เมนู

ในสองอย่างนั้น อาจารย์พึงบอกอุคคหโกศล 7 อย่าง อย่างนี้คือ วจสา (โดย
วาจา) มนสา (โดยใจ) วณฺณโต (โดยสี) สณฺฐานโต (โดยสัณฐาน)
ทิสโต (โดยทิศ) โอกาสโต (โดยโอกาส) ปริจเฉทโต (โดยปริจเฉท).

พึงสาธยายด้วยวาจา


ก็ในปฏิกูลมนสิการกรรมฐานนี้ แม้ภิกษุนั้น จะทรงพระไตรปิฎกก็พึง
ทำการสาธยายด้วยวาจาก่อนในเวลาที่มนสิการ. เพราะเมื่อเธอผู้เดียวทำการ
สาธยายอยู่ กรรมฐานย่อมปรากฏ เหมือนพระเถระ 2 รูปผู้เรียนกรรมฐาน
ในสำนักของพระมหาเทวเถระผู้อยู่ในมลยะประเทศ.
ได้ยินว่า พระมหาเทวเถระ อันพระเถระ 2 รูปนั้นขอกรรมฐานแล้ว
ได้ให้ทวัตติงสาการบาลี โดยสั่งว่า ท่านทั้งหลาย จงทำการสาธยายนี้
อย่างนี้ ตลอด 4 เดือน
พระเถระทั้ง 2 นั้นแม้มีนิกาย 2-3 นิกายเหล่า
นั้นคล่องแคล่วแล้วก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะความที่ตนมีปกติรับโอวาทโดย
ความเคารพ จึงได้สาธยายทวัตติงสาการตลอด 4 เดือน ได้เป็นพระโสดาบัน
แล้ว.
เพราะฉะนั้น อาจารย์เมื่อจะบอกกรรมฐาน พึงบอกอันเตวาสิกว่า
ครั้งแรกเธอจงสาธยายด้วยวาจาก่อน ดังนี้ ก็เมื่อจะกระทำการสาธยาย
พึงกำหนดตจปัญจกกรรมฐานเป็นต้น แล้วกระทำการสาธยายด้วยสามารถแห่ง
อนุโลมและปฏิโลม.

วจสา (วิธีการสาธยายด้วยวาจา)


จริงอยู่ ภิกษุนั้นครั้นกล่าวว่า เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ
แล้ว พึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา ดังนี้.
ครั้นว่า มํสํ นหารู อฏฺฐี อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ ในวักกปัญจกะ อัน
เป็นลำดับแห่งตจปัญจกะนั้นแล้ว พึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า วกฺกํ อฏฺฐิมิญฺชํ
อฏฺฐี นหารู มํสํ, ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา
ดังนี้.
ลำดับนั้น ครั้นว่าในปัปผาสปัญจกะว่า หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ
ปปฺผาสํ
แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า ปปฺผาสํ ปีหกํ กิโลมกํ ยกนํ หทยํ,
วกฺกํ อฏฺฐิมิญฺชํ อฏฺฐี นหารู มํสํ, ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา
ดังนี้.
ลำดับนั้น พึงยก มตฺถลุงฺคํ อันมาในปฏิสัมภิทามรรค แม้ไม่ได้ยก
ขึ้นสู่บาลีนี้ ให้ขึ้นสู่บาลีในที่สุดแห่งกรีสะ แล้วว่าในมัตถลุงคปัญจกะนี้ ว่า
อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ มตฺถลุงฺคํ แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า
มตฺถลุงฺคํ กรีสํ อุทริยํ อนฺตคุณํ อนฺต, ปปฺผาสํ ปีหกํ กิโลมกํ ยกนํ
หทยํ, วกฺกํ อฏฺฐิมิญฺชํ อฏฺฐี นหารู มํสํ, ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา

ดังนี้.
ลำดับนั้น พึงว่าในเมทฉักกะว่า ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ
เสโท เมโท
แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า เมโท เสโท โลหิตํ ปุพฺโพ
เสมฺหํ ปิตฺตํ, มตฺถลุงฺคํ กรีสํ อุทริยํ อนฺตคุณํ อนฺตํ, ปปฺผาสํ ปิหกํ
กิโลมกํ ยกนํ หทยํ, วกฺกํ อฏฺฐิมิญฺชํ อฏฺฐี นหารู มํสํ, ตโจ ทนฺตา
นขา โลมา เกสา
ดังนี้.
ลำดับนั้น พึงว่าในมุตตฉักกะว่า อสฺสุ วสา เขโฬ สึฆานิกา
ลสิกา มุตฺตํ
แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า มุตฺตํ ลสิกา สึฆานิกา เขโฬ