เมนู

มิให้เหลือ ด้วยสามารถแห่งภาษิตในที่แม้นี้ว่า นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้
นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้
ดังนี้ ว่า เป็นอัตถปฏิสัมภิทา ดังนี้แล.
สุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


บรรดาปฏิสัมภิทา 4 เหล้านั้น ปฏิสัมภทา 3 คือ ธัมมะ,
นิรุตติ, ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นโลกียะ. อัตถปฏิสัมภิทา เป็น
มิสสกะ คือ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี. จริงอยู่ อัตถปฏิ-
สัมภิทานั้น เป็นโลกุตตระด้วยสามารถแห่งญาณในมรรคและผล อัน
มีพระนิพพานเป็นอารมณ์.

ในอภิธรรมภาชนีย์ ท่านจำแนกปฏิสัมภิทาเหล่านั้นโดยวาระทั้ง 4
ด้วยสามารถแห่ง กุศล อกุศล วิบาก และกิริยา. ในธรรมเหล่านั้น บัณฑิต
พึงทราบว่า กุศลจิตท่านจำแนกไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลัง มีประมาณ
เท่าไร พึงทราบปฏิสัมภิทาอย่างละ 4 ในจิตตนิทเทสหนึ่งๆ ด้วยสามารถแห่ง
ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด. แม้ในอกุศลจิตทั้งหลาย ก็นัยนี้แหละ.

ปฏิสัมภิทา 3 (เว้นธัมมะ)

1
ในวาระว่าด้วยวิบากและกิริยา ท่านเว้นธัมมปฏิสัมภิทาเสีย
เพราะความที่วิบากและกิริยาทั้งหลายท่านสงเคราะห์ด้วยอัตถปฏิ-
สัมภิทา.2 ในวิปากจิตก็ดี ในกิริยาจิตก็ดี อย่างหนึ่ง ๆ ท่านจำแนก
ปฏิสัมภิทาไว้อย่างละ 3 เท่านั้น.


1. ธัมมะ ได้แก่ กามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต โลกุตตรจิต และอกุศลจิต
2. อัตถะ ได้แก่ อเหตุกกุศลวิปากจิต กามาวจรวิปากจิต รูปาวจรวิปากจิต อรูปาวจรวิปากจิต
โลกุตตรวิปากจิต และอกุศลวิปากจิต.