เมนู

ปฏิสัมภิทา 3 เป็นสวิจาระ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี,
ปฏิสัมภิทา 4 เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นน-
ปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็
มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี, ปฏิสัมภิทา 3 เป็นกามาวจร อัตถปฏิสัมภิทา
เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี ปฏิสัมภิทา 4 เป็นนรูปาวจร เป็นน-
อรูปาวจร ปฏิสัมภิทา 3 เป็นปริยาปันนะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นปริยาปันนะ
ก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี, ปฏิสัมภิทา 3 เป็นอนิยยานิกะ, อัตถปฏิสัมภิทา
เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี, ปฏิสัมภิทา 3 เป็นอนิยตะ อัตถปฏิสัมภิ-
ทา เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี, ปฏิสัมภิทา 3 เป็นสอุตตระ, อัตถปฏิสัมภิทา
เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี ปฏิสัมภิทา 4 เป็นอรณะ ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
ปฏิสัมภิทาวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังค์


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


บัดนี้ พึงทราบปฏิสัมภิทาวิภังค์ในลำดับแห่งสิกขาบทวิภังค์นั้นต่อไป

คำว่า 4 เป็นคำกำหนดจำนวน.
คำว่า ปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ปัญญาอันแตกฉาน. อธิบายว่า ก็เพราะ
ข้างหน้านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็น
ต้น แปลว่า ญาณ (ปัญญา) ในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ฉะนั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่เป็นการแตกฉานของใครๆ เลย นอกจากเป็นการแตก

ฉานของญาณ (ปัญญา) เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงสงเคราะห์
เนื้อความนี้ว่า การแตกฉานของญาณ 4 นี้ลงในบทว่า ปฏิสัมภิทา 4
ดังนี้ ปฏิสัมภิทาในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา อธิบายว่า ญาณ (ปัญญา)
อันถึงความรู้แตกฉานในอรรถ เพื่อสามารถทำการวิเคราะห์ (แยกแยะ) อรรถ
ชนิดต่าง ๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้. จริงอยู่
ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรม เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ธรรมชาติ
ต่าง ๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึง
ความรู้แตกฉานในการกล่าวซึ่งนิรุตติธรรม เพื่อสามารถกระทำวิเคราะห์นิรุตติ
(คือภาษาชนิดต่างๆ) ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา.
ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในปฏิภาณ (คือไหวพริบในการโต้ตอบได้ฉับพลัน
ทันที) เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ปฏิภาณชนิดต่าง ๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการ
พิจารณา ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงปฏิสัมภิทาทั้งหลาย
ตามที่ทรงตั้งไว้ จึงตรัสคำว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นอาทิ
(แปลว่า ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา).

อธิบายคำว่า อัตถะ


บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อตฺถ เมื่อว่าโดยสังเขป ได้แก่ ผลของ
เหตุ (ผลอันเกิดแต่เหตุ). จริงอยู่ ผลของเหตุนั้น พึงเป็นของสงบ (คือ
ปราศจากกิเลส) พึงถึงพึงบรรลุได้ด้วยสามารถแห่งเหตุ ฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า อัตถะ. เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า
ได้แก่ธรรม 5 เหล่านั้น คือ