เมนู

ปฏิสัมภิทาแล้วกล่าวปวารณา. ด้วยว่า พระเถระนั้น ท่านให้บุคคลบอกแล้ว ๆ
ท่านก็เรียนเอาภาษานั้น ๆ เพราะความที่ท่านมีปัญญามาก ถัดจากนั้นมาท่าน
จึงปวารณาอย่างนี้ เพราะตั้งอยู่แล้วในการศึกษาเล่าเรียน.

ภาษามคธเป็นภาษาทั่วไปของสัตว์โลก


ก็แลครั้นท่านกล่าวแล้ว จึงกล่าวคำในที่นี้ต่อไปอีกว่า ธรรมดาว่า
สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมเรียนกาษา
ดังนี้ จริงอยู่ มารดาและบิดาให้ลูกน้อย
นอนที่เตียงหรือที่ตั้งในเวลาที่ลูกยังเป็นทารก แล้วพูดซึ่งกิจนั้น ๆ เด็กทั้งหลาย
ย่อมกำหนดภาษาของมารดาหรือของบิดาว่า คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว คำนี้ผู้นี้
กล่าวแล้ว
เมื่อกาลผ่านไป ๆ พวกเด็กย่อมรู้ภาษาแม้ทั้งหมด. มารดาเป็น
ชาวทมิฬ บิดาเป็นชาวอันธกะ เด็กที่เกิดแต่ชนทั้งสองนั้น ถ้าเขาฟังถ้อยคำ
ของมารดาก่อน เขาจักพูดภาษาทมิฬก่อน ถ้าฟังถ้อยคำของบิดาก่อน เขาจัก
พูดภาษาชาวอันธกะก่อน. แต่เมื่อไม่ได้ฟังถ้อยคำของชนแม้ทั้งสอง ก็จักกล่าว
(พูด) ภาษาของชนชาวมคธ.
ทารกแม้ใดเกิดในป่าใหญ่ไม่มีบ้าน คนอื่น
ชื่อว่ากล่าวอยู่ไม่มีในป่าใหญ่นั้น ทารกแม้นั้น เมื่อจะยังวาจาให้ตั้งขึ้นตาม
ธรรมดาของตน ก็จักกล่าวภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.
ภาษาของชนชาวมคธเท่านั้นหนาแน่นแล้ว (มากมาย) ในที่ทั้งปวง
คือ

1. ในนิรยะ (นรก)
2. ในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน
3. ในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต)
4. ในมนุษย์โลก
5. ในเทวโลก

ในภาษาของสัตว์ทั้งหลาย ภาษา 18 อย่าง นอกจากภาษาของชน
ชาวมคธ มีภาษาของคนป่า ของชาวอันธกะ ของชาวโยนก ของทมิฬตามที่
กล่าวแล้วเป็นต้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ภาษาของชนชาวมคธกล่าวคือ
เป็นโวหารของพรหม เป็นโวหารของพระอริยะ ตามความเป็นจริง

ภาษานี้ภาษาเดียวเท่านั้นไม่เปลี่ยนแปลง. แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรง
ยกพระไตรปิฎก คือพระพุทธพจน์ขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นด้วยภาษาของ
ชนชาวมคธนั่นแหละ.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า ก็เพราะเพื่อจะนำมาซึ่งอรรถ (ประโยชน์) ได้โดยง่าย.
จริงอยู่ การเข้าถึงคลองกระแสแห่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผน
ด้วยภาษาแห่งชนชาวมคธย่อมเป็นการมาอย่างพิศดารแก่ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้ง
หลาย. คือว่า เมื่อกระแสแห่งพระพุทธพจน์นั้นสักว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสืบต่อแล้ว
นั่นแหละ อรรถย่อมมาปรากฏนับโดยร้อยนัยพันนัย. ก็การที่บุคคลท่องแล้ว ๆ
เรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่นมีอยู่ แต่ชื่อว่าการ
บรรลุปฏิสัมภิทาของปุถุชนเพราะเรียนเอาพุทธพจน์นั้น แม้มาก ย่อมไม่มี.
พระอริยสาวกผู้ไม่บรรลุปฏิสัมภิทาหามีไม่.
คำว่า ญาเณสุ ฌาณํ (แปลว่า ความรู้ในญาณทั้งหลาย) ได้แก่
เมื่อเธอพิจารณากระทำญาณในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้ว ญาณอันถึงความรู้
แตกฉาน ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ดังนี้.
อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิสัมภิทาทั้ง 4 เหล่านี้ ย่อมถึงการแยก
ออกในฐานะ (ภูมิ) 2 อย่าง และย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ 5 อย่าง.

