโน้น
ทางนี้ย่อมก้าวพลาด ทีนั้นเขาจะตกลงไปในเหวลึกชั่วร้อยบุรุษ เพราะฉะนั้น
พึงมนสิการ โดยการห้ามความฟุ้งซ่านเสีย.

มนสิการโดยการก้าวล่วงบัญญัติ


ข้อว่า ปณฺณตฺติสมติกฺกมนโต ความว่า พระโยคาวจร พึงก้าว
ล่วงบัญญัติว่า ผม ขน เป็นต้น และพึงตั้งจิตว่า นั่นเป็นของปฏิกูล. คือ
ในครั้งแรก ความเป็นปฏิกูลย่อมปรากฏ ลำดับนั้น พึงก้าวล่วงบัญญัติว่า
เกสา โลมา แล้วตั้งจิตไว้ในความเป็นปฏิกูลเท่านั้น เปรียบเหมือน ในเวลา
ที่น้ำหาได้ยาก พวกมนุษย์เห็นที่มีน้ำในป่า จึงผูกอะไร ๆ มีใบตาลเป็นต้น
ไว้เป็นสัญญาณ (เครื่องหมาย) ในที่นั้น พวกเขาย่อมมาอาบและดื่ม ด้วย
สัญญาณนั้น. ก็แล ในกาลใด รอยเท้าของพวกเขาที่สัญจรมาบ่อย ๆ ปรากฏ
แล้ว ในกาลนั้น ก็ไม่มีความจำเป็นด้วยสัญญาณนั้นอีก เขาย่อมไปอาบและ
ดื่มได้ในขณะที่ต้องการ ๆ.

มนสิการโดยการปล่อยลำดับ


ข้อว่า อนุปุพฺพมุญฺจนโต ความว่า โกฏฐาสใด ๆ ไม่ปรากฏ เมื่อ
ปล่อยโกฏฐาสนั้น ๆ ก็พึงมนสิการไปโดยการปล่อยตามลำดับ คือว่า พระโยคา-
วจรผู้อาทิกัมมิกะ (ผู้เริ่มทำครั้งแรก) เมื่อมนสิการว่า เกสา ก็มนสิการไป
จนจดโกฏฐาสสุดท้ายว่า มุตฺตํ นี้ และเมื่อมนสิการว่า มุตฺตํ ก็มนสิการไป
จนจดโกฏฐาสต้นว่า เกสา นี้ นั่นแหละ ทีนั้นเมื่อมนสิการโกฏฐาสนั้นอยู่
โกฏฐาสบางอย่างย่อมปรากฏ บางอย่างก็ไม่ปรากฏ โกฏฐาสใดๆ ปรากฏด้วย
มนสิการนั้น พึงทำกรรมฐานนั้น ๆ ก่อน บรรดาโกฏฐาสเหล่านั้น เมื่อ
ปรากฏ 2 โกฏฐาส โกฏฐาสหนึ่งปรากฏดีกว่า มนสิการโกฏฐาสนั้นนั่นแหละ
บ่อย ๆ อยู่ ก็พึงให้อัปปนาเกิดได้. ในข้อนี้มีอุปมาดังนี้.
เหมือนอย่างว่า นายพรานต้องการจะจับลิงที่อยู่ในดงตาล
ซึ่งมีต้นตาล 32 ต้น เอาลูกศรยิงไปยังใบตาลต้นแรกแล้วตะเพิด