เมนู

ปฏิสัมภิทา 3 เป็นสวิจาระ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี,
ปฏิสัมภิทา 4 เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นน-
ปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็
มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี, ปฏิสัมภิทา 3 เป็นกามาวจร อัตถปฏิสัมภิทา
เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี ปฏิสัมภิทา 4 เป็นนรูปาวจร เป็นน-
อรูปาวจร ปฏิสัมภิทา 3 เป็นปริยาปันนะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นปริยาปันนะ
ก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี, ปฏิสัมภิทา 3 เป็นอนิยยานิกะ, อัตถปฏิสัมภิทา
เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี, ปฏิสัมภิทา 3 เป็นอนิยตะ อัตถปฏิสัมภิ-
ทา เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี, ปฏิสัมภิทา 3 เป็นสอุตตระ, อัตถปฏิสัมภิทา
เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี ปฏิสัมภิทา 4 เป็นอรณะ ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
ปฏิสัมภิทาวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังค์


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


บัดนี้ พึงทราบปฏิสัมภิทาวิภังค์ในลำดับแห่งสิกขาบทวิภังค์นั้นต่อไป

คำว่า 4 เป็นคำกำหนดจำนวน.
คำว่า ปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ปัญญาอันแตกฉาน. อธิบายว่า ก็เพราะ
ข้างหน้านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็น
ต้น แปลว่า ญาณ (ปัญญา) ในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ฉะนั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่เป็นการแตกฉานของใครๆ เลย นอกจากเป็นการแตก