ถามว่า ปฏิสัมภิทา 4 ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ 2 เป็นไฉน ?
ตอบว่า ในฐานะ 2 คือ เสกขภูมิ และอเสกขภูมิ.
ในฐานะ 2 นั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระแม้ทั้ง 80 รูปถึง
ประเภทอเสกขภูมิ คือ ได้แก่ปฏิสัมภิทาของ พระสารีบุตรเถระ ของ
พระมหาโมคคัลลานเถระ ของ พระมหากัสสปเถระ ของ พระมหา-
กัจจายนเถระ
ของ พระมหาโกฏฐิตเถระ เป็นต้น. ปฏิสัมภิทาของ
ผู้ถึงเสกขภูมิ
คือ ของ พระอานันทเถระ ของ จิตตคหบดี ของ ธัมมิก-
อุบาสก
ของ อุบาลีคหบดี ของนางขุชชุตตราอุบาสิกา เป็นต้น
ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมถึงการแยกออกในภูมิทั้งสองเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ด้วยเหตุ 5
เป็นไฉน ?
ตอบว่า ด้วยอธิคมะ ด้วยปริยัติ ด้วยสวนะ ด้วยปริปุจฉา ด้วย
ปุพพโยคะ.
ในเหตุ 5 เหล่านั้น พระอรหัต ชื่อว่า อธิคมะ จริงอยู่ เมื่อ
บรรลุพระอรหัตแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์. พระ-
พุทธพจน์
ชื่อว่า ปริยัติ จริงอยู่เมื่อเรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์อยู่ ปฏิสัมภิทา
ทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์. การฟังพระธรรม ชื่อว่า สวนะ จริงอยู่
เมื่อฟังธรรมอยู่โดยเคารพ ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
อรรถกถา ชื่อว่า ปริปุจฉา จริงอยู่ เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งอรรถแห่งพระบาลีอันตน
เรียนมาแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์. ความเป็นพระ
โยคาวจรในกาลก่อนคือ ความที่กรรมฐานอันตนบริหารแล้วโดยนัยแห่งการนำ
กรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับมา (หรณปัจจาหรณวัตร) ในอดีตภพ ชื่อว่า

