เมนู

ธรรมเป็นสิกขา


พึงทราบวินิจฉัยในธรรมอันเป็นสิกขานั้น ดังนี้.

กุศลธรรมทั้งหลายอันเป็นไปในภูมิ 4 แม้ทั้งหมด ชื่อว่า สิกขา
เพราะความที่ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลพึงศึกษา เหตุนั้น เพื่อแสดงซึ่ง
สิกขาทั้งหลายเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ
เป็นอาทิ. ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยยังพระบาลีให้พิสดาร
โดยนัยที่กล่าวไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลังนั่นแหละ. ส่วนในสิกขาปท-
วิภังค์นี้แสดงไว้เพียงหัวข้อเท่านั้นแล.
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


ในปัญหาปุจฉกะ

บัณฑิตพึงทราบความที่สิกขาบททั้งหลายเป็นกุศล
เป็นต้น โดยทำนองแห่งนัยของพระบาลีนั่นแหละ. ก็ในอารัมมณติกะทั้งหลาย
สิกขาบทเหล่าใดที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ว่าเป็นสัตตารัมมณะ (คือ มีสัตว์เป็น
อารมณ์) ก็เพราะสิกขาบทเหล่านั้นย่อมกระทำสังขารอันถึงซึ่งการนับว่า เป็น
สัตว์
เท่านั้นให้เป็นอารมณ์ และเพราะสิกขาบทแม้ทั้งหมดเหล่านั้นสำเร็จแล้ว
ด้วยสามารถแห่งสัมปัตตวิรัติทั้งนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็น
ปริตตารัมมณะด้วย เป็นปัจจุปันนารัมมณะด้วย. อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า
ความเป็นแห่งสิกขาบทแม้ทั้งปวงเป็นพหิทธารัมมณะ ก็เพราะความที่การงด
เว้นย่อมมีแก่วัตถุใด วัตถุนั้นเป็นของภายนอกทั้งสิ้น แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ

ก็สิกขาปทวิภังค์นี้ ในอภิธรรมภาชนีย์ก็ดี ในปัจหาปุจฉกะก็ดี พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสิกขาบททั้งหลายว่าเป็นโลกีย์เท่านั้น เพราะว่านัยแม้ทั้ง
สองเหล่านี้ เป็นปริจเฉทเดียวกันโดยความเป็นโลกีย์นั่นแหละ. สิกขาปทวิภังค์
นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำออกจำแนกแสดงไว้ 2 ปริวัฏ ดังพรรณนามา
ฉะนี้แล.
อรรถกถาสิกขาปทวิภังคนิทเทส จบ

15. ปฏิสัมภิทาวิภังค์


สุตตันตภาชนีย์


[777] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา
2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉาน
ในธรรม ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉาน ในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น
ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทา.


ปเภทวาระ 5


1. สัจจวาระ


[778] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสีมภิทา
2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้แตกฉานในทุกข์ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉาน
ในทุกขสมุทัย ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา
ความรู้แตกฉานในทุกขนิโรธ ชื่อว่า