เมนู

วรรณนาปัญหาปุจฉะ


ในปัญหาปุจฉกะ

บัณฑิตพึงทราบ ความที่ปฏิสัมภิทา 4 เป็นกุศล
เป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั้นแหละ. ก็แต่ ในอารัมมณติกะทั้งหลาย
นิรุตติปฏิสัมภิทา ชื่อว่า เป็นปริตตารัมมณะ เพราะทำเสียงเท่านั้นให้เป็น
อารมณ์.
อัตถปฏิสัมภิทา เป็นปริตตารัมมณะแก่ผู้พิจารณาซึ่งอรรถ กล่าว
คือ กามาวจรวิบากและกิริยา และสภาวะอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย.
เมื่อพิจารณาอรรถแห่งรูปาวจรและอรูปาวจร มีประเภทตามที่กล่าวแล้วนั่น
แหละ เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาพระนิพพาน อันเป็นปรมัตถ์
และอรรถ คือโลกุตตรวิบาก ชื่อว่า เป็นอัปปมาณารัมมณะ.
ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นปริตตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาซึ่งกามาวจรกุศล
อกุศล และธรรมอันเป็นปัจจัย. เมื่อพิจารณากุศลธรรมอันเป็นรูปาวจร
อรูปาวจร และธรรมอันเป็นปัจจัย เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่ง
ธรรมอันเป็นโลกุตตรกุศล และธรรมอันเป็นปัจจัย เป็นอัปปมาณารัมมณะ.
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นปริตตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งญาณ
ในกามาวจรกุศล วิบากและกิริยา. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งญาณในกุศล วิบาก
และกิริยาอันเป็นรูปาวจร อรูปาวจร รู้อยู่ซึ่งอารมณ์ทั้งหลายของธรรมเหล่า
นั้น เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งญาณในกุศล และวิบาก อัน
เป็นโลกุตตระ เป็นอัปปมาณารัมมณะ.
อัตถปฏิสัมภิทา เป็นมัคคเหตุกะ ด้วยสามารถแห่งสหชาตเหตุ.
เป็นมัคคาธิปติ ด้วยการเจริญมรรค มีวิริยะเป็นหัวหน้า. ไม่พึงกล่าวว่า เป็น