ปุพพโยคะ จริงอยู่ เมื่อหยั่งลงสู่ความเพียรมาแล้วในกาลก่อน ปฏิสัมภิทา
ทั้งหลาย ก็ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
บรรดาเหตุ 5 เหล่านั้น พึงทราบปฏิสัมภิทาทั้งหลายของ พระติสส-
เถระ ผู้เป็นบุตรแห่งกุฎุมภี ชื่อ ปุนัพพสุ ได้เป็นธรรมบริสุทธิ์แล้วด้วยการ
บรรลุพระอรหัต ดังนี้.
ได้ยินว่า พระติสสเถระ นั้น เรียนพระพุทธพจน์ในตัมพปัณณิ-
ทวีป (คือในเกาะของชนผู้มีฝ่ามือแดง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลังกาทวีป)
แล้วไปสู่ฝั่งอื่นเรียนเอาพระพุทธพจน์ในสำนักของ พระธัมมรักขิตเถระ
ชาวโยนก เสร็จจากการเรียนก็เดินทางมาถึงท่าเป็นที่ขึ้นเรือ เกิดความสงสัย
ในพระพุทธพจน์บทหนึ่ง จึงเดินทางกลับมาสู่ทางเดิมอีกประมาณ 100 โยชน์
เมื่อไปสู่สำนักของอาจารย์ในระหว่างทางได้แก้ปัญหาแก่กุฎุมภีคนหนึ่ง กุฎุมภี
ผู้นั้นมีความเลื่อมใสได้ถวายผ้ากัมพล มีค่าแสนหนึ่ง พระติสสเถระนั้นนำผ้า
มาถวายอาจารย์ อาจารย์ของพระเถระนั้นทำลายผ้าซึ่งมีราคาถึงแสนหนึ่งนั้น
ด้วยมีด แล้วให้ทำเป็นของใช้ในที่เป็นที่สำหรับนั่ง.
ถามว่า การที่อาจารย์ทำอย่างนั้น เพื่อประโยชน์อะไร ?
ตอบว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่ชนผู้เกิดมาในภายหลัง. ได้ยินว่า อาจารย์
นั้นมีปริวิตกว่า ในอนาคตกาล เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายจักสำคัญถึงการ
้ปฏิบัติอันตนให้บริบูรณ์แล้ว โดยการพิจารณาถึงมรรคอันพวกเราบรรลุแล้ว
(หาใช่มีความกังวลอย่างอื่นไม่). แม้พระติสสเถระก็ตัดความสงสัยได้ในสำนัก
ของอาจารย์ แล้วจึงไป ท่านก้าวลงที่ท่าแห่งเมืองชื่อ ชัมพุโกล ถึงวิหารชื่อว่า
วาลิกะ ในเวลาเป็นที่ปัดกวาดลานพระเจดีย์ ท่านก็ปัดกวาดลานพระเจดีย์.
พระเถระทั้งหลายเห็นที่เป็นที่อันพระติสสเถระนั้นปัดกวาดแล้ว จึงคิดว่า

ที่นี้เป็นที่ปัดกวาด อันภิกษุผู้มีราคะไปปราศแล้วทำการปัดกวาด แต่
เพื่อต้องการทดลอง จึงถามปัญหาต่าง ๆ พระติสสเถระนั้นก็กล่าวแก้ปัญหาอัน
ภิกษุเหล่านั้นถามแล้วทุกข้อ เพราะความที่ตนเป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย
ดังนี้.
ปฏิสัมภิทาของ พระติสสทัตตเถระ และของ พระนาคเสนเถระ
ได้บริสุทธิ์แล้วด้วยปริยัติ. ปฏิสัมภิทาของสามเณร ชื่อ สุธรรม ได้บริสุทธิ์
แล้วด้วยการฟังธรรมโดยเคารพ.
ได้ยินว่า สามเณรนั้นเป็นหลานของพระธัมมทินนเถระผู้อยู่ใน
ตฬังครวาสี ในขณะที่ปลงผมเสร็จก็บรรลุพระอรหัต เมื่อท่านกำลังนั่งฟังธรรม
ในโรงวินิจฉัยธรรมของพระเถระผู้เป็นลุงนั่นแหละ ได้เป็นผู้ชำนาญพระไตร-
ปิฎกแล้ว.
ปฏิสัมภิทาของพระติสสทัตตเถระผู้กล่าวอรรถ (ปริปุจฉา) ด้วย
พระบาลีอันตนเรียนมา ได้เป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว. อนึ่ง พระโยคาวจรในปางก่อน
บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร (วัตร คือการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับ
มา) แล้วขวนขวายกรรมฐานอันเหมาะสม มีปฏิสัมภิทาอันถึงความบริสุทธิ์
แล้ว มิได้สิ้นสุด (มีมากมาย).
ก็บรรดาเหตุ 5 เหล่านั้น เหตุ 3 เหล่านี้ คือ ปริยัติ สวนะ ปริ-
ปุจฉา เป็นเหตุ (เครื่องกระทำ) ที่มีกำลัง แก่ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน.
ปุพพโยคะ เป็นพลวปัจจัย (ปัจจัยที่มีกำลัง) แก่อธิคม (การบรรลุพระ-
อรหัต).
ถามว่า ปุพพโยคะ เป็นปัจจัยที่มีกำลังแก่ปัญญาเป็นเครื่องแตก
ฉาน หรือไม่ ?

ตอบว่า เป็น แต่มิได้เป็นเช่นนั้น เพราะปริยัติ คือ พระพุทธพจน์
สวนะคือการฟังธรรม ปริปุจฉาคือการสอบถามอรรถธรรมในกาลก่อน จะมี
หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อว่าโดยปุพพโยคะแล้ว เว้นจากการพิจารณาสังขาร
ทั้งหลายในกาลก่อนด้วย ในกาลปัจจุบันด้วย ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ชื่อว่า หามี
ได้ไม่ อนึ่ง ปุพพโยคะในกาลก่อน และในกาลปัจจุบันนี้ เมื่อรวมกันเข้า
มาสนับสนุนแล้ว ย่อมทำปฏิสัมภิทาให้บริสุทธิ์.
วรรณนาสังคหวาระ1 จบ

บัดนี้ เพื่อจำแนกปฏิสัมภิทาทั้งหลายโดยนัยแห่งการแสดงประเภทแห่ง
การสงเคราะห์ อรรถและธรรมทั้ง 5 วาระเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ในสังคหวาระ
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเริ่มปเภทวาระ (คือวาระที่มีชนิดต่างกัน) โดยนัย
เป็นต้นว่า จตสฺโส (แปลว่า ปฏิสัมภิทา 4) ดังนี้อีก. วาระนั้นมี 5 อย่าง
ด้วยสามารถแห่งสัจจวาระ เหตุวาระ ธัมมวาระ ปัจจยาการวาระ ปริยัตติวาระ.
ในวาระเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส สัจจวาระ ไว้ก็เพื่อ
แสดงถึงความที่พระนิพพานเป็นธรรมที่บรรลุได้ด้วยปัจจัยแห่งทุกข์ซึ่งอาศัยกัน
เกิดขึ้น ว่าเป็น อัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงถึงความที่อริยมรรค
อันนำมาซึ่งพระนิพพานอันเป็นเหตุ อันยังผลให้เกิดขึ้นว่า เป็น ธัมมะ (ธัมม-
ปฏิสัมภิทา).
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เหตุวาระ2 ไว้ก็เพื่อแสดงถึงความที่เหตุทั้ง
หลายอันยังผลให้เกิดอันใดอันหนึ่งว่าเป็น ธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา) และเพื่อ

1. สังคหวาระ หมายถึงวาระที่กล่าวรวมกัน
2. เหตุวาระ ปฏิสัมภิทา 4 คือ อัตถ.. ธัมม.. นิรุตติ.. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า อธิบายธัมมะ (เหตุ) ก่อน อัตถะ.

แสดงถึงความที่ผลของเหตุว่าเป็น อัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา). ในข้อนี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกธัมมปฏิสัมภิทาขึ้นชี้แจงก่อน โดยไม่เป็นไปตามระเบียบ
อันว่าด้วยลำดับแห่งเหตุและผลที่ทรงตั้งไว้.
อนึ่ง ธรรมเหล่าใด อันต่างด้วยรูปและอรูปธรรม (ขันธ์ 5) อันเกิด
ขึ้นแล้วมีแล้วจากเหตุนั้น ๆ เพื่อแสดงซึ่งความที่ธรรมเหล่านั้นว่าเป็น อัตถะ
(อัตถปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงซึ่งความที่เหตุอันเกิดขึ้นแห่งรูปและอรูปธรรม
นั้นๆ ว่าเป็น ธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา) พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ธัมมวาระ
ไว้.
ก็เพื่อแสดงซึ่งธรรมมีชราและมรณะเป็นต้นว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิ-
สัมภิทา) และซึ่งความที่ธรรม คือ ชาติ (การเกิด) กล่าวคือเหตุเกิดขึ้นแห่ง
ชราและมรณะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส ปัจจยาการวาระ.
ลำดับนั้น เพื่อแสดงซึ่งภาษิตนั้น ๆ กล่าวคือพระปริยัติ และซึ่งความ
ที่อรรถแห่งภาษิตที่พึงบรรลุได้ด้วยปัจจัยกล่าวคือภาษิต พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัส ปริยัตติวาระ ในข้อนี้ อรรถแห่งภาษิตนั้นที่จะรู้ได้ ย่อมรู้ได้ด้วย
ภาษิต ฉะนั้น พระองค์จึงทรงยกธัมมปฏิสัมภิทาขึ้นชี้แจงแสดงก่อนอัตถ-
ปฏิสัมภิทา โดยมิได้แสดงไปตามลำดับ แห่งเนื้อความภาษิตที่พระองค์ตรัสไว้.
อนึ่ง เพื่อแสดงประเภทแห่งพระปริยัติธรรมว่า ในปฏิสัมภิทา 4
เหล่านั้นธัมมปฏิสัมภิทาเป็นไฉน.
จึงตรัส ปฏิสัมภิทา (คือ วาระที่วก
กลับมาชี้แจง) เป็นคำถามเป็นประธาน. ในวาระที่วกกลับมาชี้แจงนั้น ทรง
ถือเอาแบบแผนทั้งหมดโดยไม่เหลือ ด้วยองค์ 91 ซึ่งมีคำว่า สุตตะเป็นต้น
ว่า เป็นธัมมปฏิสัมภิทา ทรงถือเอาแบบแผนทั้งหมดสิ้นเชิง โดยการแสดง

1. องค์ 9 คือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ

มิให้เหลือ ด้วยสามารถแห่งภาษิตในที่แม้นี้ว่า นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้
นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้
ดังนี้ ว่า เป็นอัตถปฏิสัมภิทา ดังนี้แล.
สุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


บรรดาปฏิสัมภิทา 4 เหล้านั้น ปฏิสัมภทา 3 คือ ธัมมะ,
นิรุตติ, ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นโลกียะ. อัตถปฏิสัมภิทา เป็น
มิสสกะ คือ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี. จริงอยู่ อัตถปฏิ-
สัมภิทานั้น เป็นโลกุตตระด้วยสามารถแห่งญาณในมรรคและผล อัน
มีพระนิพพานเป็นอารมณ์.

ในอภิธรรมภาชนีย์ ท่านจำแนกปฏิสัมภิทาเหล่านั้นโดยวาระทั้ง 4
ด้วยสามารถแห่ง กุศล อกุศล วิบาก และกิริยา. ในธรรมเหล่านั้น บัณฑิต
พึงทราบว่า กุศลจิตท่านจำแนกไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลัง มีประมาณ
เท่าไร พึงทราบปฏิสัมภิทาอย่างละ 4 ในจิตตนิทเทสหนึ่งๆ ด้วยสามารถแห่ง
ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด. แม้ในอกุศลจิตทั้งหลาย ก็นัยนี้แหละ.

ปฏิสัมภิทา 3 (เว้นธัมมะ)

1
ในวาระว่าด้วยวิบากและกิริยา ท่านเว้นธัมมปฏิสัมภิทาเสีย
เพราะความที่วิบากและกิริยาทั้งหลายท่านสงเคราะห์ด้วยอัตถปฏิ-
สัมภิทา.2 ในวิปากจิตก็ดี ในกิริยาจิตก็ดี อย่างหนึ่ง ๆ ท่านจำแนก
ปฏิสัมภิทาไว้อย่างละ 3 เท่านั้น.


1. ธัมมะ ได้แก่ กามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต โลกุตตรจิต และอกุศลจิต
2. อัตถะ ได้แก่ อเหตุกกุศลวิปากจิต กามาวจรวิปากจิต รูปาวจรวิปากจิต อรูปาวจรวิปากจิต
โลกุตตรวิปากจิต และอกุศลวิปากจิต.